วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562

จอภาพแสดงผลสำคัญไฉน ?


ชื่อ  จอภาพแสดงผลสำคัญไฉน ?
ชื่อองค์กร  โรงพยาบาลพระพุทธบาท (งานซ่อมบำรุง)
ปัญหาและสาเหตุ
           เนื่องจากเครื่องอัลตราซาวน์ของตึกหลังคลอ ที่ใช้สำหรับตรวจสแกนความผิดปกติหน้าท้อง และภายในช่องคลอด ไม่สามารถใช้งานได้ งานซ่อมบำรุงได้ตรวจสอบและประเมินพบหน้าจอภาพไม่แสดงผล  ได้แจ้งบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์เข้ามาประเมินซ่อมและแจ้งจอภาพเสียจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ ซึ่งเสนอราคาจอภาพเป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท
กิจกรรมการพัฒนา
           ทีมซ่อมบำรุงเห็นว่าบริษัทได้เสนอราคาสูงจนเกินไป จึงทำการตรวจสอบระบบภายใน ว่าสามารถแก้ไขได้หรือไม่
           จากการตรวจสอบพบว่า พอร์ต DVI รองรับสามารถนำจอ TV LED ที่มีพอร์ต DVI สามารถใช้งานได้จึงนำจอเก่ามาทดลองใช้งานและสามารถใช้งานได้ดี ได้ทำการดัดแปลงติดตั้งจอเข้ากับเครื่องอัลตราซาวน์
อุปกรณ์ที่นำมาติดตั้ง
           1. จอ TV LCD 16 นิ้ว นำเครื่องที่ไม่ได้ใช้งานมาติดตั้ง (ราคาจริง 4,000 บาท)
           2. สาย DVI นำสายที่ไม่ได้ใช้งานมาติดตั้ง (ราคาจริง 200 บาท)
           3. อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ผลประหยัด  
           บริษัทเสนอราคาจอภาพจำนวนเงิน 300,000 บาท
           งานซ่อมบำรุงไม่มีค่าใช้จ่ายนำของที่ไม่ได้ใช้งานมาประยุกต์และดัดแปลง
           ผลประหยัด 300,000 บาท
เป้าหมาย
           เพื่อลดค่าใช้ข่ายในการซ่อมและให้มีประสิทธิภาพในการใช้งาน
การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง
           จากการที่งานซ่อมบำรุงได้ทำการแก้ไข ได้มีการติดตามและประเมินการใช้งาน ไม่มีปัญหาในการใช้งานและผลตอบรับการใช้งานดีเยี่ยม
ปัจจัย
           เกิดจาก นายณรงค์  คงเจริญ ได้เห็นว่าบริษัทได้เสนอราคาสูงจนเกินไป จึงทำให้เกิดการค้นคว้าระบบการทำงานของเครื่องและท้าทายความสามารถในการซ่อมว่ามีอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานและยังใช้งานได้จึงนำมาเปลี่ยนได้
โอกาสพัฒนา
           ศึกษาและพัฒนาเรียนรู้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ  นำประสบการณ์เพื่อไปประยุกต์ใช้งานกับเครื่องมืออุปกรณ์อื่นๆและเพิ่มศักยภาพภาพทีมช่างของงานซ่อมบำรุง

ระบบแจ้งเตือนอุณหภูมิตู้เย็นด้วย SMS และ Line alert


ระบบแจ้งเตือนอุณหภูมิตู้เย็นด้วย SMS และ Line alert
ชื่อหน่วยงาน :  งานคลังเภสัชภัณฑ์
หลักการและเหตุผล  :  ปัจจัยเรื่องอุณหภูมิมีผลต่อคุณภาพของยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาแช่เย็น และวัคซีน ซึ่งไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และเสื่อมคุณภาพเมื่อเก็บที่อุณหภูมิไมเหมาะสม อาจก่อให้เกิดอาการไมพึงประสงค์  ไม่มีประสิทธิผล
ในการรักษา หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย โดยลักษณะของยา และวัคซีนที่เสื่อมคุณภาพเกิดขึ้นได้ใน
2 ลักษณะ คือ
1.การเสื่อมสภาพทางเคมี ได้แก่ การลดลงของปริมาณตัวยาสำคัญ และการเพิ่มขึ้นของสารสลายตัว
2.การเสื่อมสภาพทางกายภาพ ได้แก่ ความผิดปกติของรูปร่าง สี กลิ่น รสชาติ ความใสหรือขุ่น หรือการเกิดตะกอน                                                                                                            
           
ทั้งนี้เพื่อให้ยาและวัคซีนที่ได้ยังคงมีคุณภาพในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องจนถึงผู้รับบริการ  ทำให้ต้องมีระบบที่จะดูแลควบคุมคุณภาพของตู้เก็บวัคซีนให้ได้ตามอุณหภูมิที่กำหนดตลอดเวลา 24 ชั่วโมง  อีกทั้งตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาลที่กำหนดให้มีการจัดเก็บวัคซีนและเวชภัณฑ์ยา ในอุณหภูมิที่เหมาะสม ตลอดเวลาเพื่อคงคุณภาพ  โดยที่มูลค่าคงคลังของยาและเวชภัณฑ์โรงพยาบาลที่จัดเก็บประมาณ 1.6 ล้านบาท     ต่อเดือน   ดังนั้น กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระพุทธบาท จึงมีแนวคิดในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้สามารถเฝ้าระวังอุณหภูมิในตู้เย็นได้อย่างต่อเนื่อง และแก้ปัญหาได้ทันเวลาโดยการติดตั้งระบบชุดเฝ้าระวังอุณหภูมิในวัคซีนและยาแช่เย็นในคลังเภสัชภัณฑ์ พร้อมทั้งแสดงผลการเฝ้าระวังผ่านระบบ intranet ของโรงพยาบาล และระบบ  line alert
วัตถุประสงค์
1.     ควบคุมคุณภาพยาและวัคซีนให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและรักษาได้อย่างต่อเนื่องจนถึงผู้รับบริการตลอด 24 ชั่วโมง
2.     ป้องกันการสูญเสียของยาและวัคซีนที่เกิดจากการเสื่อมสภาพจากอุณหภูมิที่ไม่ได้มาตรฐาน
เป้าหมาย
-             ตู้แช่ยาและตู้เก็บวัคซีนในคลังยา จำนวน 4 ตู้
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
            กุมภาพันธ์ เมษายน 2562
วิธีการดำเนินงาน
1.     ศึกษาระบบควบคุมคุณภาพอุณหภูมิตลอดเวลา 24 ชั่วโมง  
2.     จัดซื้ออุปกรณ์พร้อมระบบโปรแกรม
3.     ติดตั้งระบบเฝ้าระวังเชื่อมต่อกับ intranet ของโรงพยาบาล
4.     ติดตั้งอุปกรณ์พร้อมทดสอบระบบควบคุมคุณภาพอุณหภูมิตู้เย็น
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.      อุณหภูมิตู้แช่วัคซีนและยาแช่เย็นอยู่ในช่วง 2 8 องศาเซลเซียส                ร้อยละ 100
2.      ยาเสื่อมคุณภาพจากอุณหภูมิสูงกว่า 2 8 องศาเซลเซียส                  ร้อยละ 0

 ผลการดำเนินงาน

หลังพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพอุณหภูมิตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงปัจจุบัน พบระบบแจ้งเตือนอุณหภูมิไม่อยู่ในช่วงที่กำหนด 3 ครั้งคือ
ครั้งที่ 1 : พบตู้เย็นอุณหภูมิ 9.8 องศาเซลเซียส โดยมีสาเหตุมาจากการปิดประตูไม่สนิท
              ระบบแจ้งเตือน ทำให้มาดำเนินแก้ไขได้ทัน
ครั้งที่ 2 : พบตู้เย็นอุณหภูมิ 10.8 องศาเซลเซียส โดยมีสาเหตุมาจากตู้เย็นขัดข้อง
              ทำให้สามารถประสานงานช่างมาดำเนินการซ่อมได้ก่อนที่ยาและวัคซีนจะเสื่อมคุณภาพ
ครั้งที่ 3 : พบอุณหภูมิห้องยา 28.3 องศาเซลเซียส โดยมีสาเหตุมีจากระบบปิด-เปิดเครื่องปรับอากาศ
              2 เครื่อง ไม่สันพันธ์กันทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ทำงาน 1-2 ชั่วโมงทำให้อุณหภูมิเลยช่วงที่
              กำหนด
 การนำไปใช้ในงานประจำ
มีระบบควบคุมคุณภาพอุณหภูมิตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อให้ยาและวัคซีนคงคุณภาพในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องจนถึงผู้รับบริการ 
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองการเภสัชกรรม
2. ความร่วมมือจาก IT โรงพยาบาลพระพุทธบาท
3. บุคลากรมีความสามารถในการเฝ้าระวังการควบคุมอุณหภูมิตู้เย็นอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ



การฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ และทักษะการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองที่บ้าน


การฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ และทักษะการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองที่บ้าน  

บทนำ
การเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นปัญหาหลักในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง พบได้ประมาณร้อยละ 15-35 ในจำนวนผู้ป่วยที่อยู่รักษาในโรงพยาบาลพบได้ประมาณ 1 ครั้งใน 24 เดือน (0.5 ครั้ง/คน/ปี) สำหรับการเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ของหน่วยโรคไตโรงพยาบาลพระพุทธบาทในปี พ.. 2558-2560 พบได้ 1 ครั้งใน 29.3 , 31.16 และ 28.05 เดือน ตามลำดับ การประเมินหาสาเหตุของการติดเชื้อในช่องท้อง โดยเฉพาะการประเมินเทคนิคของผู้ป่วย โดยการสอบถามประวัติการเปลี่ยนถ่ายน้ำยา ผู้ดูแลที่บ้าน สถานที่ที่ใช้ อุปกรณ์ต่างๆ และการประเมินสภาพทั่วๆไปของผู้ป่วยเกี่ยวกับท้องผูก ท้องเสีย และปัญหาเกี่ยวกับการติดเชื้อของแผล ช่องสายออก ระยะเวลาของการล้างไตทางช่องท้องที่นานกว่า 6 เดือน ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนอีกอย่างหนึ่งที่ต้องมีการประเมินผู้ป่วย การกำกับดูแลให้ผู้ป่วยรู้วิธีการรักษาตนเองที่บ้าน ทำการฝึกอบรมหรือสอนผู้ป่วยให้รู้จักดูแลตนเองในด้านต่างๆ ด้วยประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี 

วัตถุประสงค์      เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้และทักษะการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองที่บ้าน และ ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้และทักษะการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองที่บ้านต่อความพึงพอใจและการเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

วิธีการศึกษา      เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง ที่ว่า การติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องจากการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องเกิดจากพฤติกรรมการดูแลตนเองที่นำไปสู่การติดเชื้อ วิเคราะห์สาเหตุ จากการศึกษาพบว่ามีหลายสาเหตุที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สุขลักษณะ และลักษณะพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย  การดูแลหรือปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง  ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและพัฒนาโปรแกรมขึ้นจากแนวคิดการดูแลตนเอง Self-Care of patients who had Peritonitis from CAPD โดยความหมายของการดูแลตนเอง คือการทำกิจกรรมให้ดีที่สุดด้วยตนเอง  พัฒนาสื่อได้แก่ การพัฒนาภาพโปสเตอร์ประกอบ การให้ความรู้ทางทฤษฎีมีการปรับเนื้อหา จากเดิมเป็นรายละเอียดรูปเล่ม ซึ่งมีความหนา ลายละเอียดค่อนข้างมาก ยากต่อการศึกษาให้เข้าใจช่วงเวลาเรียนรู้ที่ค่อนข้างจำกัด    ปรับรูปแบบเป็น แผ่นภาพขนาดกระดาษ A 4 มี 2 หน้า และ แผ่นภาพโปสเตอร์ที่มีตัวอักษรและรูปภาพขนาดใหญ่ ภายในแผ่นภาพและโปสเตอร์มีรูปภาพเพิ่มสีสันสวยงาม และ เนื้อหาแสดงขั้นการล้างไตทางช่องท้องประกอบ ให้มีความกระชับ โดยคำนึงถึงความสามารถจดจำ ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบดำเนินการตรวจสอบ จำนวน 1 ท่าน  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ ผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องทั้งเพศชายและเพศหญิงอายุ 24-60 ปี ประกอบด้วยผู้ป่วยรายใหม่  รายเก่าที่ไม่เคยติดเชื้อ และกลุ่มผู้ป่วยเคยติดเชื้ออย่างน้อย 1 ครั้ง รวม 30 รายที่กำลังรักษาในโรงพยาบาลพระพุทธบาท
ระยะเวลาที่ดำเนินการ    เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2561 ถึง มกราคม 2562 รวม 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้ศึกษาได้กำหนดเครื่องมือยึดตามตัวแปรและแหล่งข้อมูล 

เครื่องมือที่นำมาใช้ในการศึกษา    คือ โปสเตอร์แสดงเนื้อหาเน้นขั้นตอนและทักษะเกี่ยวกับการล้างไตทางช่องท้องและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมล้างไตทางช่องท้อง

ผลการศึกษาพบว่า     ผลของโปรแกรมฝึกการอบรมเสริมสร้างความรู้ทักษะการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไตด้วยตนเองที่บ้านต่อความพึงพอใจและการเกิดเยื่อบุช่องอักเสบโดยมีระดับความคิดเห็นและประเมินความพึงพอใจ แบ่งหัวข้อการประเมินรายด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ 7 ข้อ ด้านทักษะ 6 ข้อ ด้านการสอน 5 ข้อ และด้านสื่อการสอน 7 ข้อ ผลการศึกษาระดับดีมาก  = 51.07  ระดับดี  = 40.27 ระดับพอใช้ = 8.40 ระดับน้อย = 0.26 ระดับต้องปรับปรุง = 0.00  และค่าเฉลี่ย X =4.41  S.D. =0.64 ในปี 2561 Peritonitis rate = 31.27 ในปี 2562 อยู่ระหว่างเก็บข้อมูล
           สรุป     การดำเนินการสอนเสริมทั้งผู้ป่วยใหม่ รายเก่าที่ไม่เคยติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องและ ผู้ป่วยเคยติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือในรายที่ประเมินแล้วมีเทคนิคไม่ถูกต้อง มาฝึกอบรมเสริมทักษะและศักยภาพตามโปรแกรม ให้มีความเข้าใจในหลักการการล้างไตทางช่องท้องเป็นอย่างดี รับรู้ถึงผลดี ผลเสีย ทำให้มีทักษะที่ดีในการดูแลตนเองได้ หรือถ้าผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้ก็ต้องมีผู้ดูแล (Care giver) ที่ดีเทคนิคการสร้างแรงจูงใจทำให้ความสามารถจดจำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติดีขึ้น ผู้ป่วยมีความสนใจและเอาใจใส่ตนเอง ที่สำคัญการมีพยาบาลที่เชี่ยวชาญและชำนาญการในเรื่องการล้างไตทางช่องท้องเป็นผู้ฝึกสอน และมีโปรแกรมในประเมินการฝึกสอนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายจึงจะทำให้การรักษาประสบความสำเร็จ มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ตามมา

ข้อเสนอแนะ/โอกาสพัฒนา
-            เก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนวันนอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการรักษา ขณะเกิดภาวะ
เยื่อบุช่องท้องอักเสบเพื่อประเมิน  cost effectiveness
           -    ควรมีการประเมินติดตามผลต่อเนื่องทุก 6 เดือน หลังฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้และทักษะการล้างไตทางช่องท้อง
-    เครือข่ายในเขตความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องเพิ่มขึ้นทั้งในโรงพยาบาลพระพุทธบาท ได้แก่ พัฒนาศักยภาพพยาบาลประจำหอผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วย CAPD และ APD ส่วนนอกโรงพยาบาล ได้แก่ อสม., รพ.สต, โรงพยาบาลชุมชน

นางสาวมาลี  มีแป้น  

นางสาวสมหมาย วงษ์กระสันต์  
นายกฤติเดช อินทร์นุช
โรงพยาบาลพระพุทธบาท จ.สระบุรี





ระบบง่ายๆด้วยข้อความเล็กๆ


ชื่อผลงาน ระบบง่ายๆด้วยข้อความเล็กๆ

ที่มาของปัญหา/หลักการและเหตุผล
จากปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเสี่ยงเกิดแผลไม่ได้รับการจัดการรองเท้าเบาหวาน เกิดจากขาด Flow เชื่อมต่อระหว่างทีมคัดกรองเท้าเบาหวาน ทีมห้องตรวจในการประเมินและนัดหมายดูแลและทีมคลินิกรองเท้า ดังนั้นงานกายภาพบำบัดได้สร้างแนวทางการรายงานการคัดกรองเท้าเบาหวานเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามแนวทางการจัดการผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงแผลเท้าเบาหวานขึ้นเพื่อให้เกิดการดูแลร่วมกันระหว่างรักษา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อรายงานผลการตรวจเท้าเบาหวานแก่ทีมผู้ดูแล
2.เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลสูงมาก

วิธีดำเนินการ หรือ วิธีการศึกษา
1. ทบทวนปัญหาผู้ป่วยไม่ได้เข้าถึงบริการตัดรองเท้าเบาหวาน
2. ทบทวนมาตรฐานการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยในใบต่อตรวจโรครายงานผลเท้าเบาหวาน
3. วางแผนกำหนดแนวทางและเครื่องมือในการรายงานผลผู้ป่วย
4. เริ่มปฏิบัติ พฤศจิกายน 2561 และติดตามผลภายหลัง 6 เดือน
ผลลัพธ์/ ผลการดำเนินการ หรือผลการศึกษาวิจัย
จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงเกิดแผลเท้าเบาหวานตั้งแต่ พฤศจิกายน 2561 – กรกฎาคม 2562 จำนวน 1438 ราย ได้ผลการคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง (ระดับ 2 ) และกลุ่มสูงมาก (ระดับ 3 ) จำนวน 98 ราย ได้รับการออกบัตรนัดส่งคลินิกเท้าจำนวน 60 รายคิดเป็นร้อยละ 61.22 จำนวนผู้ป่วยที่เข้าตรวจที่คลินิกเท้า 33 ราย ได้รับการตัดรองเท้า 27 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.81
 จากการติดตามปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พบปัญหาขั้นตอนในการปฏิบัติมีความยุ่งยากต้องบันทึกผลด้วยมือและต้องติดแนบกระดาษเพื่อแจ้งออกบัตรนัดห้องรองเท้าทำให้การปฏิบัติไม่เป็นในแนวทางเดียวกัน จึงได้ปรับแนวทางที่ง่ายต่อการปฏิบัติขึ้นโดยทีมกายภาพบำบัดจึงได้ออกแบบตรายางรายงานผลตรวจเท้าเบาหวานเพื่อให้สะดวกต่อการปฏิบัติ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ มิถุนายน 2562


การนำไปใช้ในงานประจำ
สามารถสร้างระบบส่งต่อผู้ป่วยเท้าเบาหวานกลุ่มเสี่ยงสูงมากให้ได้รับการตัดรองเท้าเบาหวาน

บทเรียนที่ได้รับ/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
การดูแลผู้ป่วยองค์รวมต้องอาศัยการดูแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพ ช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วย สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อการตัดเท้าจากแผลเบาหวาน