วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562

จอภาพแสดงผลสำคัญไฉน ?


ชื่อ  จอภาพแสดงผลสำคัญไฉน ?
ชื่อองค์กร  โรงพยาบาลพระพุทธบาท (งานซ่อมบำรุง)
ปัญหาและสาเหตุ
           เนื่องจากเครื่องอัลตราซาวน์ของตึกหลังคลอ ที่ใช้สำหรับตรวจสแกนความผิดปกติหน้าท้อง และภายในช่องคลอด ไม่สามารถใช้งานได้ งานซ่อมบำรุงได้ตรวจสอบและประเมินพบหน้าจอภาพไม่แสดงผล  ได้แจ้งบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์เข้ามาประเมินซ่อมและแจ้งจอภาพเสียจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ ซึ่งเสนอราคาจอภาพเป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท
กิจกรรมการพัฒนา
           ทีมซ่อมบำรุงเห็นว่าบริษัทได้เสนอราคาสูงจนเกินไป จึงทำการตรวจสอบระบบภายใน ว่าสามารถแก้ไขได้หรือไม่
           จากการตรวจสอบพบว่า พอร์ต DVI รองรับสามารถนำจอ TV LED ที่มีพอร์ต DVI สามารถใช้งานได้จึงนำจอเก่ามาทดลองใช้งานและสามารถใช้งานได้ดี ได้ทำการดัดแปลงติดตั้งจอเข้ากับเครื่องอัลตราซาวน์
อุปกรณ์ที่นำมาติดตั้ง
           1. จอ TV LCD 16 นิ้ว นำเครื่องที่ไม่ได้ใช้งานมาติดตั้ง (ราคาจริง 4,000 บาท)
           2. สาย DVI นำสายที่ไม่ได้ใช้งานมาติดตั้ง (ราคาจริง 200 บาท)
           3. อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ผลประหยัด  
           บริษัทเสนอราคาจอภาพจำนวนเงิน 300,000 บาท
           งานซ่อมบำรุงไม่มีค่าใช้จ่ายนำของที่ไม่ได้ใช้งานมาประยุกต์และดัดแปลง
           ผลประหยัด 300,000 บาท
เป้าหมาย
           เพื่อลดค่าใช้ข่ายในการซ่อมและให้มีประสิทธิภาพในการใช้งาน
การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง
           จากการที่งานซ่อมบำรุงได้ทำการแก้ไข ได้มีการติดตามและประเมินการใช้งาน ไม่มีปัญหาในการใช้งานและผลตอบรับการใช้งานดีเยี่ยม
ปัจจัย
           เกิดจาก นายณรงค์  คงเจริญ ได้เห็นว่าบริษัทได้เสนอราคาสูงจนเกินไป จึงทำให้เกิดการค้นคว้าระบบการทำงานของเครื่องและท้าทายความสามารถในการซ่อมว่ามีอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานและยังใช้งานได้จึงนำมาเปลี่ยนได้
โอกาสพัฒนา
           ศึกษาและพัฒนาเรียนรู้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ  นำประสบการณ์เพื่อไปประยุกต์ใช้งานกับเครื่องมืออุปกรณ์อื่นๆและเพิ่มศักยภาพภาพทีมช่างของงานซ่อมบำรุง

ระบบแจ้งเตือนอุณหภูมิตู้เย็นด้วย SMS และ Line alert


ระบบแจ้งเตือนอุณหภูมิตู้เย็นด้วย SMS และ Line alert
ชื่อหน่วยงาน :  งานคลังเภสัชภัณฑ์
หลักการและเหตุผล  :  ปัจจัยเรื่องอุณหภูมิมีผลต่อคุณภาพของยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาแช่เย็น และวัคซีน ซึ่งไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และเสื่อมคุณภาพเมื่อเก็บที่อุณหภูมิไมเหมาะสม อาจก่อให้เกิดอาการไมพึงประสงค์  ไม่มีประสิทธิผล
ในการรักษา หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย โดยลักษณะของยา และวัคซีนที่เสื่อมคุณภาพเกิดขึ้นได้ใน
2 ลักษณะ คือ
1.การเสื่อมสภาพทางเคมี ได้แก่ การลดลงของปริมาณตัวยาสำคัญ และการเพิ่มขึ้นของสารสลายตัว
2.การเสื่อมสภาพทางกายภาพ ได้แก่ ความผิดปกติของรูปร่าง สี กลิ่น รสชาติ ความใสหรือขุ่น หรือการเกิดตะกอน                                                                                                            
           
ทั้งนี้เพื่อให้ยาและวัคซีนที่ได้ยังคงมีคุณภาพในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องจนถึงผู้รับบริการ  ทำให้ต้องมีระบบที่จะดูแลควบคุมคุณภาพของตู้เก็บวัคซีนให้ได้ตามอุณหภูมิที่กำหนดตลอดเวลา 24 ชั่วโมง  อีกทั้งตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาลที่กำหนดให้มีการจัดเก็บวัคซีนและเวชภัณฑ์ยา ในอุณหภูมิที่เหมาะสม ตลอดเวลาเพื่อคงคุณภาพ  โดยที่มูลค่าคงคลังของยาและเวชภัณฑ์โรงพยาบาลที่จัดเก็บประมาณ 1.6 ล้านบาท     ต่อเดือน   ดังนั้น กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระพุทธบาท จึงมีแนวคิดในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้สามารถเฝ้าระวังอุณหภูมิในตู้เย็นได้อย่างต่อเนื่อง และแก้ปัญหาได้ทันเวลาโดยการติดตั้งระบบชุดเฝ้าระวังอุณหภูมิในวัคซีนและยาแช่เย็นในคลังเภสัชภัณฑ์ พร้อมทั้งแสดงผลการเฝ้าระวังผ่านระบบ intranet ของโรงพยาบาล และระบบ  line alert
วัตถุประสงค์
1.     ควบคุมคุณภาพยาและวัคซีนให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและรักษาได้อย่างต่อเนื่องจนถึงผู้รับบริการตลอด 24 ชั่วโมง
2.     ป้องกันการสูญเสียของยาและวัคซีนที่เกิดจากการเสื่อมสภาพจากอุณหภูมิที่ไม่ได้มาตรฐาน
เป้าหมาย
-             ตู้แช่ยาและตู้เก็บวัคซีนในคลังยา จำนวน 4 ตู้
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
            กุมภาพันธ์ เมษายน 2562
วิธีการดำเนินงาน
1.     ศึกษาระบบควบคุมคุณภาพอุณหภูมิตลอดเวลา 24 ชั่วโมง  
2.     จัดซื้ออุปกรณ์พร้อมระบบโปรแกรม
3.     ติดตั้งระบบเฝ้าระวังเชื่อมต่อกับ intranet ของโรงพยาบาล
4.     ติดตั้งอุปกรณ์พร้อมทดสอบระบบควบคุมคุณภาพอุณหภูมิตู้เย็น
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.      อุณหภูมิตู้แช่วัคซีนและยาแช่เย็นอยู่ในช่วง 2 8 องศาเซลเซียส                ร้อยละ 100
2.      ยาเสื่อมคุณภาพจากอุณหภูมิสูงกว่า 2 8 องศาเซลเซียส                  ร้อยละ 0

 ผลการดำเนินงาน

หลังพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพอุณหภูมิตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงปัจจุบัน พบระบบแจ้งเตือนอุณหภูมิไม่อยู่ในช่วงที่กำหนด 3 ครั้งคือ
ครั้งที่ 1 : พบตู้เย็นอุณหภูมิ 9.8 องศาเซลเซียส โดยมีสาเหตุมาจากการปิดประตูไม่สนิท
              ระบบแจ้งเตือน ทำให้มาดำเนินแก้ไขได้ทัน
ครั้งที่ 2 : พบตู้เย็นอุณหภูมิ 10.8 องศาเซลเซียส โดยมีสาเหตุมาจากตู้เย็นขัดข้อง
              ทำให้สามารถประสานงานช่างมาดำเนินการซ่อมได้ก่อนที่ยาและวัคซีนจะเสื่อมคุณภาพ
ครั้งที่ 3 : พบอุณหภูมิห้องยา 28.3 องศาเซลเซียส โดยมีสาเหตุมีจากระบบปิด-เปิดเครื่องปรับอากาศ
              2 เครื่อง ไม่สันพันธ์กันทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ทำงาน 1-2 ชั่วโมงทำให้อุณหภูมิเลยช่วงที่
              กำหนด
 การนำไปใช้ในงานประจำ
มีระบบควบคุมคุณภาพอุณหภูมิตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อให้ยาและวัคซีนคงคุณภาพในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องจนถึงผู้รับบริการ 
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองการเภสัชกรรม
2. ความร่วมมือจาก IT โรงพยาบาลพระพุทธบาท
3. บุคลากรมีความสามารถในการเฝ้าระวังการควบคุมอุณหภูมิตู้เย็นอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ



การฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ และทักษะการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองที่บ้าน


การฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ และทักษะการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองที่บ้าน  

บทนำ
การเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นปัญหาหลักในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง พบได้ประมาณร้อยละ 15-35 ในจำนวนผู้ป่วยที่อยู่รักษาในโรงพยาบาลพบได้ประมาณ 1 ครั้งใน 24 เดือน (0.5 ครั้ง/คน/ปี) สำหรับการเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ของหน่วยโรคไตโรงพยาบาลพระพุทธบาทในปี พ.. 2558-2560 พบได้ 1 ครั้งใน 29.3 , 31.16 และ 28.05 เดือน ตามลำดับ การประเมินหาสาเหตุของการติดเชื้อในช่องท้อง โดยเฉพาะการประเมินเทคนิคของผู้ป่วย โดยการสอบถามประวัติการเปลี่ยนถ่ายน้ำยา ผู้ดูแลที่บ้าน สถานที่ที่ใช้ อุปกรณ์ต่างๆ และการประเมินสภาพทั่วๆไปของผู้ป่วยเกี่ยวกับท้องผูก ท้องเสีย และปัญหาเกี่ยวกับการติดเชื้อของแผล ช่องสายออก ระยะเวลาของการล้างไตทางช่องท้องที่นานกว่า 6 เดือน ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนอีกอย่างหนึ่งที่ต้องมีการประเมินผู้ป่วย การกำกับดูแลให้ผู้ป่วยรู้วิธีการรักษาตนเองที่บ้าน ทำการฝึกอบรมหรือสอนผู้ป่วยให้รู้จักดูแลตนเองในด้านต่างๆ ด้วยประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี 

วัตถุประสงค์      เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้และทักษะการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองที่บ้าน และ ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้และทักษะการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองที่บ้านต่อความพึงพอใจและการเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

วิธีการศึกษา      เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง ที่ว่า การติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องจากการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องเกิดจากพฤติกรรมการดูแลตนเองที่นำไปสู่การติดเชื้อ วิเคราะห์สาเหตุ จากการศึกษาพบว่ามีหลายสาเหตุที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สุขลักษณะ และลักษณะพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย  การดูแลหรือปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง  ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและพัฒนาโปรแกรมขึ้นจากแนวคิดการดูแลตนเอง Self-Care of patients who had Peritonitis from CAPD โดยความหมายของการดูแลตนเอง คือการทำกิจกรรมให้ดีที่สุดด้วยตนเอง  พัฒนาสื่อได้แก่ การพัฒนาภาพโปสเตอร์ประกอบ การให้ความรู้ทางทฤษฎีมีการปรับเนื้อหา จากเดิมเป็นรายละเอียดรูปเล่ม ซึ่งมีความหนา ลายละเอียดค่อนข้างมาก ยากต่อการศึกษาให้เข้าใจช่วงเวลาเรียนรู้ที่ค่อนข้างจำกัด    ปรับรูปแบบเป็น แผ่นภาพขนาดกระดาษ A 4 มี 2 หน้า และ แผ่นภาพโปสเตอร์ที่มีตัวอักษรและรูปภาพขนาดใหญ่ ภายในแผ่นภาพและโปสเตอร์มีรูปภาพเพิ่มสีสันสวยงาม และ เนื้อหาแสดงขั้นการล้างไตทางช่องท้องประกอบ ให้มีความกระชับ โดยคำนึงถึงความสามารถจดจำ ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบดำเนินการตรวจสอบ จำนวน 1 ท่าน  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ ผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องทั้งเพศชายและเพศหญิงอายุ 24-60 ปี ประกอบด้วยผู้ป่วยรายใหม่  รายเก่าที่ไม่เคยติดเชื้อ และกลุ่มผู้ป่วยเคยติดเชื้ออย่างน้อย 1 ครั้ง รวม 30 รายที่กำลังรักษาในโรงพยาบาลพระพุทธบาท
ระยะเวลาที่ดำเนินการ    เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2561 ถึง มกราคม 2562 รวม 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้ศึกษาได้กำหนดเครื่องมือยึดตามตัวแปรและแหล่งข้อมูล 

เครื่องมือที่นำมาใช้ในการศึกษา    คือ โปสเตอร์แสดงเนื้อหาเน้นขั้นตอนและทักษะเกี่ยวกับการล้างไตทางช่องท้องและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมล้างไตทางช่องท้อง

ผลการศึกษาพบว่า     ผลของโปรแกรมฝึกการอบรมเสริมสร้างความรู้ทักษะการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไตด้วยตนเองที่บ้านต่อความพึงพอใจและการเกิดเยื่อบุช่องอักเสบโดยมีระดับความคิดเห็นและประเมินความพึงพอใจ แบ่งหัวข้อการประเมินรายด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ 7 ข้อ ด้านทักษะ 6 ข้อ ด้านการสอน 5 ข้อ และด้านสื่อการสอน 7 ข้อ ผลการศึกษาระดับดีมาก  = 51.07  ระดับดี  = 40.27 ระดับพอใช้ = 8.40 ระดับน้อย = 0.26 ระดับต้องปรับปรุง = 0.00  และค่าเฉลี่ย X =4.41  S.D. =0.64 ในปี 2561 Peritonitis rate = 31.27 ในปี 2562 อยู่ระหว่างเก็บข้อมูล
           สรุป     การดำเนินการสอนเสริมทั้งผู้ป่วยใหม่ รายเก่าที่ไม่เคยติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องและ ผู้ป่วยเคยติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือในรายที่ประเมินแล้วมีเทคนิคไม่ถูกต้อง มาฝึกอบรมเสริมทักษะและศักยภาพตามโปรแกรม ให้มีความเข้าใจในหลักการการล้างไตทางช่องท้องเป็นอย่างดี รับรู้ถึงผลดี ผลเสีย ทำให้มีทักษะที่ดีในการดูแลตนเองได้ หรือถ้าผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้ก็ต้องมีผู้ดูแล (Care giver) ที่ดีเทคนิคการสร้างแรงจูงใจทำให้ความสามารถจดจำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติดีขึ้น ผู้ป่วยมีความสนใจและเอาใจใส่ตนเอง ที่สำคัญการมีพยาบาลที่เชี่ยวชาญและชำนาญการในเรื่องการล้างไตทางช่องท้องเป็นผู้ฝึกสอน และมีโปรแกรมในประเมินการฝึกสอนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายจึงจะทำให้การรักษาประสบความสำเร็จ มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ตามมา

ข้อเสนอแนะ/โอกาสพัฒนา
-            เก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนวันนอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการรักษา ขณะเกิดภาวะ
เยื่อบุช่องท้องอักเสบเพื่อประเมิน  cost effectiveness
           -    ควรมีการประเมินติดตามผลต่อเนื่องทุก 6 เดือน หลังฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้และทักษะการล้างไตทางช่องท้อง
-    เครือข่ายในเขตความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องเพิ่มขึ้นทั้งในโรงพยาบาลพระพุทธบาท ได้แก่ พัฒนาศักยภาพพยาบาลประจำหอผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วย CAPD และ APD ส่วนนอกโรงพยาบาล ได้แก่ อสม., รพ.สต, โรงพยาบาลชุมชน

นางสาวมาลี  มีแป้น  

นางสาวสมหมาย วงษ์กระสันต์  
นายกฤติเดช อินทร์นุช
โรงพยาบาลพระพุทธบาท จ.สระบุรี





ระบบง่ายๆด้วยข้อความเล็กๆ


ชื่อผลงาน ระบบง่ายๆด้วยข้อความเล็กๆ

ที่มาของปัญหา/หลักการและเหตุผล
จากปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเสี่ยงเกิดแผลไม่ได้รับการจัดการรองเท้าเบาหวาน เกิดจากขาด Flow เชื่อมต่อระหว่างทีมคัดกรองเท้าเบาหวาน ทีมห้องตรวจในการประเมินและนัดหมายดูแลและทีมคลินิกรองเท้า ดังนั้นงานกายภาพบำบัดได้สร้างแนวทางการรายงานการคัดกรองเท้าเบาหวานเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามแนวทางการจัดการผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงแผลเท้าเบาหวานขึ้นเพื่อให้เกิดการดูแลร่วมกันระหว่างรักษา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อรายงานผลการตรวจเท้าเบาหวานแก่ทีมผู้ดูแล
2.เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลสูงมาก

วิธีดำเนินการ หรือ วิธีการศึกษา
1. ทบทวนปัญหาผู้ป่วยไม่ได้เข้าถึงบริการตัดรองเท้าเบาหวาน
2. ทบทวนมาตรฐานการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยในใบต่อตรวจโรครายงานผลเท้าเบาหวาน
3. วางแผนกำหนดแนวทางและเครื่องมือในการรายงานผลผู้ป่วย
4. เริ่มปฏิบัติ พฤศจิกายน 2561 และติดตามผลภายหลัง 6 เดือน
ผลลัพธ์/ ผลการดำเนินการ หรือผลการศึกษาวิจัย
จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงเกิดแผลเท้าเบาหวานตั้งแต่ พฤศจิกายน 2561 – กรกฎาคม 2562 จำนวน 1438 ราย ได้ผลการคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง (ระดับ 2 ) และกลุ่มสูงมาก (ระดับ 3 ) จำนวน 98 ราย ได้รับการออกบัตรนัดส่งคลินิกเท้าจำนวน 60 รายคิดเป็นร้อยละ 61.22 จำนวนผู้ป่วยที่เข้าตรวจที่คลินิกเท้า 33 ราย ได้รับการตัดรองเท้า 27 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.81
 จากการติดตามปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พบปัญหาขั้นตอนในการปฏิบัติมีความยุ่งยากต้องบันทึกผลด้วยมือและต้องติดแนบกระดาษเพื่อแจ้งออกบัตรนัดห้องรองเท้าทำให้การปฏิบัติไม่เป็นในแนวทางเดียวกัน จึงได้ปรับแนวทางที่ง่ายต่อการปฏิบัติขึ้นโดยทีมกายภาพบำบัดจึงได้ออกแบบตรายางรายงานผลตรวจเท้าเบาหวานเพื่อให้สะดวกต่อการปฏิบัติ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ มิถุนายน 2562


การนำไปใช้ในงานประจำ
สามารถสร้างระบบส่งต่อผู้ป่วยเท้าเบาหวานกลุ่มเสี่ยงสูงมากให้ได้รับการตัดรองเท้าเบาหวาน

บทเรียนที่ได้รับ/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
การดูแลผู้ป่วยองค์รวมต้องอาศัยการดูแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพ ช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วย สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อการตัดเท้าจากแผลเบาหวาน

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562

การเสริมพลังการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ชื่อเรื่อง  การเสริมพลังการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
หน่วยงาน  Stroke unit/ อ2 รพ.พระพุทธบาท

หลักการและเหตุผล  ปีงบประมาณ 2558-2560 พบอัตราอุบัติใหม่ของโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์
   1. พัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วย และส่งเสริมครอบครัวให้มีส่วนร่วม
ในการดูแลผู้ป่วย
   2. ลดการ Re-admit จากการกลับเป็นซ้ำและจากการเกิดภาวะแทรกซ้อน
   3. ลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาล
   4. ลดค่าใช้จ่ายจากการนอนโรงพยาบาล
วิธีการดำเนินงาน
  1.ทบทวนความรู้เจ้าหน้าที่ตาม Technical competency ด้านโรคหลอดเลือดสมอง
   2.  ค้นหาปัญหาจากกระบวนการทำงานที่มีอยู่เดิม
   3.  ทบทวนเวชระเบียน/ ทบทวนความเสี่ยง
   4.  รวบรวมปัญหาที่ได้นำมาวิเคราะห์ 
   5.  จัดการฝึกสอนในรูปแบบให้ care giver เข้ามาเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยขณะAdmit ตามหัวข้อที่ได้กำหนดไว้ ดังนี้
5.1 Hygiene care และการดูแลความสะอาดช่องปาก
  5.2  การทำกายภาพบำบัด
  5.3 การพลิกตะแคงตัว การป้องกันการเกิดแผลกดทับ
        5.4 การจัดอาหารที่เหมาะสมกับโรค การจัดท่าในการให้อาหาร/ การป้องกันการสูดสำลัก 
5.5 การปรับสภาพแวดล้อมบ้าน และการเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น การ ทำทางลาด ราวเกาะในห้องน้ำ ราวฝึกเดิน การเตรียมเตียง ที่นอนลม เครื่องดูดเสมหะ
                5.6 การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหาร การให้อาหารทางสายยาง การเปลี่ยนสายให้อาหาร                        การ ทำอาหารปั่นผสม (ถ้ามี)
5.7 การทำแผล การดูดเสมหะ (ถ้ามี)
  5.8 การดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ (ถ้ามี)
               5.9 การจัดยาให้ผู้ป่วยรับประทานต่อเนื่อง การสังเกตภาวะแทรกซ้อน การเป็นซ้ำ/                                     อาการที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล
                5.10 การใช้บริการรถฉุกเฉิน 1669 หรือสถานบริการ
6. ส่งเยี่ยมบ้านในรายที่ ADL < 75 คะแนน และติดตามผลการเยี่ยมบ้าน
7. เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อไปประเมินผลและวิเคราะห์ปัญหา
ผลการดำเนินงาน

บทเรียนที่ได้รับ

ปัญหาและอุปสรรค
  •  ขาดผู้ดูแล 
  •  ความรู้สึกท้อแท้ ของผู้ป่วย 
  • & ญาติ/ ผู้ดูแล 
  •  สถานภาพทางเศรษฐกิจ
แนวทางแก้ไข   ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่
   1. การ Refer back รพช. for Smart intermediate care เพื่อการฟื้นฟูสภาพต่อเนื่อง 
  2. การส่งต่อ รพสต. อสม. ในการช่วยติดตามการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน ของผู้ดูแล




การศึกษาความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ

การศึกษาความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ

ผู้วิจัย : นางสำราญ  จันทร์พงษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยหนัก
หน่วยงาน/สังกัด : ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลพระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี 18120

ที่มา : ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจจำเป็นต้องใส่ลมในกระเปาะให้เหมาะสม เพื่อป้องกันหรือลดภาวะแทรกซ้อนต่อทางเดินหายใจ หากใส่ลมมากเกินไปจะทำให้เยื่อบุหลอดลมอักเสบ เจ็บคอ เยื่อบุกล่องเสียงขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เกิดเนื้อตายและการตีบแคบของหลอดลม หากใส่ลมน้อยเกินไปจะทำให้เกิด การสำลักน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเข้าในหลอดลม เกิดปอดอักเสบและลมหายใจรั่วขณะช่วยหายใจ ส่งผลให้เนื้อเยื่อของร่างกายขาดออกซิเจนได้ รวมถึงการเลื่อนหลุดของท่อ จากสถิติในระหว่างปี พ.ศ. 2556-2558  โรงพยาบาลพระพุทธบาท มีอัตราท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดร้อยละ 11.08, 12.65 และ 19.14 ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มสูงขึ้น สาเหตุหนึ่งเกิดจากความดันกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจไม่เหมาะสม จากข้อจำกัดของเครื่องมือและคุณลักษณะของท่อช่วยหายใจ ทำให้พยาบาลส่วนใหญ่ต้องใช้ประสาทสัมผัสและความรู้สึกในการใส่ลมในกระเปาะ ส่งผลต่อค่าความดันในกระเปาะมีโอกาสสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ ที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากขึ้น

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาค่าความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน
2. เพื่อศึกษาระยะเวลาและปริมาณที่เหมาะสมในการเพิ่มความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ

ระเบียบวิธีวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ
ระยะที่ 1 การศึกษาค่าความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ โดยการประเมินด้วยประสาทสัมผัสและความรู้สึกของพยาบาลหอผู้ป่วยหนัก เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลในหอผู้ป่วยหนัก 1 และ 2 โดยให้พยาบาลประเมินความดันภายในกระเปาะลมของผู้ป่วยที่รับผิดชอบ โดยใช้ ประสาทสัมผัสและความรู้สึก และเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จาก Manometer
ระยะที่ 2 การศึกษาค่าความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยต่างๆ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ หอผู้ป่วยหนัก 1 และ 2 กึ่งวิกฤตอายุรกรรม กึ่งวิกฤตศัลยกรรม และหอผู้ป่วยอายุรกรรม 4 โดยวัดความดันภายในกระเปาะลมตอนเช้าและตอนบ่ายของทุกวัน ด้วย Manometer เครื่องเดียวกัน โดยผู้วิจัยคนเดียว บันทึกค่าความดันที่วัดได้ และเติมลมให้ค่าความดันไว้ที่ 25 cmH2O 
ระยะที่ 3 การศึกษาค่าความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน 2 ยี่ห้อ เป็นการศึกษากึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ท่อช่วยหายใจยี่ห้อ P จำนวน 5 ขนาด เบอร์ 6.0, 6.5, 7.0, 7.5, 8.0 และ ยี่ห้อ M จำนวน 3 ขนาด เบอร์ 7.0, 7.5, 8.0 โดยใส่ท่อช่วยหายใจในขวดน้ำที่มีน้ำสูง 10 cm ให้ปากขวดอยู่ที่ระดับ 22 cm ปิดปากขวดด้วยกระดาษทิชชู เติมลมด้วย syringe 2 ml ให้ค่าความดันเริ่มต้นไว้ที่ 25 cmH2O ทุกขวด โดยวัดค่าความดันและการเติมลม 3 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ 1 วัดค่าความดันเมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง และเติมลมไว้ที่ 25 cmH2O ทำซ้ำรวม 4 รอบ
รูปแบบที่ 2 วัดค่าความดัน ณ ชั่วโมงที่  4, 8, 16, และ 24 และเติมลมไว้ที่ 25 cmH2O ทุกครั้ง
รูปแบบที่ 3 วัดค่าความดันเมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง หลังเติมลมปริมาตร 0.5 ml ทำซ้ำรวม 4 รอบ จากนั้นทำซ้ำอีก 4 รอบ โดยเพิ่มปริมาตรลมเป็น 1.0 ml
ระยะที่ 4 การศึกษาค่าความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ เป็นการ ศึกษากึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนัก 1 และ 2 ให้ค่าความดันไว้ที่ 25 cmH2O เมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง เติมลมปริมาตร 0.5 ml วัดค่าความดัน ทำซ้ำรวม 2 รอบ จากนั้นทำซ้ำอีก 2 รอบ โดยเพิ่มปริมาตรลมเป็น 1.0 ml

ผลการศึกษา
ระยะที่ 1 พบว่า ค่าความดันในกระเปาะโดยใช้การประเมินด้วยประสาทสัมผัสและความรู้สึกของพยาบาลจำนวน 33 คน อยู่ในช่วง 10-92 cmH2O มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 24.15 cmH2O โดยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ30.30 และอยู่นอกเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 69.70โดยแยกเป็นความดันต่ำเกินไป 16 คน (69.57%) และความดันสูงเกินไป 7 คน (30.43%)
ระยะที่ 2 พบว่า ค่าความดันในกระเปาะลมจากการวัดทั้งหมด 475 ครั้ง แบ่งเป็น ตอนเช้า 245 ครั้ง และตอนบ่าย 230 ครั้ง อยู่ในช่วง 2-140 cmH2O มีค่าเฉลี่ยตอนเช้าเท่ากับ 22.62 cmH2O และตอนบ่ายเท่ากับ 18.78 cmH2O โดยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตอนเช้าจำนวน 69 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 28.16 และตอนบ่ายจำนวน 92 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 40.00
ระยะที่ 3 พบว่า รูปแบบที่ 1 เมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง ค่าความดันเฉลี่ยในกระเปาะของท่อช่วยหายใจ ยี่ห้อ P อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 3 ขนาด คือ เบอร์ 7.0, 7.5, 8.0 โดยมีค่าเท่ากับ 20.50, 21.25 และ 21.75 ตามลำดับ ขณะที่ยี่ห้อ M อยู่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 3 ขนาด โดยมีค่าเท่ากับ 18.25, 19.25 และ 18.50 ตามลำดับ รูปแบบที่ 2 เมื่อวัดค่าความดันในกระเปาะของท่อช่วยหายใจ ณ ชั่วโมงที่ 4, 8, 16, และ 24 พบว่า ค่าความดันในกระเปาะของท่อช่วยหายใจทุกขนาดของทั้งสองยี่ห้ออยู่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนรูปแบบที่ 3 ค่าความดันเฉลี่ยในกระเปาะของท่อช่วยหายใจหลังเติมลม 0.5 ml ทุกขนาดของทั้งสองยี่ห้ออยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยยี่ห้อ P เบอร์ 6.0, 6.5, 7.0, 7.5, 8.0 มีค่าความดันเฉลี่ยเท่ากับ 25.75, 25.25, 23.75, 25.50, 26.00 ตามลำดับ และ ยี่ห้อ M เบอร์ 7.0, 7.5, 8.0 มีค่าความดันเฉลี่ยเท่ากับ 26.00, 25.75, 26.00 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) และเมื่อเพิ่มปริมาตรลมเป็น 1.0 ml ค่าความดันเฉลี่ยในกระเปาะของท่อช่วยหายใจส่วนใหญ่อยู่นอกเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้น ยี่ห้อ P เบอร์ 7.0, 7.5 มีค่าความดันเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีค่าเท่ากับ 28.50, 30.00 ตามลำดับ


ระยะที่ 4 พบว่า ค่าความดันเฉลี่ยในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ ในผู้ป่วย 6 ราย แบ่งเป็น ชาย 5 ราย (83.3%) หญิง 1 ราย (16.7%) อายุ 34-90 ปี อายุเฉลี่ย 64.17 ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม 3 ราย (50.00%) ศัลยกรรมสมอง 3 ราย (50.00%) กลุ่มโรคระบบสมองมากที่สุด 3 ราย (50.00%) ใส่ท่อช่วยหายใจยี่ห้อ P 4 ราย (66.70%) ยี่ห้อ M 1 ราย (16.7%) และยี่ห้ออื่น 1 ราย (16.70%) หลังเติมลมปริมาตร 0.5 ml ได้ค่าความดันเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เท่ากับ 26.08 cmH2O ขณะที่หลังเติมลม 1.0 ml ค่าความดันเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เท่ากับ 31.33 cmH2O

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ : หอผู้ป่วยที่ไม่มีเครื่องมือ ให้เติมลมด้วยปริมาตร 0.5 ml ทุก 2 ชั่วโมง ในท่อช่วยหายใจยี่ห้อ P เบอร์ 7.0, 7.5 และ 8.0 และทุก 1 ชั่วโมง 30 นาที -1 ชั่วโมง 45 นาที ในท่อช่วยหายใจยี่ห้อ P เบอร์ 6.0 และ 6.5 รวมถึงยี่ห้อ M ทุกขนาด โดยให้เติมลมไว้ที่ 25 cmH2O และต้องวัดด้วย Manometer ภายใน 24 ชั่วโมง

 การสนับสนุนที่ได้รับ : งานวิจัยนี้ได้รับอนุญาตจากแพทย์เจ้าของไข้และคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ การสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์จากศูนย์เครื่องมือแพทย์ คำแนะนำและจัดสรรเวลาจากหัวหน้างาน และการสนับสนุนจากหัวหน้าหอผู้ป่วยทุกท่าน

คุณภาพภาพถ่ายรังสีทรวงอก (Chest X-RAY)

ชื่อโครงการ   Routine to research คุณภาพภาพถ่ายรังสีทรวงอก (Chest X-RAY)
หน่วยงานรับผิดชอบ กลุ่มงานรังสีวิทยา
หลักการและเหตุผล
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X-RAY) เป็นการถ่ายภาพรังสีของปอด หัวใจ ซี่โครง ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยโรคของแพทย์หลายๆ โรค เช่น Pneumonia, COPD, มะเร็ง เป็นต้น นอกจากนี้การถ่ายภาพรังสีทรวงอกยังมีประโยชน์ คือ
1. เพื่อเตรียมการผ่าตัด
2. เพื่อหาสาเหตุของอาการผิดปติของระบบทางเดินหายใจ เพื่อติดตามดูความเป็นไปของโรคที่เกี่ยวกับปอดและหัวใจ
3. เพื่อตรวจหามะเร็งในระยะแรกเริ่มที่ปอด เพื่อตรวจหาการแพร่กระจายของโรคมาที่ปอด
4. เพื่อตรวจหาโรค Pneumoniosis (ภาวะปอดมีฝุ่นจับมาก)
5. เพื่อตรวจขนาดของหัวใจ
6. เพื่อตรวจหาก้อนเนื้องอกผิดปกติบริเวณปอดและที่อื่นๆ
โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 315 เตียง แผนกรังสีวินิจฉัยมีรังสีแพทย์  2 คน นักรังสีการแพทย์ 2 คน เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ 5 คน ผู้ช่วยเอกซเรย์ 6 คน ให้บริการถ่ายภาพรังสีทั่วไปแก่ผู้ป่วยทุกประเภทตลอด 24 ชั่วโมง   ข้อมูลปีงบประมาณ 2557, 2558 และ 2559 พบว่าการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเป็นการตรวจที่มีจำนวนสูงที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 32.25, 26.94 และ 33.89 ตามลำดับ ทำให้เกิดคำถามในการทำ R2R ว่า “ภาพถ่ายรังสีทรวงอกของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มีคุณภาพ และได้มาตรฐานหรือไม่”

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
  1. เพื่อควบคุมคุณภาพของภาพถ่ายรังสีทรวงอกให้มีมาตรฐานที่เหมาะสม
2. เพื่อลดอัตราการเอกซเรย์ซ้ำ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ภาพถ่ายรังสีทรวงอกที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับในการแปรผลของรังสี
แพทย์ 
2. สามารถลดอัตราการเอกซเรย์ซ้ำลงได้

ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาภาพถ่ายรังสีทรวงอกในปีงบประมาณ 2560 ในระบบ DR (Digital radiology) ของกลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลพระพุทธบาท โดยจะทำการศึกษาเฉพาะภาพถ่ายรังสีทรวงอกในท่า Upright เท่านั้น จำนวนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30 ของการตรวจภาพรังสีทรวงอกท่า Upright คิดเป็น 1,900 ภาพ ซึ่งจะดำเนินการสุ่มเลือกจำนวน 800 ภาพ

ผลการดำเนินงาน
คุณภาพของภาพรังสีทรวงอกของผู้รับบริการที่มีอายุ
1. 0-12 ปี มีคะแนนเฉลี่ย 8.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 คิดเป็นร้อยละ 80.00
2. 13-15 ปี มีคะแนนเฉลี่ย 8.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.30 คิดเป็นร้อยละ 83.33
3. 16-59 ปี มีคะแนนเฉลี่ย 9.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.13 คิดเป็นร้อยละ 94.68
4. 60 ปีขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ย 8.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33 คิดเป็นร้อยละ 81.92

  จากการทำ R2R เรื่อง ศึกษาค้นคว้า เรื่อง คุณภาพภาพถ่ายรังสีทรวงอก (Chest X-RAY) ของผู้รับบริการโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ปีงบประมาณ 2559 สามารถอภิปรายผลได้ ดังนี้
1. ภาพรังสีทรวงอกที่สุ่มเลือกได้เป็นผู้รับบริการเพศชาย และหญิงจำนวนไม่เท่ากัน 
2. ภาพรังสีทรวงอกที่สุ่มเลือกได้เป็นผู้รับบริการที่มีอายุ 16-59 ปี มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้มารับบริการ โดยเป็นการมารับบริการด้วยการตรวจสุขภาพมากที่สุด รองลงมาเป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ (วัณโรค) และอุบัติเหตุรถไถกระแทกหน้าอก
        กลุ่มอายุที่สุ่มภาพรังสีได้เป็นลำดับรองลงมา คือ กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นการส่งตรวจด้วยโรคระบบทางเดินหายใจมากที่สุด ได้แก่ ไอเรื้อรัง, วัณโรค รองลงมา คือ ปอดติดเชื้อ
    กลุ่มอายุที่สุ่มได้เป็นลำดับสุดท้าย คือ กลุ่มอายุ 0-12 ปี และ 13-15 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งตรวจเนื่องจากสงสัยโรคระบบทางเดินหายใจ
3. คุณภาพของภาพรังสีทรวงอกแยกตามรายข้อ พบว่าข้อ 1 คือ ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่ามีการหายใจเข้าเต็มที่ขณะถ่ายภาพ การประเมินลักษณะของภาพ ประเมินโดยหลักการที่ว่า ถ้าหายใจเข้าเต็มที่ Diaphragm ควรอยู่ต่ำกว่า Anterior end ของ Rib ที่ 6 หรือ Posterior end ของ Rib ที่ 10  เป็นข้อที่มีเปอร์เซ็นต์ และคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ คะแนนเฉลี่ย 0.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 คิดเป็น 82.38% ซึ่งเกิดจากการจัดท่าที่ไม่ถูกต้อง
    คุณภาพของภาพรังสีทรวงอกแยกตามรายข้อ พบว่าข้อที่มีคะแนนน้อยเป็นลำดับที่ 2 คือข้อ 5 ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่า สามารถเห็น vascular pattern ของปอดชัดเจนโดยเฉพาะ peripheral vessels คะแนนเฉลี่ย 0.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.40 คิดเป็นร้อยละ 86.13 สาเหตุเกิดจากการให้ Exposure ที่น้อยกว่าที่ควร เนื่องจากมีผู้ป่วยที่มีรูปร่างอ้วนและหนา 
    และข้อที่มีคะแนนน้อยในลำดับต่อมา คือ ข้อที่ 6 ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่า สามารถเห็น Trachea และ proximal bronchi ชัดเจน คะแนนเฉลี่ย 0.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.36 คิดเป็น ร้อยละ 88.13 ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดของการสื่อสาร ทำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง
4. คุณภาพของภาพรังสีทรวงอกแยกตามเพศ โดยพบว่าคุณภาพของภาพถ่ายรังสีทรวงอกของเพศชาย และหญิงก็ไม่ต่างกัน นั่นหมายถึงว่า เพศของผู้รับบริการไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ภาพถ่ายรังสีทรวงอกมีหรือไม่มีคุณภาพ
5. คุณภาพของภาพรังสีทรวงอกแยกตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มอายุ 0-12 ปี เป็นกลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด คะแนนเฉลี่ย 8.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 คิดเป็น 80.00% โดยเด็กที่สามารถถ่ายในท่า Upright ได้จะเป็นเด็กที่มีอายุ 7 ขวบขึ้นไป เหตุที่กลุ่มเด็กเป็นกลุ่มที่ภาพรังสีมีคุณภาพมากที่สุดเนื่องจาก เด็กอายุ 4 ขวบขึ้นไป เริ่มเข้าใจและฟังเหตุผลเมื่อมีการอธิบาย และด้วยสรีระที่เล็กทำให้จัด Position ได้ง่าย
    กลุ่มอายุ 16-59 ปีมีคะแนนคุณภาพของภาพถ่ายรังสีทรวงอกรองลงมา คือ คะแนนเฉลี่ย 9.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.13 คิดเป็น 94.68% พบปัญหาในการจัด Position เพื่อให้ Scapular ไม่บัง lung field 
    กลุ่มอายุ 13-15 ปี เป็นกลุ่มอายุที่ภาพรังสีทรวงอกมีคะแนนเป็นลำดับ 3 คือ คะแนนเฉลี่ย 8.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.30 คิดเป็น  83.33% และกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี เป็นกลุ่มที่มีคะแนนคุณภาพภาพรังสีทรวงอกน้อยที่สุด คือ คะแนนเฉลี่ย 8.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33 คิดเป็น 81.92%
6. จากการวิเคราะห์ภาพรังสีทรวงอกมี 4 ภาพ ที่ได้คะแนน 7 คะแนน และมี 1 ภาพที่ได้คะแนน 6 คะแนน
7. ในภาพรังสีที่วิเคราะห์ มีภาพรังสีที่ไม่ติด Marker จำนวน 2 ภาพ
8. ภาพรังสีทรวงอกที่วิเคราะห์ พบว่ามีจำนวน 6 ภาพ ที่ไม่ควรส่งให้รังสีแพทย์แปรผลเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยพบสาเหตุที่ไม่ควรส่ง คือ
    - มีสิ่งแปลกปลอมภายในภาพที่อาจเกิดจากฝุ่นละอองหรือเศษกระดาษติดใน Image Plate
    - ภาพที่ได้มี Noise มากจนไม่สามารถเห็นรายละเอียดของ lung vascular pattern 
    - ภาพถ่ายรังสีแสดงว่าผู้ป่วยหายใจเข้าไม่เต็มปอดจนไม่สามารถวินิจฉัยได้ นับ Posterior rib ได้เพียง 6 อัน
    - ภาพรังสีทรวงอกขาด Costrophrenic Angle

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพภาพถ่ายรังสีทรวงอกของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี คือ ขนาดตัวผู้ป่วย ในผู้ป่วยที่มีความหนาของช่องอกมากจะได้คะแนนน้อย 

ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงาน
1. หน่วยงานเอกซเรย์โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ควรมีการทบทวนการจัด Position การถ่ายภาพรังสีทรวงอกให้ถูกต้องเพื่อแก้ปัญหา Scapular บังบริเวณปอด โดยจัดทำเป็นคู่มือเพื่อการศึกษาต่อไป
2. ควรจัดทำป้ายหรือแผ่นพับ เพื่อให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อมารับบริการถ่ายภาพรังสี
3. ควรมีการสื่อสารกับผู้ป่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจในการปฏิบัติตัว เช่น การหายใจเข้าลึกๆ การกลั้นหายใจ ควรให้ผู้ป่วยแสดงให้ดูก่อนถ่ายภาพจริง
4. ควรจัดทำ Exposure chart ที่แปรผันตามขนาดตัวผู้ป่วยเพื่อการให้ Exposure ที่เหมาะสม
5. ควรมีการ QC ภาพถ่ายรังสี และมีหลักฐานกำกับว่าได้รับการ QC แล้วก่อนส่งภาพรังสีให้แพทย์ 

ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยในครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาปัจจัยด้านความหนาของผู้ป่วยต่อคุณภาพของภาพถ่ายรังสี

การพัฒนาระบบนัดผู้ป่วยห้องตรวจอายุรกรรมและห้องตรวจโรคทั่วไป

ชื่อผลงาน การพัฒนาระบบนัดผู้ป่วยห้องตรวจอายุรกรรมและห้องตรวจโรคทั่วไป
ชื่อผู้เสนอผลงาน ทีมงานผู้ป่วยนอก
ชื่อ/ที่อยู่ของหน่วยงาน อาคารผู้ป่วยนอก  โรงพยาบาลพระพุทธบาท
ที่มาของปัญหา
งานผู้ป่วยนอก  มีความมุ่งหมายในการให้บริการด้านการคัดกรองอาการอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ  โดยมีเป้าหมายให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลครอบคลุมตามปัญหาภาวะสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ  ผู้รับบริการมีความรู้  สามารถดูแลตนเอง  โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพและการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน ให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง พึงพอใจ ผู้ปฏิบัติงานมีความสุข
จากการให้บริการห้องตรวจอายุรกรรมและห้องตรวจโรคทั่วไปพบว่าผู้รับบริการเฉลี่ย 250-300 ราย/วัน เดิมจัดเจ้าหน้าที่ออกบัตรนัดให้ผู้รับบริการรอรับบัตรนัดก่อนไปรับยา บางครั้งผู้ป่วยออกจากห้องตรวจพร้อมกัน 5 คน ทำให้จุดออกบัตรนัดไม่ทัน ไม่มีที่ยืนรอเกิดความแออัด ผู้รับบริการรอนาน เกิดความไม่พึงพอใจ เจ้าหน้าที่เกิดความเครียด บุคลากรในหน่วยงานมองเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้รวบรวมปัญหา ช่วยกันวิเคราะห์ และพัฒนาระบบการนัดใหม่ขึ้นมา

วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดความแออัดและระยะเวลารอคอยแก่ผู้รับบริการ
2. เพื่อเพิ่มความพึงพอใจแก่ผู้ให้และผู้รับบริการ
3. เพื่อลดความเครียดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

วิธีการดำเนินงาน
1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
2. นำปัญหามาวิเคราะห์และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
3. กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ออกบัตรนัด 1 คน ถ้าการออกบัตรนัดไม่ทัน จัดเจ้าหน้าที่ช่วยออก
บัตรนัดเพิ่ม
4. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการรับทราบรายกลุ่มทุกวันเวลา 08.45 น. และติดป้ายประกาศ
5. กำหนดจุดรับบัตรนัด
เวลา 08.00-12.00 น. รับบัตรนัด ณ จุดคัดกรอง
เวลา 12.00-16.00 น. รับบัตรนัดหน้าห้องเบอร์ 8
6. ทบทวนปัญหาและหาแนวทางแก้ไขเพิ่มเติม
7. ประเมินความพึงพอใจทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ


ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. อัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการมากกว่าร้อยละ 85
2. อัตราความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานมากกว่าร้อยละ 85

ผลการดำเนินงาน
1. อัตราความพึงพอใจผู้รับบริการห้องตรวจอายุรกรรมร้อยละ 82.51
2. อัตราความพึงพอใจผู้รับบริการห้องตรวจโรคทั่วไปร้อยละ 84.93
3. สามารถลดความแออัดบริเวณจุดรับบัตรนัดเดิมได้
4. เจ้าหน้าที่เกิดความพึงพอใจ ลดความเครียด มีความสุขในการทำงานมากขึ้น

การพัฒนาต่อเนื่อง
1. มีการปรับวิธีการออกบัตรนัดเพิ่มเติม เนื่องจากบางรายต้องไปทำหัตถการอื่น ๆ เช่น ไปห้องไตเทียม ไปฉีดยา ไปนัดตรวจตา ผู้ป่วยเหล่านี้จะออกบัตรนัดให้ทันทีหลังออกจากห้องตรวจ
2. ผู้ป่วยประกันสังคม จะรับยาที่ห้องจ่ายยาประกันสังคม ซึ่งได้ยาเร็วกว่าห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก บัตรนัดออกไม่ทัน จึงให้ผู้ป่วยเหล่านี้แยก OPD card ใส่ตะกร้าต่างหากเพื่อออกบัตรนัดให้ก่อน

สรุปผลการดำเนินงาน
หลังการเปลี่ยนแปลงระยะแรกทั้งผู้ให้และผู้รับบริการเกิดความสับสน จึงได้หาวิธีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการรับทราบ จนผู้รับบริการสามารถบอกต่อๆกันถึงการเปลี่ยนแปลง และการมารับบริการซ้ำทำให้สามารถให้บริการได้ดีขึ้นโดยเฉพาะผู้ให้บริการลดความเครียดได้

การบริหารอัตรากำลังในภาวะขาดแคลนกำลังคน

ชื่อผลงาน การบริหารอัตรากำลังในภาวะขาดแคลนกำลังคน
ชื่อผู้เสนอผลงาน ทีมงานผู้ป่วยนอก
ชื่อ/ที่อยู่ของหน่วยงาน อาคารผู้ป่วยนอก  โรงพยาบาลพระพุทธบาท
ที่มาของปัญหา
งานผู้ป่วยนอก  มีความมุ่งหมายในการให้บริการด้านการคัดกรองอาการอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ  โดยมีเป้าหมายให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลครอบคลุมตามปัญหาภาวะสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ  ผู้รับบริการมีความรู้  สามารถดูแลตนเอง  โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพและการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน ให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง พึงพอใจ ผู้ปฏิบัติงานมีความสุข แต่พบว่าอัตรากำลังไม่เพียงพอเนื่องจาก
1. เปิดให้บริการพร้อมกันทุกห้องตรวจ บางห้องตรวจมีแพทย์ออกตรวจ 2-3 คน ทำให้ขาดอัตรากำลังในการปฏิบัติงาน
2. เจ้าหน้าที่ขาดลาพร้อมกัน
3. เจ้าหน้าที่ประชุมพร้อมกัน
4. ความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้น
บุคลากรในหน่วยงานมองเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้รวบรวมปัญหา ช่วยกันวิเคราะห์ และจัดทำแนวทางเพื่อให้อัตรากำลังเพียงพอต่อการให้บริการแต่ละวัน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้มีอัตรากำลังเพียงพอต่อการให้บริการ
2. เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานเกิดความพึงพอใจมีความสุขในการปฏิบัติงาน

วิธีการดำเนินงาน
1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
2. กำหนดแนวทางปฏิบัติในการลาต่างๆ เช่น จัดทำปฏิทินสำหรับจองการลา ให้ลาตามภาระงานแต่ละวัน ให้ลาช่วงบ่าย
3. พัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ให้สามารถหมุนเวียนปฏิบัติงานห้องตรวจอื่นๆได้
4. จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆที่สามารถอำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติงาน เช่น เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ เครื่องคอมพิวเตอร์ มีการเชื่อมเครื่อง printer ให้สามารถ print ออกได้ในจุดใกล้เคียง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. อัตรากำลังเพียงพอต่อการให้บริการมากกว่าร้อยละ 90
2. อัตราความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานมากกว่าร้อยละ 85
ผลการดำเนินงาน
1. อัตราความพึงพอใจผู้รับบริการห้องตรวจอายุรกรรมร้อยละ 82.51
2. อัตราความพึงพอใจผู้รับบริการห้องตรวจโรคทั่วไปร้อยละ 84.93
3. เจ้าหน้าที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานแต่ละวันดีขึ้น สามารถหมุนเวียนไปปฏิบัติงานตามห้องตรวจต่าง ๆ ได้
4. เจ้าหน้าที่เกิดความพึงพอใจ มีความสุขในการทำงานมากขึ้น

การพัฒนาต่อเนื่อง
1.จัดทำปฏิทินการลาให้ทีมงานเข้าใจไปในแนวทางเดียวกัน
2.กำหนดผู้จัดการมอบหมายงานรายวัน และผู้จัดต้องทราบว่าแต่ละห้องตรวจต้องใช้อัตรากำลังกี่คน มีแพทย์ออกตรวจกี่คน

สรุปผลการดำเนินงาน
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรับทราบแนวทางปฏิบัติและทำตามกติกาที่กำหนดไว้ ทำให้อัตรากำลังสามารถหมุนเวียนได้ ยกเว้นในบางวันซึ่งแพทย์ออกตรวจเพิ่มขึ้น เช่น ห้องตรวจอายุรกรรมบางวันจะออกตรวจ 3 ห้อง ห้องตรวจโรคทั่วไปมีแพทย์ใช้ทุนออกตรวจเพิ่ม 1 ห้อง ใช้อัตรากำลังพนักงานช่วยเหลือคนไข้หอผู้ป่วยพิเศษ/กลุ่มการพยาบาลมาช่วย และให้ลาได้เฉพาะช่วงบ่าย

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานห้องเจาะเลือด


IMPROVEMENT OF PHLEBOTOMY SERVICE OF MEDICAL TECHNOLOGY LABORATORY, PHRAPHUTTHABAT HOSPITAL USING BALANCED SCORECARD
การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานห้องเจาะเลือดของกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์
โรงพยาบาลพระพุทธบาทด้วยบาลานซ์ สกอร์การ์ด

Abstract
Phlebotomy services should focus on quality, safety, patient satisfaction, and efficient resource management. This led to improve the Medical Technology Laboratory Phlebotomy service, Phra Phutthabat Hospital, Thailand. Current efficiency was measured and  balanced scorecard was used to improve the management of phlebotomy service. Results were that 18 indicators and 9 operational plans were devised, taking into account lagging and leading indicators. Balanced scorecards were found to improve all aspects of phlebotomy service management. After initiatives were implemented, achievable indicators rose from 6 to 13. These included perspectives in learning and growth (3 indicators), customers (2 indicators), internal processes (1 indicator), and finance (1 indicator).

Keywords: Phlebotomy Unit, Balanced Scorecard, Key Performance Indicators





บทคัดย่อ
จุดเน้นของงานห้องเจาะเลือดควรประกอบด้วยคุณภาพ ความปลอดภัย ความพึงพอใจของผู้รับบริการ และการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ จึงนำมาสู่การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานห้องเจาะเลือดของกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลพระพุทธบาท โดยศึกษาประสิทธิภาพของการบริหารจัดการงานห้องเจาะเลือดในสถานการณ์ปัจจุบัน จัดทำแผนพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานห้องเจาะเลือด โดยใช้หลักการ Balanced scorecard ส่งผลให้ได้ตัวชี้วัดที่ครอบคลุม และเหมาะสมกับงานห้องเจาะเลือดที่ประกอบด้วยตัวชี้วัดเชิงกระบวนการ และตัวชี้วัดผลลัพธ์ จำนวน 18 ตัวชี้วัด แผนการดำเนินงานจำนวน 9 แผน ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการนำ Balanced scorecard มาใช้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานห้องเจาะเลือดได้ ทำให้เกิดการพัฒนาในมุมมองทุกด้านของ Balanced scorecard โดยก่อนการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานมี 6 ตัวชี้วัดที่ผ่านค่าเป้าหมาย และหลังปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานมีจำนวนตัวชี้วัดที่ผ่านค่าเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 13 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านกระบวนการการเรียนรู้และการพัฒนา  3 ตัวชี้วัด ด้านผู้รับบริการ 2 ตัวชี้วัด ด้านกระบวนภายใน มี 1 ตัวชี้วัด และด้านการเงิน 1 ตัวชี้วัด

คำสำคัญ: ห้องเจาะเลือด,  บาลานซ์ สกอร์การ์ด, ตัวชี้วัดหลัก

Orthostatic Hypotension in Post operative Patient


               ภาวะ Orthostatic  Hypotension   คือ ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตต่ำลงเมื่อเปลี่ยนท่าทาง เช่นจากท่านอนเป็นท่านั่ง ท่านั่งเป็นท่ายืน  หรือการยกศีรษะขึ้นสูง โดยมีค่าความดันซีสโตลิคลดลง > 20 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าความดันไดแอสโตลิคลดลง> 10 มิลลิเมตรปรอท ทำให้มีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม รู้สึกเบาศีรษะหรือหนักๆศีรษะ ตาลาย/ตาพร่า ไม่มีสมาธิ คิดอะไรไม่ออก วิงเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่อยู่  และอาจเป็นลมหมดสติได้ โดยปัญหาเหล่านี้มักถูกระบุเป็นภาวะที่พบ แต่ไม่ได้มีการคำนึงถึงว่ามีปัญหามาจาก  การเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตต่ำลงเมื่อเปลี่ยนท่าทาง  โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อายุน้อยที่มีการบาดเจ็บมากกว่า 2 ตำแหน่งขึ้นไป หรือ มีการบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อร่วมกับบาดเจ็บช่องท้องหรือบาดเจ็บทางสมอง  ผู้ป่วยจะได้รับการจัดการอาการบาดเจ็บและจะถูกส่งต่อเพื่อฟื้นฟูสภาพเรื่องการเคลื่อนไหว ยืน เดิน เมื่อผู้ป่วยถูกส่งปรึกษาทางกายภาพบำบัด ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความพร้อมของโครงสร้างร่างกาย การเคลื่อนไหวของข้อต่อ และการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม โดยขณะฝึกยืน เดิน ถ้าผู้ป่วยมีภาวะผิดปกติก็จะได้รับการแก้ไขตามอาการโดยไม่ได้คำนึงพยาธิสภาพและภาวะแทรกซ้อนที่เป็นผลจากการบาดเจ็บ ดังนั้นทีมจึงได้ทบทวนปัญหาภาวะแทรกซ้อนขณะฝึก Ambulation ขึ้นเพื่อนำมากำหนดแนวทางการประเมินสภาวะและการจัดการภาวะผู้ป่วยว่าเหมาะสมที่จะฝึก Ambulation หรือไม่
ปัญหาและอุบัติการณ์
ผู้ป่วยเป็นลมขณะทำการรักษาทางกายภาพบำบัดจำนวน 3 ราย  ขณะฝึกยืน เตรียมฝึกเดินโดยเครื่องช่วยเดิน อายุ 17-20 ปี พบว่าระดับความดันโลหิตขณะแรกรับและขณะฝึกยืนมีการเปลี่ยนแปลงลดต่ำลง ( systolic BP drop >30 และ diastolic BP drop >10 )  ชีพจรเพิ่มขึ้นจากขณะพัก 30 bpm จากการทบทวนประวัติพบว่า
- DX  :   Multiple trauma with  Mild Head injury
- CC: ทานอาหารและน้ำได้น้อย ถูกกระตุ้นให้ลุกนั่งแต่นั่งได้ไม่นาน ระดับอาการปวดแผลอยู่ที่  ( VAS ) 7- 10
-Consult PT for  Ambulation /Relieve Pain /Stretching
- ผู้ป่วยสามารถเดินได้แบบ Minimum to Moderate Assistance
ซึ่งทีมได้ตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตขณะเปลี่ยนท่าทางที่เป็นผลจากการได้รับบาดเจ็บ การสูญเสียเลือด ภาวะ Dehydration  จึงได้นำมาเป็นแนวทางดูแลผู้ป่วยที่ต้องฝึก Ambulation
แนวทางการดูแลผู้ป่วย
1. ประเมินปัญหาความรุนแรงของผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่ ศีรษะ
2. ประเมินภาวะซีด การให้เลือด การให้สารละลายทางเส้นเลือด
3. ประเมินระดับอาการว่าสามารถรับผู้ป่วยลงฝึกที่แผนกได้หรือไม่

แนวทางการเตรียมความพร้อมผู้ป่วย
1. มีการกำหนดปริมาณสารน้ำเพิ่มขึ้น 600 CC ต่อวัน ( Juan J.Figueroa,MD,Jeffrey R.Basford,MD,PhD,Phillip A.Low,MD.Preventing and treating orthostatic hypotension:As easy as A,B,C.,2010 May ; 77(5) )
2. มีการเพิ่มปริมาณ Cardiac input โดยการออกกำลังแบบเพิ่มความทนทานโดยให้แรงต้านน้อย จำนวนครั้งในการทำที่มาก ก่อนที่จะปรับไขเตียงนั่ง หรือลุกนั่งเองบนเตียง
3.การปรับระดับ Upright position โดยเริ่มไขเตียงจากระดับ 60 องศาจนนั่งเองบนเตียง เป็นระยะเวลานานอย่างน้อย 30-60 นาที      วันละ 3-5 รอบ หรืออาจจะร่วมกับมีการเพิ่มปริมาณ Cardiac input โดยการออกกำลังแบบเพิ่มความทนทานร่วมด้วย
4.การปรับเรื่องปริมาณอาหารต่อวัน ในรายที่ไม่ค่อยอยากอาหารจะแนะนำเป็นอาหารทดแทนที่ให้พลังงานทดแทนได้
5.ประเมินและจัดการอาการปวดโดยใช้ Cold หรือ Transcutaneous Electrical Stimulation (TENS ) หรือการปรับระดับความตึงของกล้ามเนื้อ Soft Tissue Release
การเริ่มฝึก Ambulation
1. มีการประเมิน Vital sign แรกรับ /หลังออกกำลัง /การเปลี่ยนท่าจากท่านอนเพื่อดูระดับความต่างของระดับความดันโลหิต และชีพจร
2.ประเมินการปรับตัวของระดับความดันโลหิตเมื่อเปลี่ยนท่าทางว่าสามารถปรับตัวได้หรือไม่
3.เพิ่มระดับการทำกิจกรรมโดยการออกกำลังกายส่วนรยางค์
4.ระดับความดันโลหิต และชีพจรอยู่ในระดับคงที่ ให้เริ่มฝึกยืนนาน 2 นาที ประเมินระดับความดัน หน้าซีด การตอบสนองพูดคุย เหงื่อออก
               - ถ้าผู้ป่วยสามารถยืนได้นานตั้งแต่ 2 นาทีขึ้นไป พิจารณาหัดเดินด้วยเครื่องช่วยเดิน
               -ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถยืนได้ ให้ปรับเป็นเคลื่อนไหวท่านั่ง กระตุ้นให้ปฏิบัติตามวิธีเตรียมความพร้อมก่อนานั่งอย่างเคร่งครัด
               - ภายใน 2 วันถ้าผู้ป่วยไม่สามารถ Ambulate ได้ ส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเจ้าของไข้
ผลลัพธ์
               ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่  1
               ผู้ป่วยชายไทยอายุ  34 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่า
                : Open Fracture Mid Shaft Humerus/ Radial Nreve Injury / Open Fracture Ulnar / Open                Fracture Both bone Rt Leg / Open Fx Lt Tibia
               : ผู้ป่วยไม่สามารถนั่งได้ แน่นหน้าอก อาเจียน หน้าซีด เป็นลม
               : ผลการดูแล
               -วันที่ 2   ของการรักษาปรับการรักษาจากแผนกกายภาพบำบัดเป็นให้การรักษาที่หอผู้ป่วย ผู้ป่วยสามารถนั่งเหยียดขาบนเตียงได้ มีอาการแน่นท้องเล็กน้อย แต่ยังไม่สามารถนั่งห้อยขาข้างเตียงได้
               -วันที่ 3 ของการรักษา ผู้ป่วยสามารถลุกนั่งได้เองและเปลี่ยนท่าจากนั่งเหยียดขาเป็นนั่งห้อยขาข้างเตียงได้
               : ระดับความสามารถในการ Ambulate
               - ผู้ป่วยสามารถลุกนั่งได้ทำกิจวัตรประจำวันบนเตียงได้สามารถกลับบ้านได้ภายใน 14 วันหลังผ่าตัด

               ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 2       
               ผู้ป่วยชายไทยอายุ  25  ปี ได้รับการวินิจฉัยว่า
               Fx. Distal Femur /Fx Clavicle / Mild Head injury
               : ผู้ป่วยมาด้วยภาวะหลับต้องกระตุ้นให้ตื่น มีภาวะจำกัดการเคลื่อนไหวต้นขาและไหล่ข้างที่บาดเจ็บมาก
               ไม่สามารถเปลี่ยนท่าทางและลุกนั่งได้
               : ผลการดูแล
               -วันที่ 2   ของการรักษาผู้ป่วยยังมีภาวะหลับมากอยู่สามารถไขเตียงปรับระดับได้ 75 องศา ยังมีภาวะจำกัดการเคลื่อนไหวค่อนข้างมาก
               -วันที่ 3 ของการรักษา ผู้ป่วยสามารถงอข้อเข่าได้ 75 องศา อาการมึนศีรษะลดลง ตื่นมากขึ้นเป็นนั่งห้อยขาข้างเตียงได้
               - ผู้ป่วยสามารถนั่งในวันที่ 4 หลังส่งปรึกษาทางกายภาพบำบัด และสามารถเริ่มยืนได้ในวันถัดไป
               : ระดับความสามารถในการ Ambulate
               - ผู้ป่วยสามารถ Ambulate ได้ภายใน 8 วันหลังผ่าตัด สามารถเดินด้วยเครื่องช่วยเดินชนิดสี่ขา ( Walker )
การนำไปใช้งานในปัจจุบัน
            1.สามารถนำมาแนวทางการประเมินป้องกันภาวะแทรกซ้อนขณะฝึก Ambulation
               2. นำมากำหนดแนวทางการคัดกรองปัญหาเพื่อส่งปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ถ้าอาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้น
               3. มีแนวทางดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฝึกยืน เดิน   ที่เป็นแนวทางเดียวกัน
บทเรียนที่ได้รับ/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
               จากปัญหาภาวะแทรกซ้อนหลังจากส่งฟื้นฟูด้านการ Ambulate ที่เกิดจากพยาธิสภาพและการบาดเจ็บของตัวโรค ทำให้เกิดปัญหาจำกัดด้านการฟื้นฟูสภาพเพื่อเตรียมผู้ป่วยยืน เดิน และ D/C ออกจากโรงพยาบาล ทำให้ทีมกายภาพบำบัดทบทวนสาเหตุและปัจจัยที่เป็นกลไกทำให้เกิดขึ้น ทำให้สามารถกำหนดแนวทางการดูแลฟื้นฟูสภาพและแนวทางที่จะต้องส่งปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ถ้าอาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้นให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและการฟื้นฟูเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาเดินอีกครั้งในภาวะจำกัดการเคลื่อนไหว