วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562

คุณภาพภาพถ่ายรังสีทรวงอก (Chest X-RAY)

ชื่อโครงการ   Routine to research คุณภาพภาพถ่ายรังสีทรวงอก (Chest X-RAY)
หน่วยงานรับผิดชอบ กลุ่มงานรังสีวิทยา
หลักการและเหตุผล
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X-RAY) เป็นการถ่ายภาพรังสีของปอด หัวใจ ซี่โครง ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยโรคของแพทย์หลายๆ โรค เช่น Pneumonia, COPD, มะเร็ง เป็นต้น นอกจากนี้การถ่ายภาพรังสีทรวงอกยังมีประโยชน์ คือ
1. เพื่อเตรียมการผ่าตัด
2. เพื่อหาสาเหตุของอาการผิดปติของระบบทางเดินหายใจ เพื่อติดตามดูความเป็นไปของโรคที่เกี่ยวกับปอดและหัวใจ
3. เพื่อตรวจหามะเร็งในระยะแรกเริ่มที่ปอด เพื่อตรวจหาการแพร่กระจายของโรคมาที่ปอด
4. เพื่อตรวจหาโรค Pneumoniosis (ภาวะปอดมีฝุ่นจับมาก)
5. เพื่อตรวจขนาดของหัวใจ
6. เพื่อตรวจหาก้อนเนื้องอกผิดปกติบริเวณปอดและที่อื่นๆ
โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 315 เตียง แผนกรังสีวินิจฉัยมีรังสีแพทย์  2 คน นักรังสีการแพทย์ 2 คน เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ 5 คน ผู้ช่วยเอกซเรย์ 6 คน ให้บริการถ่ายภาพรังสีทั่วไปแก่ผู้ป่วยทุกประเภทตลอด 24 ชั่วโมง   ข้อมูลปีงบประมาณ 2557, 2558 และ 2559 พบว่าการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเป็นการตรวจที่มีจำนวนสูงที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 32.25, 26.94 และ 33.89 ตามลำดับ ทำให้เกิดคำถามในการทำ R2R ว่า “ภาพถ่ายรังสีทรวงอกของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มีคุณภาพ และได้มาตรฐานหรือไม่”

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
  1. เพื่อควบคุมคุณภาพของภาพถ่ายรังสีทรวงอกให้มีมาตรฐานที่เหมาะสม
2. เพื่อลดอัตราการเอกซเรย์ซ้ำ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ภาพถ่ายรังสีทรวงอกที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับในการแปรผลของรังสี
แพทย์ 
2. สามารถลดอัตราการเอกซเรย์ซ้ำลงได้

ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาภาพถ่ายรังสีทรวงอกในปีงบประมาณ 2560 ในระบบ DR (Digital radiology) ของกลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลพระพุทธบาท โดยจะทำการศึกษาเฉพาะภาพถ่ายรังสีทรวงอกในท่า Upright เท่านั้น จำนวนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30 ของการตรวจภาพรังสีทรวงอกท่า Upright คิดเป็น 1,900 ภาพ ซึ่งจะดำเนินการสุ่มเลือกจำนวน 800 ภาพ

ผลการดำเนินงาน
คุณภาพของภาพรังสีทรวงอกของผู้รับบริการที่มีอายุ
1. 0-12 ปี มีคะแนนเฉลี่ย 8.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 คิดเป็นร้อยละ 80.00
2. 13-15 ปี มีคะแนนเฉลี่ย 8.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.30 คิดเป็นร้อยละ 83.33
3. 16-59 ปี มีคะแนนเฉลี่ย 9.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.13 คิดเป็นร้อยละ 94.68
4. 60 ปีขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ย 8.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33 คิดเป็นร้อยละ 81.92

  จากการทำ R2R เรื่อง ศึกษาค้นคว้า เรื่อง คุณภาพภาพถ่ายรังสีทรวงอก (Chest X-RAY) ของผู้รับบริการโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ปีงบประมาณ 2559 สามารถอภิปรายผลได้ ดังนี้
1. ภาพรังสีทรวงอกที่สุ่มเลือกได้เป็นผู้รับบริการเพศชาย และหญิงจำนวนไม่เท่ากัน 
2. ภาพรังสีทรวงอกที่สุ่มเลือกได้เป็นผู้รับบริการที่มีอายุ 16-59 ปี มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้มารับบริการ โดยเป็นการมารับบริการด้วยการตรวจสุขภาพมากที่สุด รองลงมาเป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ (วัณโรค) และอุบัติเหตุรถไถกระแทกหน้าอก
        กลุ่มอายุที่สุ่มภาพรังสีได้เป็นลำดับรองลงมา คือ กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นการส่งตรวจด้วยโรคระบบทางเดินหายใจมากที่สุด ได้แก่ ไอเรื้อรัง, วัณโรค รองลงมา คือ ปอดติดเชื้อ
    กลุ่มอายุที่สุ่มได้เป็นลำดับสุดท้าย คือ กลุ่มอายุ 0-12 ปี และ 13-15 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งตรวจเนื่องจากสงสัยโรคระบบทางเดินหายใจ
3. คุณภาพของภาพรังสีทรวงอกแยกตามรายข้อ พบว่าข้อ 1 คือ ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่ามีการหายใจเข้าเต็มที่ขณะถ่ายภาพ การประเมินลักษณะของภาพ ประเมินโดยหลักการที่ว่า ถ้าหายใจเข้าเต็มที่ Diaphragm ควรอยู่ต่ำกว่า Anterior end ของ Rib ที่ 6 หรือ Posterior end ของ Rib ที่ 10  เป็นข้อที่มีเปอร์เซ็นต์ และคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ คะแนนเฉลี่ย 0.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 คิดเป็น 82.38% ซึ่งเกิดจากการจัดท่าที่ไม่ถูกต้อง
    คุณภาพของภาพรังสีทรวงอกแยกตามรายข้อ พบว่าข้อที่มีคะแนนน้อยเป็นลำดับที่ 2 คือข้อ 5 ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่า สามารถเห็น vascular pattern ของปอดชัดเจนโดยเฉพาะ peripheral vessels คะแนนเฉลี่ย 0.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.40 คิดเป็นร้อยละ 86.13 สาเหตุเกิดจากการให้ Exposure ที่น้อยกว่าที่ควร เนื่องจากมีผู้ป่วยที่มีรูปร่างอ้วนและหนา 
    และข้อที่มีคะแนนน้อยในลำดับต่อมา คือ ข้อที่ 6 ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่า สามารถเห็น Trachea และ proximal bronchi ชัดเจน คะแนนเฉลี่ย 0.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.36 คิดเป็น ร้อยละ 88.13 ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดของการสื่อสาร ทำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง
4. คุณภาพของภาพรังสีทรวงอกแยกตามเพศ โดยพบว่าคุณภาพของภาพถ่ายรังสีทรวงอกของเพศชาย และหญิงก็ไม่ต่างกัน นั่นหมายถึงว่า เพศของผู้รับบริการไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ภาพถ่ายรังสีทรวงอกมีหรือไม่มีคุณภาพ
5. คุณภาพของภาพรังสีทรวงอกแยกตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มอายุ 0-12 ปี เป็นกลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด คะแนนเฉลี่ย 8.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 คิดเป็น 80.00% โดยเด็กที่สามารถถ่ายในท่า Upright ได้จะเป็นเด็กที่มีอายุ 7 ขวบขึ้นไป เหตุที่กลุ่มเด็กเป็นกลุ่มที่ภาพรังสีมีคุณภาพมากที่สุดเนื่องจาก เด็กอายุ 4 ขวบขึ้นไป เริ่มเข้าใจและฟังเหตุผลเมื่อมีการอธิบาย และด้วยสรีระที่เล็กทำให้จัด Position ได้ง่าย
    กลุ่มอายุ 16-59 ปีมีคะแนนคุณภาพของภาพถ่ายรังสีทรวงอกรองลงมา คือ คะแนนเฉลี่ย 9.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.13 คิดเป็น 94.68% พบปัญหาในการจัด Position เพื่อให้ Scapular ไม่บัง lung field 
    กลุ่มอายุ 13-15 ปี เป็นกลุ่มอายุที่ภาพรังสีทรวงอกมีคะแนนเป็นลำดับ 3 คือ คะแนนเฉลี่ย 8.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.30 คิดเป็น  83.33% และกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี เป็นกลุ่มที่มีคะแนนคุณภาพภาพรังสีทรวงอกน้อยที่สุด คือ คะแนนเฉลี่ย 8.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33 คิดเป็น 81.92%
6. จากการวิเคราะห์ภาพรังสีทรวงอกมี 4 ภาพ ที่ได้คะแนน 7 คะแนน และมี 1 ภาพที่ได้คะแนน 6 คะแนน
7. ในภาพรังสีที่วิเคราะห์ มีภาพรังสีที่ไม่ติด Marker จำนวน 2 ภาพ
8. ภาพรังสีทรวงอกที่วิเคราะห์ พบว่ามีจำนวน 6 ภาพ ที่ไม่ควรส่งให้รังสีแพทย์แปรผลเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยพบสาเหตุที่ไม่ควรส่ง คือ
    - มีสิ่งแปลกปลอมภายในภาพที่อาจเกิดจากฝุ่นละอองหรือเศษกระดาษติดใน Image Plate
    - ภาพที่ได้มี Noise มากจนไม่สามารถเห็นรายละเอียดของ lung vascular pattern 
    - ภาพถ่ายรังสีแสดงว่าผู้ป่วยหายใจเข้าไม่เต็มปอดจนไม่สามารถวินิจฉัยได้ นับ Posterior rib ได้เพียง 6 อัน
    - ภาพรังสีทรวงอกขาด Costrophrenic Angle

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพภาพถ่ายรังสีทรวงอกของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี คือ ขนาดตัวผู้ป่วย ในผู้ป่วยที่มีความหนาของช่องอกมากจะได้คะแนนน้อย 

ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงาน
1. หน่วยงานเอกซเรย์โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ควรมีการทบทวนการจัด Position การถ่ายภาพรังสีทรวงอกให้ถูกต้องเพื่อแก้ปัญหา Scapular บังบริเวณปอด โดยจัดทำเป็นคู่มือเพื่อการศึกษาต่อไป
2. ควรจัดทำป้ายหรือแผ่นพับ เพื่อให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อมารับบริการถ่ายภาพรังสี
3. ควรมีการสื่อสารกับผู้ป่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจในการปฏิบัติตัว เช่น การหายใจเข้าลึกๆ การกลั้นหายใจ ควรให้ผู้ป่วยแสดงให้ดูก่อนถ่ายภาพจริง
4. ควรจัดทำ Exposure chart ที่แปรผันตามขนาดตัวผู้ป่วยเพื่อการให้ Exposure ที่เหมาะสม
5. ควรมีการ QC ภาพถ่ายรังสี และมีหลักฐานกำกับว่าได้รับการ QC แล้วก่อนส่งภาพรังสีให้แพทย์ 

ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยในครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาปัจจัยด้านความหนาของผู้ป่วยต่อคุณภาพของภาพถ่ายรังสี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น