วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Orthostatic Hypotension in Post operative Patient


               ภาวะ Orthostatic  Hypotension   คือ ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตต่ำลงเมื่อเปลี่ยนท่าทาง เช่นจากท่านอนเป็นท่านั่ง ท่านั่งเป็นท่ายืน  หรือการยกศีรษะขึ้นสูง โดยมีค่าความดันซีสโตลิคลดลง > 20 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าความดันไดแอสโตลิคลดลง> 10 มิลลิเมตรปรอท ทำให้มีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม รู้สึกเบาศีรษะหรือหนักๆศีรษะ ตาลาย/ตาพร่า ไม่มีสมาธิ คิดอะไรไม่ออก วิงเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่อยู่  และอาจเป็นลมหมดสติได้ โดยปัญหาเหล่านี้มักถูกระบุเป็นภาวะที่พบ แต่ไม่ได้มีการคำนึงถึงว่ามีปัญหามาจาก  การเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตต่ำลงเมื่อเปลี่ยนท่าทาง  โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อายุน้อยที่มีการบาดเจ็บมากกว่า 2 ตำแหน่งขึ้นไป หรือ มีการบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อร่วมกับบาดเจ็บช่องท้องหรือบาดเจ็บทางสมอง  ผู้ป่วยจะได้รับการจัดการอาการบาดเจ็บและจะถูกส่งต่อเพื่อฟื้นฟูสภาพเรื่องการเคลื่อนไหว ยืน เดิน เมื่อผู้ป่วยถูกส่งปรึกษาทางกายภาพบำบัด ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความพร้อมของโครงสร้างร่างกาย การเคลื่อนไหวของข้อต่อ และการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม โดยขณะฝึกยืน เดิน ถ้าผู้ป่วยมีภาวะผิดปกติก็จะได้รับการแก้ไขตามอาการโดยไม่ได้คำนึงพยาธิสภาพและภาวะแทรกซ้อนที่เป็นผลจากการบาดเจ็บ ดังนั้นทีมจึงได้ทบทวนปัญหาภาวะแทรกซ้อนขณะฝึก Ambulation ขึ้นเพื่อนำมากำหนดแนวทางการประเมินสภาวะและการจัดการภาวะผู้ป่วยว่าเหมาะสมที่จะฝึก Ambulation หรือไม่
ปัญหาและอุบัติการณ์
ผู้ป่วยเป็นลมขณะทำการรักษาทางกายภาพบำบัดจำนวน 3 ราย  ขณะฝึกยืน เตรียมฝึกเดินโดยเครื่องช่วยเดิน อายุ 17-20 ปี พบว่าระดับความดันโลหิตขณะแรกรับและขณะฝึกยืนมีการเปลี่ยนแปลงลดต่ำลง ( systolic BP drop >30 และ diastolic BP drop >10 )  ชีพจรเพิ่มขึ้นจากขณะพัก 30 bpm จากการทบทวนประวัติพบว่า
- DX  :   Multiple trauma with  Mild Head injury
- CC: ทานอาหารและน้ำได้น้อย ถูกกระตุ้นให้ลุกนั่งแต่นั่งได้ไม่นาน ระดับอาการปวดแผลอยู่ที่  ( VAS ) 7- 10
-Consult PT for  Ambulation /Relieve Pain /Stretching
- ผู้ป่วยสามารถเดินได้แบบ Minimum to Moderate Assistance
ซึ่งทีมได้ตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตขณะเปลี่ยนท่าทางที่เป็นผลจากการได้รับบาดเจ็บ การสูญเสียเลือด ภาวะ Dehydration  จึงได้นำมาเป็นแนวทางดูแลผู้ป่วยที่ต้องฝึก Ambulation
แนวทางการดูแลผู้ป่วย
1. ประเมินปัญหาความรุนแรงของผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่ ศีรษะ
2. ประเมินภาวะซีด การให้เลือด การให้สารละลายทางเส้นเลือด
3. ประเมินระดับอาการว่าสามารถรับผู้ป่วยลงฝึกที่แผนกได้หรือไม่

แนวทางการเตรียมความพร้อมผู้ป่วย
1. มีการกำหนดปริมาณสารน้ำเพิ่มขึ้น 600 CC ต่อวัน ( Juan J.Figueroa,MD,Jeffrey R.Basford,MD,PhD,Phillip A.Low,MD.Preventing and treating orthostatic hypotension:As easy as A,B,C.,2010 May ; 77(5) )
2. มีการเพิ่มปริมาณ Cardiac input โดยการออกกำลังแบบเพิ่มความทนทานโดยให้แรงต้านน้อย จำนวนครั้งในการทำที่มาก ก่อนที่จะปรับไขเตียงนั่ง หรือลุกนั่งเองบนเตียง
3.การปรับระดับ Upright position โดยเริ่มไขเตียงจากระดับ 60 องศาจนนั่งเองบนเตียง เป็นระยะเวลานานอย่างน้อย 30-60 นาที      วันละ 3-5 รอบ หรืออาจจะร่วมกับมีการเพิ่มปริมาณ Cardiac input โดยการออกกำลังแบบเพิ่มความทนทานร่วมด้วย
4.การปรับเรื่องปริมาณอาหารต่อวัน ในรายที่ไม่ค่อยอยากอาหารจะแนะนำเป็นอาหารทดแทนที่ให้พลังงานทดแทนได้
5.ประเมินและจัดการอาการปวดโดยใช้ Cold หรือ Transcutaneous Electrical Stimulation (TENS ) หรือการปรับระดับความตึงของกล้ามเนื้อ Soft Tissue Release
การเริ่มฝึก Ambulation
1. มีการประเมิน Vital sign แรกรับ /หลังออกกำลัง /การเปลี่ยนท่าจากท่านอนเพื่อดูระดับความต่างของระดับความดันโลหิต และชีพจร
2.ประเมินการปรับตัวของระดับความดันโลหิตเมื่อเปลี่ยนท่าทางว่าสามารถปรับตัวได้หรือไม่
3.เพิ่มระดับการทำกิจกรรมโดยการออกกำลังกายส่วนรยางค์
4.ระดับความดันโลหิต และชีพจรอยู่ในระดับคงที่ ให้เริ่มฝึกยืนนาน 2 นาที ประเมินระดับความดัน หน้าซีด การตอบสนองพูดคุย เหงื่อออก
               - ถ้าผู้ป่วยสามารถยืนได้นานตั้งแต่ 2 นาทีขึ้นไป พิจารณาหัดเดินด้วยเครื่องช่วยเดิน
               -ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถยืนได้ ให้ปรับเป็นเคลื่อนไหวท่านั่ง กระตุ้นให้ปฏิบัติตามวิธีเตรียมความพร้อมก่อนานั่งอย่างเคร่งครัด
               - ภายใน 2 วันถ้าผู้ป่วยไม่สามารถ Ambulate ได้ ส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเจ้าของไข้
ผลลัพธ์
               ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่  1
               ผู้ป่วยชายไทยอายุ  34 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่า
                : Open Fracture Mid Shaft Humerus/ Radial Nreve Injury / Open Fracture Ulnar / Open                Fracture Both bone Rt Leg / Open Fx Lt Tibia
               : ผู้ป่วยไม่สามารถนั่งได้ แน่นหน้าอก อาเจียน หน้าซีด เป็นลม
               : ผลการดูแล
               -วันที่ 2   ของการรักษาปรับการรักษาจากแผนกกายภาพบำบัดเป็นให้การรักษาที่หอผู้ป่วย ผู้ป่วยสามารถนั่งเหยียดขาบนเตียงได้ มีอาการแน่นท้องเล็กน้อย แต่ยังไม่สามารถนั่งห้อยขาข้างเตียงได้
               -วันที่ 3 ของการรักษา ผู้ป่วยสามารถลุกนั่งได้เองและเปลี่ยนท่าจากนั่งเหยียดขาเป็นนั่งห้อยขาข้างเตียงได้
               : ระดับความสามารถในการ Ambulate
               - ผู้ป่วยสามารถลุกนั่งได้ทำกิจวัตรประจำวันบนเตียงได้สามารถกลับบ้านได้ภายใน 14 วันหลังผ่าตัด

               ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 2       
               ผู้ป่วยชายไทยอายุ  25  ปี ได้รับการวินิจฉัยว่า
               Fx. Distal Femur /Fx Clavicle / Mild Head injury
               : ผู้ป่วยมาด้วยภาวะหลับต้องกระตุ้นให้ตื่น มีภาวะจำกัดการเคลื่อนไหวต้นขาและไหล่ข้างที่บาดเจ็บมาก
               ไม่สามารถเปลี่ยนท่าทางและลุกนั่งได้
               : ผลการดูแล
               -วันที่ 2   ของการรักษาผู้ป่วยยังมีภาวะหลับมากอยู่สามารถไขเตียงปรับระดับได้ 75 องศา ยังมีภาวะจำกัดการเคลื่อนไหวค่อนข้างมาก
               -วันที่ 3 ของการรักษา ผู้ป่วยสามารถงอข้อเข่าได้ 75 องศา อาการมึนศีรษะลดลง ตื่นมากขึ้นเป็นนั่งห้อยขาข้างเตียงได้
               - ผู้ป่วยสามารถนั่งในวันที่ 4 หลังส่งปรึกษาทางกายภาพบำบัด และสามารถเริ่มยืนได้ในวันถัดไป
               : ระดับความสามารถในการ Ambulate
               - ผู้ป่วยสามารถ Ambulate ได้ภายใน 8 วันหลังผ่าตัด สามารถเดินด้วยเครื่องช่วยเดินชนิดสี่ขา ( Walker )
การนำไปใช้งานในปัจจุบัน
            1.สามารถนำมาแนวทางการประเมินป้องกันภาวะแทรกซ้อนขณะฝึก Ambulation
               2. นำมากำหนดแนวทางการคัดกรองปัญหาเพื่อส่งปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ถ้าอาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้น
               3. มีแนวทางดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฝึกยืน เดิน   ที่เป็นแนวทางเดียวกัน
บทเรียนที่ได้รับ/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
               จากปัญหาภาวะแทรกซ้อนหลังจากส่งฟื้นฟูด้านการ Ambulate ที่เกิดจากพยาธิสภาพและการบาดเจ็บของตัวโรค ทำให้เกิดปัญหาจำกัดด้านการฟื้นฟูสภาพเพื่อเตรียมผู้ป่วยยืน เดิน และ D/C ออกจากโรงพยาบาล ทำให้ทีมกายภาพบำบัดทบทวนสาเหตุและปัจจัยที่เป็นกลไกทำให้เกิดขึ้น ทำให้สามารถกำหนดแนวทางการดูแลฟื้นฟูสภาพและแนวทางที่จะต้องส่งปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ถ้าอาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้นให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและการฟื้นฟูเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาเดินอีกครั้งในภาวะจำกัดการเคลื่อนไหว

1 ความคิดเห็น: