วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานห้องเจาะเลือด


IMPROVEMENT OF PHLEBOTOMY SERVICE OF MEDICAL TECHNOLOGY LABORATORY, PHRAPHUTTHABAT HOSPITAL USING BALANCED SCORECARD
การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานห้องเจาะเลือดของกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์
โรงพยาบาลพระพุทธบาทด้วยบาลานซ์ สกอร์การ์ด

Abstract
Phlebotomy services should focus on quality, safety, patient satisfaction, and efficient resource management. This led to improve the Medical Technology Laboratory Phlebotomy service, Phra Phutthabat Hospital, Thailand. Current efficiency was measured and  balanced scorecard was used to improve the management of phlebotomy service. Results were that 18 indicators and 9 operational plans were devised, taking into account lagging and leading indicators. Balanced scorecards were found to improve all aspects of phlebotomy service management. After initiatives were implemented, achievable indicators rose from 6 to 13. These included perspectives in learning and growth (3 indicators), customers (2 indicators), internal processes (1 indicator), and finance (1 indicator).

Keywords: Phlebotomy Unit, Balanced Scorecard, Key Performance Indicators





บทคัดย่อ
จุดเน้นของงานห้องเจาะเลือดควรประกอบด้วยคุณภาพ ความปลอดภัย ความพึงพอใจของผู้รับบริการ และการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ จึงนำมาสู่การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานห้องเจาะเลือดของกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลพระพุทธบาท โดยศึกษาประสิทธิภาพของการบริหารจัดการงานห้องเจาะเลือดในสถานการณ์ปัจจุบัน จัดทำแผนพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานห้องเจาะเลือด โดยใช้หลักการ Balanced scorecard ส่งผลให้ได้ตัวชี้วัดที่ครอบคลุม และเหมาะสมกับงานห้องเจาะเลือดที่ประกอบด้วยตัวชี้วัดเชิงกระบวนการ และตัวชี้วัดผลลัพธ์ จำนวน 18 ตัวชี้วัด แผนการดำเนินงานจำนวน 9 แผน ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการนำ Balanced scorecard มาใช้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานห้องเจาะเลือดได้ ทำให้เกิดการพัฒนาในมุมมองทุกด้านของ Balanced scorecard โดยก่อนการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานมี 6 ตัวชี้วัดที่ผ่านค่าเป้าหมาย และหลังปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานมีจำนวนตัวชี้วัดที่ผ่านค่าเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 13 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านกระบวนการการเรียนรู้และการพัฒนา  3 ตัวชี้วัด ด้านผู้รับบริการ 2 ตัวชี้วัด ด้านกระบวนภายใน มี 1 ตัวชี้วัด และด้านการเงิน 1 ตัวชี้วัด

คำสำคัญ: ห้องเจาะเลือด,  บาลานซ์ สกอร์การ์ด, ตัวชี้วัดหลัก

Orthostatic Hypotension in Post operative Patient


               ภาวะ Orthostatic  Hypotension   คือ ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตต่ำลงเมื่อเปลี่ยนท่าทาง เช่นจากท่านอนเป็นท่านั่ง ท่านั่งเป็นท่ายืน  หรือการยกศีรษะขึ้นสูง โดยมีค่าความดันซีสโตลิคลดลง > 20 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าความดันไดแอสโตลิคลดลง> 10 มิลลิเมตรปรอท ทำให้มีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม รู้สึกเบาศีรษะหรือหนักๆศีรษะ ตาลาย/ตาพร่า ไม่มีสมาธิ คิดอะไรไม่ออก วิงเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่อยู่  และอาจเป็นลมหมดสติได้ โดยปัญหาเหล่านี้มักถูกระบุเป็นภาวะที่พบ แต่ไม่ได้มีการคำนึงถึงว่ามีปัญหามาจาก  การเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตต่ำลงเมื่อเปลี่ยนท่าทาง  โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อายุน้อยที่มีการบาดเจ็บมากกว่า 2 ตำแหน่งขึ้นไป หรือ มีการบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อร่วมกับบาดเจ็บช่องท้องหรือบาดเจ็บทางสมอง  ผู้ป่วยจะได้รับการจัดการอาการบาดเจ็บและจะถูกส่งต่อเพื่อฟื้นฟูสภาพเรื่องการเคลื่อนไหว ยืน เดิน เมื่อผู้ป่วยถูกส่งปรึกษาทางกายภาพบำบัด ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความพร้อมของโครงสร้างร่างกาย การเคลื่อนไหวของข้อต่อ และการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม โดยขณะฝึกยืน เดิน ถ้าผู้ป่วยมีภาวะผิดปกติก็จะได้รับการแก้ไขตามอาการโดยไม่ได้คำนึงพยาธิสภาพและภาวะแทรกซ้อนที่เป็นผลจากการบาดเจ็บ ดังนั้นทีมจึงได้ทบทวนปัญหาภาวะแทรกซ้อนขณะฝึก Ambulation ขึ้นเพื่อนำมากำหนดแนวทางการประเมินสภาวะและการจัดการภาวะผู้ป่วยว่าเหมาะสมที่จะฝึก Ambulation หรือไม่
ปัญหาและอุบัติการณ์
ผู้ป่วยเป็นลมขณะทำการรักษาทางกายภาพบำบัดจำนวน 3 ราย  ขณะฝึกยืน เตรียมฝึกเดินโดยเครื่องช่วยเดิน อายุ 17-20 ปี พบว่าระดับความดันโลหิตขณะแรกรับและขณะฝึกยืนมีการเปลี่ยนแปลงลดต่ำลง ( systolic BP drop >30 และ diastolic BP drop >10 )  ชีพจรเพิ่มขึ้นจากขณะพัก 30 bpm จากการทบทวนประวัติพบว่า
- DX  :   Multiple trauma with  Mild Head injury
- CC: ทานอาหารและน้ำได้น้อย ถูกกระตุ้นให้ลุกนั่งแต่นั่งได้ไม่นาน ระดับอาการปวดแผลอยู่ที่  ( VAS ) 7- 10
-Consult PT for  Ambulation /Relieve Pain /Stretching
- ผู้ป่วยสามารถเดินได้แบบ Minimum to Moderate Assistance
ซึ่งทีมได้ตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตขณะเปลี่ยนท่าทางที่เป็นผลจากการได้รับบาดเจ็บ การสูญเสียเลือด ภาวะ Dehydration  จึงได้นำมาเป็นแนวทางดูแลผู้ป่วยที่ต้องฝึก Ambulation
แนวทางการดูแลผู้ป่วย
1. ประเมินปัญหาความรุนแรงของผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่ ศีรษะ
2. ประเมินภาวะซีด การให้เลือด การให้สารละลายทางเส้นเลือด
3. ประเมินระดับอาการว่าสามารถรับผู้ป่วยลงฝึกที่แผนกได้หรือไม่

แนวทางการเตรียมความพร้อมผู้ป่วย
1. มีการกำหนดปริมาณสารน้ำเพิ่มขึ้น 600 CC ต่อวัน ( Juan J.Figueroa,MD,Jeffrey R.Basford,MD,PhD,Phillip A.Low,MD.Preventing and treating orthostatic hypotension:As easy as A,B,C.,2010 May ; 77(5) )
2. มีการเพิ่มปริมาณ Cardiac input โดยการออกกำลังแบบเพิ่มความทนทานโดยให้แรงต้านน้อย จำนวนครั้งในการทำที่มาก ก่อนที่จะปรับไขเตียงนั่ง หรือลุกนั่งเองบนเตียง
3.การปรับระดับ Upright position โดยเริ่มไขเตียงจากระดับ 60 องศาจนนั่งเองบนเตียง เป็นระยะเวลานานอย่างน้อย 30-60 นาที      วันละ 3-5 รอบ หรืออาจจะร่วมกับมีการเพิ่มปริมาณ Cardiac input โดยการออกกำลังแบบเพิ่มความทนทานร่วมด้วย
4.การปรับเรื่องปริมาณอาหารต่อวัน ในรายที่ไม่ค่อยอยากอาหารจะแนะนำเป็นอาหารทดแทนที่ให้พลังงานทดแทนได้
5.ประเมินและจัดการอาการปวดโดยใช้ Cold หรือ Transcutaneous Electrical Stimulation (TENS ) หรือการปรับระดับความตึงของกล้ามเนื้อ Soft Tissue Release
การเริ่มฝึก Ambulation
1. มีการประเมิน Vital sign แรกรับ /หลังออกกำลัง /การเปลี่ยนท่าจากท่านอนเพื่อดูระดับความต่างของระดับความดันโลหิต และชีพจร
2.ประเมินการปรับตัวของระดับความดันโลหิตเมื่อเปลี่ยนท่าทางว่าสามารถปรับตัวได้หรือไม่
3.เพิ่มระดับการทำกิจกรรมโดยการออกกำลังกายส่วนรยางค์
4.ระดับความดันโลหิต และชีพจรอยู่ในระดับคงที่ ให้เริ่มฝึกยืนนาน 2 นาที ประเมินระดับความดัน หน้าซีด การตอบสนองพูดคุย เหงื่อออก
               - ถ้าผู้ป่วยสามารถยืนได้นานตั้งแต่ 2 นาทีขึ้นไป พิจารณาหัดเดินด้วยเครื่องช่วยเดิน
               -ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถยืนได้ ให้ปรับเป็นเคลื่อนไหวท่านั่ง กระตุ้นให้ปฏิบัติตามวิธีเตรียมความพร้อมก่อนานั่งอย่างเคร่งครัด
               - ภายใน 2 วันถ้าผู้ป่วยไม่สามารถ Ambulate ได้ ส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเจ้าของไข้
ผลลัพธ์
               ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่  1
               ผู้ป่วยชายไทยอายุ  34 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่า
                : Open Fracture Mid Shaft Humerus/ Radial Nreve Injury / Open Fracture Ulnar / Open                Fracture Both bone Rt Leg / Open Fx Lt Tibia
               : ผู้ป่วยไม่สามารถนั่งได้ แน่นหน้าอก อาเจียน หน้าซีด เป็นลม
               : ผลการดูแล
               -วันที่ 2   ของการรักษาปรับการรักษาจากแผนกกายภาพบำบัดเป็นให้การรักษาที่หอผู้ป่วย ผู้ป่วยสามารถนั่งเหยียดขาบนเตียงได้ มีอาการแน่นท้องเล็กน้อย แต่ยังไม่สามารถนั่งห้อยขาข้างเตียงได้
               -วันที่ 3 ของการรักษา ผู้ป่วยสามารถลุกนั่งได้เองและเปลี่ยนท่าจากนั่งเหยียดขาเป็นนั่งห้อยขาข้างเตียงได้
               : ระดับความสามารถในการ Ambulate
               - ผู้ป่วยสามารถลุกนั่งได้ทำกิจวัตรประจำวันบนเตียงได้สามารถกลับบ้านได้ภายใน 14 วันหลังผ่าตัด

               ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 2       
               ผู้ป่วยชายไทยอายุ  25  ปี ได้รับการวินิจฉัยว่า
               Fx. Distal Femur /Fx Clavicle / Mild Head injury
               : ผู้ป่วยมาด้วยภาวะหลับต้องกระตุ้นให้ตื่น มีภาวะจำกัดการเคลื่อนไหวต้นขาและไหล่ข้างที่บาดเจ็บมาก
               ไม่สามารถเปลี่ยนท่าทางและลุกนั่งได้
               : ผลการดูแล
               -วันที่ 2   ของการรักษาผู้ป่วยยังมีภาวะหลับมากอยู่สามารถไขเตียงปรับระดับได้ 75 องศา ยังมีภาวะจำกัดการเคลื่อนไหวค่อนข้างมาก
               -วันที่ 3 ของการรักษา ผู้ป่วยสามารถงอข้อเข่าได้ 75 องศา อาการมึนศีรษะลดลง ตื่นมากขึ้นเป็นนั่งห้อยขาข้างเตียงได้
               - ผู้ป่วยสามารถนั่งในวันที่ 4 หลังส่งปรึกษาทางกายภาพบำบัด และสามารถเริ่มยืนได้ในวันถัดไป
               : ระดับความสามารถในการ Ambulate
               - ผู้ป่วยสามารถ Ambulate ได้ภายใน 8 วันหลังผ่าตัด สามารถเดินด้วยเครื่องช่วยเดินชนิดสี่ขา ( Walker )
การนำไปใช้งานในปัจจุบัน
            1.สามารถนำมาแนวทางการประเมินป้องกันภาวะแทรกซ้อนขณะฝึก Ambulation
               2. นำมากำหนดแนวทางการคัดกรองปัญหาเพื่อส่งปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ถ้าอาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้น
               3. มีแนวทางดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฝึกยืน เดิน   ที่เป็นแนวทางเดียวกัน
บทเรียนที่ได้รับ/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
               จากปัญหาภาวะแทรกซ้อนหลังจากส่งฟื้นฟูด้านการ Ambulate ที่เกิดจากพยาธิสภาพและการบาดเจ็บของตัวโรค ทำให้เกิดปัญหาจำกัดด้านการฟื้นฟูสภาพเพื่อเตรียมผู้ป่วยยืน เดิน และ D/C ออกจากโรงพยาบาล ทำให้ทีมกายภาพบำบัดทบทวนสาเหตุและปัจจัยที่เป็นกลไกทำให้เกิดขึ้น ทำให้สามารถกำหนดแนวทางการดูแลฟื้นฟูสภาพและแนวทางที่จะต้องส่งปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ถ้าอาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้นให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและการฟื้นฟูเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาเดินอีกครั้งในภาวะจำกัดการเคลื่อนไหว

ผลการส่งเสริมสุขภาพเพื่อปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอพระพุทธบาท ปี2560


ผลการส่งเสริมสุขภาพเพื่อปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอพระพุทธบาท ปี2560
The Result of Health Promotion in order to Improve Food Consuming Behavior of Middle School Students at Opportunity Expansion School in Phra Phutthabat District
วรรณพร  สุขสุวรรณ์
พวงผกา  คลายนาทร
บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในงานประจำ(R2R)แบบสำรวจ วัดผลก่อนและหลังการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่งในอำเภอพระพุทธบาท กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2 และ3 ทุกคน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารซึ่งอยู่ในแบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเองของนักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความ แตกต่างระหว่างพฤติกรรมบริโภคอาหารก่อนและหลัง การส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยสถิติ Paired- Sample T Test ผลการทดลองพบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารหลังการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีขึ้น กว่าก่อนการส่งเสริมพฤติกรรมเพียงเล็กน้อย อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.898)
          คำสำคัญ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา Abstract
This research is a survey research. The results were measure before and after the health promotion on food consuming behavior of secondary school students at an opportunity expansion school in Phra Phutthabat District. The samples are all Grade 7, 8 and 9 students. A food consuming behavior assessment form, which is in students’ self-health examination record book, was used as a tool in this study. Descriptive statistics was adopted for analyzing the differences between before and after the health promotion by pair sample test. The result shows that the food consuming behavior after the health promotion is slightly better than before the health promotion, which is not statistical significance. (p=0.898) 
Keywords: Food consuming behavior, Opportunity expansion school