วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562

การเสริมพลังการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ชื่อเรื่อง  การเสริมพลังการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
หน่วยงาน  Stroke unit/ อ2 รพ.พระพุทธบาท

หลักการและเหตุผล  ปีงบประมาณ 2558-2560 พบอัตราอุบัติใหม่ของโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์
   1. พัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วย และส่งเสริมครอบครัวให้มีส่วนร่วม
ในการดูแลผู้ป่วย
   2. ลดการ Re-admit จากการกลับเป็นซ้ำและจากการเกิดภาวะแทรกซ้อน
   3. ลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาล
   4. ลดค่าใช้จ่ายจากการนอนโรงพยาบาล
วิธีการดำเนินงาน
  1.ทบทวนความรู้เจ้าหน้าที่ตาม Technical competency ด้านโรคหลอดเลือดสมอง
   2.  ค้นหาปัญหาจากกระบวนการทำงานที่มีอยู่เดิม
   3.  ทบทวนเวชระเบียน/ ทบทวนความเสี่ยง
   4.  รวบรวมปัญหาที่ได้นำมาวิเคราะห์ 
   5.  จัดการฝึกสอนในรูปแบบให้ care giver เข้ามาเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยขณะAdmit ตามหัวข้อที่ได้กำหนดไว้ ดังนี้
5.1 Hygiene care และการดูแลความสะอาดช่องปาก
  5.2  การทำกายภาพบำบัด
  5.3 การพลิกตะแคงตัว การป้องกันการเกิดแผลกดทับ
        5.4 การจัดอาหารที่เหมาะสมกับโรค การจัดท่าในการให้อาหาร/ การป้องกันการสูดสำลัก 
5.5 การปรับสภาพแวดล้อมบ้าน และการเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น การ ทำทางลาด ราวเกาะในห้องน้ำ ราวฝึกเดิน การเตรียมเตียง ที่นอนลม เครื่องดูดเสมหะ
                5.6 การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหาร การให้อาหารทางสายยาง การเปลี่ยนสายให้อาหาร                        การ ทำอาหารปั่นผสม (ถ้ามี)
5.7 การทำแผล การดูดเสมหะ (ถ้ามี)
  5.8 การดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ (ถ้ามี)
               5.9 การจัดยาให้ผู้ป่วยรับประทานต่อเนื่อง การสังเกตภาวะแทรกซ้อน การเป็นซ้ำ/                                     อาการที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล
                5.10 การใช้บริการรถฉุกเฉิน 1669 หรือสถานบริการ
6. ส่งเยี่ยมบ้านในรายที่ ADL < 75 คะแนน และติดตามผลการเยี่ยมบ้าน
7. เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อไปประเมินผลและวิเคราะห์ปัญหา
ผลการดำเนินงาน

บทเรียนที่ได้รับ

ปัญหาและอุปสรรค
  •  ขาดผู้ดูแล 
  •  ความรู้สึกท้อแท้ ของผู้ป่วย 
  • & ญาติ/ ผู้ดูแล 
  •  สถานภาพทางเศรษฐกิจ
แนวทางแก้ไข   ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่
   1. การ Refer back รพช. for Smart intermediate care เพื่อการฟื้นฟูสภาพต่อเนื่อง 
  2. การส่งต่อ รพสต. อสม. ในการช่วยติดตามการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน ของผู้ดูแล




การศึกษาความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ

การศึกษาความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ

ผู้วิจัย : นางสำราญ  จันทร์พงษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยหนัก
หน่วยงาน/สังกัด : ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลพระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี 18120

ที่มา : ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจจำเป็นต้องใส่ลมในกระเปาะให้เหมาะสม เพื่อป้องกันหรือลดภาวะแทรกซ้อนต่อทางเดินหายใจ หากใส่ลมมากเกินไปจะทำให้เยื่อบุหลอดลมอักเสบ เจ็บคอ เยื่อบุกล่องเสียงขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เกิดเนื้อตายและการตีบแคบของหลอดลม หากใส่ลมน้อยเกินไปจะทำให้เกิด การสำลักน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเข้าในหลอดลม เกิดปอดอักเสบและลมหายใจรั่วขณะช่วยหายใจ ส่งผลให้เนื้อเยื่อของร่างกายขาดออกซิเจนได้ รวมถึงการเลื่อนหลุดของท่อ จากสถิติในระหว่างปี พ.ศ. 2556-2558  โรงพยาบาลพระพุทธบาท มีอัตราท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดร้อยละ 11.08, 12.65 และ 19.14 ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มสูงขึ้น สาเหตุหนึ่งเกิดจากความดันกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจไม่เหมาะสม จากข้อจำกัดของเครื่องมือและคุณลักษณะของท่อช่วยหายใจ ทำให้พยาบาลส่วนใหญ่ต้องใช้ประสาทสัมผัสและความรู้สึกในการใส่ลมในกระเปาะ ส่งผลต่อค่าความดันในกระเปาะมีโอกาสสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ ที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากขึ้น

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาค่าความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน
2. เพื่อศึกษาระยะเวลาและปริมาณที่เหมาะสมในการเพิ่มความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ

ระเบียบวิธีวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ
ระยะที่ 1 การศึกษาค่าความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ โดยการประเมินด้วยประสาทสัมผัสและความรู้สึกของพยาบาลหอผู้ป่วยหนัก เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลในหอผู้ป่วยหนัก 1 และ 2 โดยให้พยาบาลประเมินความดันภายในกระเปาะลมของผู้ป่วยที่รับผิดชอบ โดยใช้ ประสาทสัมผัสและความรู้สึก และเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จาก Manometer
ระยะที่ 2 การศึกษาค่าความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยต่างๆ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ หอผู้ป่วยหนัก 1 และ 2 กึ่งวิกฤตอายุรกรรม กึ่งวิกฤตศัลยกรรม และหอผู้ป่วยอายุรกรรม 4 โดยวัดความดันภายในกระเปาะลมตอนเช้าและตอนบ่ายของทุกวัน ด้วย Manometer เครื่องเดียวกัน โดยผู้วิจัยคนเดียว บันทึกค่าความดันที่วัดได้ และเติมลมให้ค่าความดันไว้ที่ 25 cmH2O 
ระยะที่ 3 การศึกษาค่าความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน 2 ยี่ห้อ เป็นการศึกษากึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ท่อช่วยหายใจยี่ห้อ P จำนวน 5 ขนาด เบอร์ 6.0, 6.5, 7.0, 7.5, 8.0 และ ยี่ห้อ M จำนวน 3 ขนาด เบอร์ 7.0, 7.5, 8.0 โดยใส่ท่อช่วยหายใจในขวดน้ำที่มีน้ำสูง 10 cm ให้ปากขวดอยู่ที่ระดับ 22 cm ปิดปากขวดด้วยกระดาษทิชชู เติมลมด้วย syringe 2 ml ให้ค่าความดันเริ่มต้นไว้ที่ 25 cmH2O ทุกขวด โดยวัดค่าความดันและการเติมลม 3 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ 1 วัดค่าความดันเมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง และเติมลมไว้ที่ 25 cmH2O ทำซ้ำรวม 4 รอบ
รูปแบบที่ 2 วัดค่าความดัน ณ ชั่วโมงที่  4, 8, 16, และ 24 และเติมลมไว้ที่ 25 cmH2O ทุกครั้ง
รูปแบบที่ 3 วัดค่าความดันเมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง หลังเติมลมปริมาตร 0.5 ml ทำซ้ำรวม 4 รอบ จากนั้นทำซ้ำอีก 4 รอบ โดยเพิ่มปริมาตรลมเป็น 1.0 ml
ระยะที่ 4 การศึกษาค่าความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ เป็นการ ศึกษากึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนัก 1 และ 2 ให้ค่าความดันไว้ที่ 25 cmH2O เมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง เติมลมปริมาตร 0.5 ml วัดค่าความดัน ทำซ้ำรวม 2 รอบ จากนั้นทำซ้ำอีก 2 รอบ โดยเพิ่มปริมาตรลมเป็น 1.0 ml

ผลการศึกษา
ระยะที่ 1 พบว่า ค่าความดันในกระเปาะโดยใช้การประเมินด้วยประสาทสัมผัสและความรู้สึกของพยาบาลจำนวน 33 คน อยู่ในช่วง 10-92 cmH2O มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 24.15 cmH2O โดยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ30.30 และอยู่นอกเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 69.70โดยแยกเป็นความดันต่ำเกินไป 16 คน (69.57%) และความดันสูงเกินไป 7 คน (30.43%)
ระยะที่ 2 พบว่า ค่าความดันในกระเปาะลมจากการวัดทั้งหมด 475 ครั้ง แบ่งเป็น ตอนเช้า 245 ครั้ง และตอนบ่าย 230 ครั้ง อยู่ในช่วง 2-140 cmH2O มีค่าเฉลี่ยตอนเช้าเท่ากับ 22.62 cmH2O และตอนบ่ายเท่ากับ 18.78 cmH2O โดยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตอนเช้าจำนวน 69 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 28.16 และตอนบ่ายจำนวน 92 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 40.00
ระยะที่ 3 พบว่า รูปแบบที่ 1 เมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง ค่าความดันเฉลี่ยในกระเปาะของท่อช่วยหายใจ ยี่ห้อ P อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 3 ขนาด คือ เบอร์ 7.0, 7.5, 8.0 โดยมีค่าเท่ากับ 20.50, 21.25 และ 21.75 ตามลำดับ ขณะที่ยี่ห้อ M อยู่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 3 ขนาด โดยมีค่าเท่ากับ 18.25, 19.25 และ 18.50 ตามลำดับ รูปแบบที่ 2 เมื่อวัดค่าความดันในกระเปาะของท่อช่วยหายใจ ณ ชั่วโมงที่ 4, 8, 16, และ 24 พบว่า ค่าความดันในกระเปาะของท่อช่วยหายใจทุกขนาดของทั้งสองยี่ห้ออยู่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนรูปแบบที่ 3 ค่าความดันเฉลี่ยในกระเปาะของท่อช่วยหายใจหลังเติมลม 0.5 ml ทุกขนาดของทั้งสองยี่ห้ออยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยยี่ห้อ P เบอร์ 6.0, 6.5, 7.0, 7.5, 8.0 มีค่าความดันเฉลี่ยเท่ากับ 25.75, 25.25, 23.75, 25.50, 26.00 ตามลำดับ และ ยี่ห้อ M เบอร์ 7.0, 7.5, 8.0 มีค่าความดันเฉลี่ยเท่ากับ 26.00, 25.75, 26.00 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) และเมื่อเพิ่มปริมาตรลมเป็น 1.0 ml ค่าความดันเฉลี่ยในกระเปาะของท่อช่วยหายใจส่วนใหญ่อยู่นอกเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้น ยี่ห้อ P เบอร์ 7.0, 7.5 มีค่าความดันเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีค่าเท่ากับ 28.50, 30.00 ตามลำดับ


ระยะที่ 4 พบว่า ค่าความดันเฉลี่ยในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ ในผู้ป่วย 6 ราย แบ่งเป็น ชาย 5 ราย (83.3%) หญิง 1 ราย (16.7%) อายุ 34-90 ปี อายุเฉลี่ย 64.17 ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม 3 ราย (50.00%) ศัลยกรรมสมอง 3 ราย (50.00%) กลุ่มโรคระบบสมองมากที่สุด 3 ราย (50.00%) ใส่ท่อช่วยหายใจยี่ห้อ P 4 ราย (66.70%) ยี่ห้อ M 1 ราย (16.7%) และยี่ห้ออื่น 1 ราย (16.70%) หลังเติมลมปริมาตร 0.5 ml ได้ค่าความดันเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เท่ากับ 26.08 cmH2O ขณะที่หลังเติมลม 1.0 ml ค่าความดันเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เท่ากับ 31.33 cmH2O

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ : หอผู้ป่วยที่ไม่มีเครื่องมือ ให้เติมลมด้วยปริมาตร 0.5 ml ทุก 2 ชั่วโมง ในท่อช่วยหายใจยี่ห้อ P เบอร์ 7.0, 7.5 และ 8.0 และทุก 1 ชั่วโมง 30 นาที -1 ชั่วโมง 45 นาที ในท่อช่วยหายใจยี่ห้อ P เบอร์ 6.0 และ 6.5 รวมถึงยี่ห้อ M ทุกขนาด โดยให้เติมลมไว้ที่ 25 cmH2O และต้องวัดด้วย Manometer ภายใน 24 ชั่วโมง

 การสนับสนุนที่ได้รับ : งานวิจัยนี้ได้รับอนุญาตจากแพทย์เจ้าของไข้และคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ การสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์จากศูนย์เครื่องมือแพทย์ คำแนะนำและจัดสรรเวลาจากหัวหน้างาน และการสนับสนุนจากหัวหน้าหอผู้ป่วยทุกท่าน

คุณภาพภาพถ่ายรังสีทรวงอก (Chest X-RAY)

ชื่อโครงการ   Routine to research คุณภาพภาพถ่ายรังสีทรวงอก (Chest X-RAY)
หน่วยงานรับผิดชอบ กลุ่มงานรังสีวิทยา
หลักการและเหตุผล
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X-RAY) เป็นการถ่ายภาพรังสีของปอด หัวใจ ซี่โครง ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยโรคของแพทย์หลายๆ โรค เช่น Pneumonia, COPD, มะเร็ง เป็นต้น นอกจากนี้การถ่ายภาพรังสีทรวงอกยังมีประโยชน์ คือ
1. เพื่อเตรียมการผ่าตัด
2. เพื่อหาสาเหตุของอาการผิดปติของระบบทางเดินหายใจ เพื่อติดตามดูความเป็นไปของโรคที่เกี่ยวกับปอดและหัวใจ
3. เพื่อตรวจหามะเร็งในระยะแรกเริ่มที่ปอด เพื่อตรวจหาการแพร่กระจายของโรคมาที่ปอด
4. เพื่อตรวจหาโรค Pneumoniosis (ภาวะปอดมีฝุ่นจับมาก)
5. เพื่อตรวจขนาดของหัวใจ
6. เพื่อตรวจหาก้อนเนื้องอกผิดปกติบริเวณปอดและที่อื่นๆ
โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 315 เตียง แผนกรังสีวินิจฉัยมีรังสีแพทย์  2 คน นักรังสีการแพทย์ 2 คน เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ 5 คน ผู้ช่วยเอกซเรย์ 6 คน ให้บริการถ่ายภาพรังสีทั่วไปแก่ผู้ป่วยทุกประเภทตลอด 24 ชั่วโมง   ข้อมูลปีงบประมาณ 2557, 2558 และ 2559 พบว่าการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเป็นการตรวจที่มีจำนวนสูงที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 32.25, 26.94 และ 33.89 ตามลำดับ ทำให้เกิดคำถามในการทำ R2R ว่า “ภาพถ่ายรังสีทรวงอกของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มีคุณภาพ และได้มาตรฐานหรือไม่”

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
  1. เพื่อควบคุมคุณภาพของภาพถ่ายรังสีทรวงอกให้มีมาตรฐานที่เหมาะสม
2. เพื่อลดอัตราการเอกซเรย์ซ้ำ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ภาพถ่ายรังสีทรวงอกที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับในการแปรผลของรังสี
แพทย์ 
2. สามารถลดอัตราการเอกซเรย์ซ้ำลงได้

ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาภาพถ่ายรังสีทรวงอกในปีงบประมาณ 2560 ในระบบ DR (Digital radiology) ของกลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลพระพุทธบาท โดยจะทำการศึกษาเฉพาะภาพถ่ายรังสีทรวงอกในท่า Upright เท่านั้น จำนวนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30 ของการตรวจภาพรังสีทรวงอกท่า Upright คิดเป็น 1,900 ภาพ ซึ่งจะดำเนินการสุ่มเลือกจำนวน 800 ภาพ

ผลการดำเนินงาน
คุณภาพของภาพรังสีทรวงอกของผู้รับบริการที่มีอายุ
1. 0-12 ปี มีคะแนนเฉลี่ย 8.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 คิดเป็นร้อยละ 80.00
2. 13-15 ปี มีคะแนนเฉลี่ย 8.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.30 คิดเป็นร้อยละ 83.33
3. 16-59 ปี มีคะแนนเฉลี่ย 9.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.13 คิดเป็นร้อยละ 94.68
4. 60 ปีขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ย 8.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33 คิดเป็นร้อยละ 81.92

  จากการทำ R2R เรื่อง ศึกษาค้นคว้า เรื่อง คุณภาพภาพถ่ายรังสีทรวงอก (Chest X-RAY) ของผู้รับบริการโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ปีงบประมาณ 2559 สามารถอภิปรายผลได้ ดังนี้
1. ภาพรังสีทรวงอกที่สุ่มเลือกได้เป็นผู้รับบริการเพศชาย และหญิงจำนวนไม่เท่ากัน 
2. ภาพรังสีทรวงอกที่สุ่มเลือกได้เป็นผู้รับบริการที่มีอายุ 16-59 ปี มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้มารับบริการ โดยเป็นการมารับบริการด้วยการตรวจสุขภาพมากที่สุด รองลงมาเป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ (วัณโรค) และอุบัติเหตุรถไถกระแทกหน้าอก
        กลุ่มอายุที่สุ่มภาพรังสีได้เป็นลำดับรองลงมา คือ กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นการส่งตรวจด้วยโรคระบบทางเดินหายใจมากที่สุด ได้แก่ ไอเรื้อรัง, วัณโรค รองลงมา คือ ปอดติดเชื้อ
    กลุ่มอายุที่สุ่มได้เป็นลำดับสุดท้าย คือ กลุ่มอายุ 0-12 ปี และ 13-15 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งตรวจเนื่องจากสงสัยโรคระบบทางเดินหายใจ
3. คุณภาพของภาพรังสีทรวงอกแยกตามรายข้อ พบว่าข้อ 1 คือ ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่ามีการหายใจเข้าเต็มที่ขณะถ่ายภาพ การประเมินลักษณะของภาพ ประเมินโดยหลักการที่ว่า ถ้าหายใจเข้าเต็มที่ Diaphragm ควรอยู่ต่ำกว่า Anterior end ของ Rib ที่ 6 หรือ Posterior end ของ Rib ที่ 10  เป็นข้อที่มีเปอร์เซ็นต์ และคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ คะแนนเฉลี่ย 0.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 คิดเป็น 82.38% ซึ่งเกิดจากการจัดท่าที่ไม่ถูกต้อง
    คุณภาพของภาพรังสีทรวงอกแยกตามรายข้อ พบว่าข้อที่มีคะแนนน้อยเป็นลำดับที่ 2 คือข้อ 5 ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่า สามารถเห็น vascular pattern ของปอดชัดเจนโดยเฉพาะ peripheral vessels คะแนนเฉลี่ย 0.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.40 คิดเป็นร้อยละ 86.13 สาเหตุเกิดจากการให้ Exposure ที่น้อยกว่าที่ควร เนื่องจากมีผู้ป่วยที่มีรูปร่างอ้วนและหนา 
    และข้อที่มีคะแนนน้อยในลำดับต่อมา คือ ข้อที่ 6 ภาพรังสีทรวงอกต้องแสดงให้เห็นว่า สามารถเห็น Trachea และ proximal bronchi ชัดเจน คะแนนเฉลี่ย 0.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.36 คิดเป็น ร้อยละ 88.13 ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดของการสื่อสาร ทำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง
4. คุณภาพของภาพรังสีทรวงอกแยกตามเพศ โดยพบว่าคุณภาพของภาพถ่ายรังสีทรวงอกของเพศชาย และหญิงก็ไม่ต่างกัน นั่นหมายถึงว่า เพศของผู้รับบริการไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ภาพถ่ายรังสีทรวงอกมีหรือไม่มีคุณภาพ
5. คุณภาพของภาพรังสีทรวงอกแยกตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มอายุ 0-12 ปี เป็นกลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด คะแนนเฉลี่ย 8.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 คิดเป็น 80.00% โดยเด็กที่สามารถถ่ายในท่า Upright ได้จะเป็นเด็กที่มีอายุ 7 ขวบขึ้นไป เหตุที่กลุ่มเด็กเป็นกลุ่มที่ภาพรังสีมีคุณภาพมากที่สุดเนื่องจาก เด็กอายุ 4 ขวบขึ้นไป เริ่มเข้าใจและฟังเหตุผลเมื่อมีการอธิบาย และด้วยสรีระที่เล็กทำให้จัด Position ได้ง่าย
    กลุ่มอายุ 16-59 ปีมีคะแนนคุณภาพของภาพถ่ายรังสีทรวงอกรองลงมา คือ คะแนนเฉลี่ย 9.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.13 คิดเป็น 94.68% พบปัญหาในการจัด Position เพื่อให้ Scapular ไม่บัง lung field 
    กลุ่มอายุ 13-15 ปี เป็นกลุ่มอายุที่ภาพรังสีทรวงอกมีคะแนนเป็นลำดับ 3 คือ คะแนนเฉลี่ย 8.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.30 คิดเป็น  83.33% และกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี เป็นกลุ่มที่มีคะแนนคุณภาพภาพรังสีทรวงอกน้อยที่สุด คือ คะแนนเฉลี่ย 8.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33 คิดเป็น 81.92%
6. จากการวิเคราะห์ภาพรังสีทรวงอกมี 4 ภาพ ที่ได้คะแนน 7 คะแนน และมี 1 ภาพที่ได้คะแนน 6 คะแนน
7. ในภาพรังสีที่วิเคราะห์ มีภาพรังสีที่ไม่ติด Marker จำนวน 2 ภาพ
8. ภาพรังสีทรวงอกที่วิเคราะห์ พบว่ามีจำนวน 6 ภาพ ที่ไม่ควรส่งให้รังสีแพทย์แปรผลเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยพบสาเหตุที่ไม่ควรส่ง คือ
    - มีสิ่งแปลกปลอมภายในภาพที่อาจเกิดจากฝุ่นละอองหรือเศษกระดาษติดใน Image Plate
    - ภาพที่ได้มี Noise มากจนไม่สามารถเห็นรายละเอียดของ lung vascular pattern 
    - ภาพถ่ายรังสีแสดงว่าผู้ป่วยหายใจเข้าไม่เต็มปอดจนไม่สามารถวินิจฉัยได้ นับ Posterior rib ได้เพียง 6 อัน
    - ภาพรังสีทรวงอกขาด Costrophrenic Angle

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพภาพถ่ายรังสีทรวงอกของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี คือ ขนาดตัวผู้ป่วย ในผู้ป่วยที่มีความหนาของช่องอกมากจะได้คะแนนน้อย 

ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงาน
1. หน่วยงานเอกซเรย์โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ควรมีการทบทวนการจัด Position การถ่ายภาพรังสีทรวงอกให้ถูกต้องเพื่อแก้ปัญหา Scapular บังบริเวณปอด โดยจัดทำเป็นคู่มือเพื่อการศึกษาต่อไป
2. ควรจัดทำป้ายหรือแผ่นพับ เพื่อให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อมารับบริการถ่ายภาพรังสี
3. ควรมีการสื่อสารกับผู้ป่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจในการปฏิบัติตัว เช่น การหายใจเข้าลึกๆ การกลั้นหายใจ ควรให้ผู้ป่วยแสดงให้ดูก่อนถ่ายภาพจริง
4. ควรจัดทำ Exposure chart ที่แปรผันตามขนาดตัวผู้ป่วยเพื่อการให้ Exposure ที่เหมาะสม
5. ควรมีการ QC ภาพถ่ายรังสี และมีหลักฐานกำกับว่าได้รับการ QC แล้วก่อนส่งภาพรังสีให้แพทย์ 

ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยในครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาปัจจัยด้านความหนาของผู้ป่วยต่อคุณภาพของภาพถ่ายรังสี

การพัฒนาระบบนัดผู้ป่วยห้องตรวจอายุรกรรมและห้องตรวจโรคทั่วไป

ชื่อผลงาน การพัฒนาระบบนัดผู้ป่วยห้องตรวจอายุรกรรมและห้องตรวจโรคทั่วไป
ชื่อผู้เสนอผลงาน ทีมงานผู้ป่วยนอก
ชื่อ/ที่อยู่ของหน่วยงาน อาคารผู้ป่วยนอก  โรงพยาบาลพระพุทธบาท
ที่มาของปัญหา
งานผู้ป่วยนอก  มีความมุ่งหมายในการให้บริการด้านการคัดกรองอาการอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ  โดยมีเป้าหมายให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลครอบคลุมตามปัญหาภาวะสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ  ผู้รับบริการมีความรู้  สามารถดูแลตนเอง  โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพและการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน ให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง พึงพอใจ ผู้ปฏิบัติงานมีความสุข
จากการให้บริการห้องตรวจอายุรกรรมและห้องตรวจโรคทั่วไปพบว่าผู้รับบริการเฉลี่ย 250-300 ราย/วัน เดิมจัดเจ้าหน้าที่ออกบัตรนัดให้ผู้รับบริการรอรับบัตรนัดก่อนไปรับยา บางครั้งผู้ป่วยออกจากห้องตรวจพร้อมกัน 5 คน ทำให้จุดออกบัตรนัดไม่ทัน ไม่มีที่ยืนรอเกิดความแออัด ผู้รับบริการรอนาน เกิดความไม่พึงพอใจ เจ้าหน้าที่เกิดความเครียด บุคลากรในหน่วยงานมองเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้รวบรวมปัญหา ช่วยกันวิเคราะห์ และพัฒนาระบบการนัดใหม่ขึ้นมา

วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดความแออัดและระยะเวลารอคอยแก่ผู้รับบริการ
2. เพื่อเพิ่มความพึงพอใจแก่ผู้ให้และผู้รับบริการ
3. เพื่อลดความเครียดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

วิธีการดำเนินงาน
1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
2. นำปัญหามาวิเคราะห์และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
3. กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ออกบัตรนัด 1 คน ถ้าการออกบัตรนัดไม่ทัน จัดเจ้าหน้าที่ช่วยออก
บัตรนัดเพิ่ม
4. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการรับทราบรายกลุ่มทุกวันเวลา 08.45 น. และติดป้ายประกาศ
5. กำหนดจุดรับบัตรนัด
เวลา 08.00-12.00 น. รับบัตรนัด ณ จุดคัดกรอง
เวลา 12.00-16.00 น. รับบัตรนัดหน้าห้องเบอร์ 8
6. ทบทวนปัญหาและหาแนวทางแก้ไขเพิ่มเติม
7. ประเมินความพึงพอใจทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ


ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. อัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการมากกว่าร้อยละ 85
2. อัตราความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานมากกว่าร้อยละ 85

ผลการดำเนินงาน
1. อัตราความพึงพอใจผู้รับบริการห้องตรวจอายุรกรรมร้อยละ 82.51
2. อัตราความพึงพอใจผู้รับบริการห้องตรวจโรคทั่วไปร้อยละ 84.93
3. สามารถลดความแออัดบริเวณจุดรับบัตรนัดเดิมได้
4. เจ้าหน้าที่เกิดความพึงพอใจ ลดความเครียด มีความสุขในการทำงานมากขึ้น

การพัฒนาต่อเนื่อง
1. มีการปรับวิธีการออกบัตรนัดเพิ่มเติม เนื่องจากบางรายต้องไปทำหัตถการอื่น ๆ เช่น ไปห้องไตเทียม ไปฉีดยา ไปนัดตรวจตา ผู้ป่วยเหล่านี้จะออกบัตรนัดให้ทันทีหลังออกจากห้องตรวจ
2. ผู้ป่วยประกันสังคม จะรับยาที่ห้องจ่ายยาประกันสังคม ซึ่งได้ยาเร็วกว่าห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก บัตรนัดออกไม่ทัน จึงให้ผู้ป่วยเหล่านี้แยก OPD card ใส่ตะกร้าต่างหากเพื่อออกบัตรนัดให้ก่อน

สรุปผลการดำเนินงาน
หลังการเปลี่ยนแปลงระยะแรกทั้งผู้ให้และผู้รับบริการเกิดความสับสน จึงได้หาวิธีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการรับทราบ จนผู้รับบริการสามารถบอกต่อๆกันถึงการเปลี่ยนแปลง และการมารับบริการซ้ำทำให้สามารถให้บริการได้ดีขึ้นโดยเฉพาะผู้ให้บริการลดความเครียดได้

การบริหารอัตรากำลังในภาวะขาดแคลนกำลังคน

ชื่อผลงาน การบริหารอัตรากำลังในภาวะขาดแคลนกำลังคน
ชื่อผู้เสนอผลงาน ทีมงานผู้ป่วยนอก
ชื่อ/ที่อยู่ของหน่วยงาน อาคารผู้ป่วยนอก  โรงพยาบาลพระพุทธบาท
ที่มาของปัญหา
งานผู้ป่วยนอก  มีความมุ่งหมายในการให้บริการด้านการคัดกรองอาการอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ  โดยมีเป้าหมายให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลครอบคลุมตามปัญหาภาวะสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ  ผู้รับบริการมีความรู้  สามารถดูแลตนเอง  โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพและการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน ให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง พึงพอใจ ผู้ปฏิบัติงานมีความสุข แต่พบว่าอัตรากำลังไม่เพียงพอเนื่องจาก
1. เปิดให้บริการพร้อมกันทุกห้องตรวจ บางห้องตรวจมีแพทย์ออกตรวจ 2-3 คน ทำให้ขาดอัตรากำลังในการปฏิบัติงาน
2. เจ้าหน้าที่ขาดลาพร้อมกัน
3. เจ้าหน้าที่ประชุมพร้อมกัน
4. ความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้น
บุคลากรในหน่วยงานมองเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้รวบรวมปัญหา ช่วยกันวิเคราะห์ และจัดทำแนวทางเพื่อให้อัตรากำลังเพียงพอต่อการให้บริการแต่ละวัน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้มีอัตรากำลังเพียงพอต่อการให้บริการ
2. เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานเกิดความพึงพอใจมีความสุขในการปฏิบัติงาน

วิธีการดำเนินงาน
1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
2. กำหนดแนวทางปฏิบัติในการลาต่างๆ เช่น จัดทำปฏิทินสำหรับจองการลา ให้ลาตามภาระงานแต่ละวัน ให้ลาช่วงบ่าย
3. พัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ให้สามารถหมุนเวียนปฏิบัติงานห้องตรวจอื่นๆได้
4. จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆที่สามารถอำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติงาน เช่น เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ เครื่องคอมพิวเตอร์ มีการเชื่อมเครื่อง printer ให้สามารถ print ออกได้ในจุดใกล้เคียง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. อัตรากำลังเพียงพอต่อการให้บริการมากกว่าร้อยละ 90
2. อัตราความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานมากกว่าร้อยละ 85
ผลการดำเนินงาน
1. อัตราความพึงพอใจผู้รับบริการห้องตรวจอายุรกรรมร้อยละ 82.51
2. อัตราความพึงพอใจผู้รับบริการห้องตรวจโรคทั่วไปร้อยละ 84.93
3. เจ้าหน้าที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานแต่ละวันดีขึ้น สามารถหมุนเวียนไปปฏิบัติงานตามห้องตรวจต่าง ๆ ได้
4. เจ้าหน้าที่เกิดความพึงพอใจ มีความสุขในการทำงานมากขึ้น

การพัฒนาต่อเนื่อง
1.จัดทำปฏิทินการลาให้ทีมงานเข้าใจไปในแนวทางเดียวกัน
2.กำหนดผู้จัดการมอบหมายงานรายวัน และผู้จัดต้องทราบว่าแต่ละห้องตรวจต้องใช้อัตรากำลังกี่คน มีแพทย์ออกตรวจกี่คน

สรุปผลการดำเนินงาน
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรับทราบแนวทางปฏิบัติและทำตามกติกาที่กำหนดไว้ ทำให้อัตรากำลังสามารถหมุนเวียนได้ ยกเว้นในบางวันซึ่งแพทย์ออกตรวจเพิ่มขึ้น เช่น ห้องตรวจอายุรกรรมบางวันจะออกตรวจ 3 ห้อง ห้องตรวจโรคทั่วไปมีแพทย์ใช้ทุนออกตรวจเพิ่ม 1 ห้อง ใช้อัตรากำลังพนักงานช่วยเหลือคนไข้หอผู้ป่วยพิเศษ/กลุ่มการพยาบาลมาช่วย และให้ลาได้เฉพาะช่วงบ่าย