วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565

การประสานงานเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียน


ชื่อโครงการ   การประสานงานเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียน

หน่วยงาน: กลุ่มงานทัตนกรรม โรงพยาบาลพระพุทธบาท

กระบวนการที่ปรับปรุง :  กระบวนการส่งหนังสือเพื่อประสานงานเฝ้าระวังกับโรงเรียน

ชื่อผู้ทำโครงการ : น.ส.รวินท์นิภา ซื่อสัตย์  

ทีมงาน  น.ส.มาลี  จันทร์ลำภู , น.ส.เยาวลักษณ์  ใจเกษม

ก่อนการปรับปรุง (ปัญหาที่พบ)

เดิม กลุ่มงานทันตกรรมจะออกหนังสือแจ้งโรงเรียนในงานส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพส่งถึงผู้อำนวยการโรงเรียนทุกโรงเรียน (7 โรงเรียน) และทันตบุคลากรจะนำส่งหนังสือโดยขอรถโรงพยาบาลซึ่งในงานส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพการปฏิบัติงานมีช่วงเวลาต่างกันในแต่ละระดับชั้นจึงต้องออกหนังสือหลายครั้ง        


              

ปัญหาที่พบ

1.สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย (วัสดุสิ่งพิมพ์,น้ำมันรถ)

2.เสียทรัพยากรบุคคล (ทันตบุคลากรนำส่ง,พนักงานขับรถ)

หลังการปรับปรุง (วิธีการและผลที่ได้)

ประสานงานกับผู้อำนวยการโรงเรียน และครูอนามัย เพื่อตั้งกลุ่มไลน์ สำหรับประสานงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียน โดยการสแกนหนังสือและแนบไฟล์เอกสาร เพื่อให้ครูอนามัยแชร์ข้อมูลให้ครูประจำชั้นผู้เกี่ยวข้องรับทราบ และสามารถพิมพ์หนังสือเพื่อเสนอผู้อำนวยการโรงเรียนได้สะดวก  อีกทั้งยังามารถประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านทันตสุขภาพให้ทางโรงเรียนรับทราบข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว  



ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ลดค่าใช้จ่าย (วัสดุสิ่งพิมพ์,น้ำมันรถ) 

2. สามารถส่งหนังสือแจ้งโรงเรียนได้สะดวกรวดเร็ว


ลดอาหารเหลือจาก Ward

 ชื่อโครงการ:  ลดอาหารเหลือจาก Ward

หน่วยงาน :  โภชนาการ โรงพยาบาลพระพุทธบาท

กระบวนการที่ทำการปรับปรุง : การโทรประสานผู้ป่วยกลับบ้าน เพื่อลดอาหารเหลือจาก Ward

ชื่อผู้ทำโครงการ : นางสาวพัชราภรณ์  คูเลิศ  

ทีมงาน : 1.นาง ภาวนา มาลา 2.นางนิภา แท่นทอง 3..นางศรีนวล จั่นจำรูญ 4.. วรวิทย์  ข่มจิตร์

ก่อนการปรับปรุง (ปัญหาที่พบ)



เนื่องจากอาหารที่นำขึ้นไปบริการผู้ป่วยในมื้อเช้า มื้อเที่ยง มื้อเย็นในแต่ละวันพบว่ามีผู้ป่วยกลับบ้านในมื้อเย็นแต่ไม่ได้มีการยกเลิกอาหารทำให้อาหารต้องเททิ้งจำนวนเฉลี่ย 20 ถาด/วัน

หลังการปรับปรุง (วิธีการและผลที่ได้)

1.ประสานงานกับหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล หัวหน้าตึกเพื่อหาแนวทางแก้ไขดังนี้                 

ให้แจ้งผู้ป่วยที่ D/C หรือผู้ป่วยรับใหม่ก่อนเวลา บริการอาหาร คือ

  ช่วงเวลา 06.00 – 07.00 น.ในมื้อเช้า

  ช่วงเวลา 10.30-11.20 น.ในมื้อเที่ยง

  ช่วงเวลา 15.00-16.20 น.ในมื้อเย็น

กรณีทราบก่อนเวลาที่กำหนด สามารถโทรแจ้งได้เลย  เบอร์ 3002 ,3001 ฝ่ายโภชนาการ

 2. โทรสอบถามตึกที่มียอดอาหารเหลือสูงสุดจำนวน 3 ตึก ได้แก่ อช,อญ,ศญ เวลา 15.00 น.



ประโยชน์ที่ได้

1.ลดอาหารที่ต้องเททิ้งต่อวันจากเฉลี่ย 20 ถาด/วัน ลดเหลือ จำนวนเฉลี่ย 6 ถาดต่อวัน ในเวลา 6เดือนตค.62-มีค.63

 2.สามารถลดค่าใช้จ่ายดังนี้ จำนวนอาหารถาดเหลือเฉลี่ยต่อวันก่อนทำเท่ากับ 20 ถาด*65 บาท =1,300 บาท/วัน

         จำนวนอาหารถาดเหลือเฉลี่ยต่อเดือนก่อนทำเท่ากับ 632*65= 41,080 บาท/เดือน

         จำนวนอาหารถาดเหลือเฉลี่ยต่อวันหลังทำเท่ากับ 5ถาด*65= 325 บาท/วัน

         จำนวนอาหารถาดเหลือเฉลี่ยต่อเดือนหลังทำเท่ากับ 158*65 บาท =10,270บาท/เดือน  สามารถลดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวัน เท่ากับ 975 บาท/วันและลดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 30,810 บาท


พัฒนาปรับปรุงระบบยา STOCK WARD และ EMERGENCY BOX

ชื่อโครงการ:  พัฒนาปรับปรุงระบบยา STOCK  WARD   และ  EMERGENCY BOX

หน่วยงาน :  ห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน  IPD โรงพยาบาลพระพุทธบาท

กระบวนการที่ทำการปรับปรุง : จัดระบบยา STOCK  WARDและ  EMERGENCY BOX

ชื่อผู้ทำโครงการ : เบญจวรรณ  แก้วอนันต์  /  อรวรรณ  คำยันต์

ก่อนการปรับปรุง (ปัญหาที่พบ)

-  ตรวจสอบรายการยาพบว่ามียาหมดอายุจำนวนหลายรายการ

-  ตรวจสอบรายการยา พบว่า มียาที่ไม่ใช่รายการ ยา  STOCK  WARD อยู่หลายรายการ

-  ไม่มีการตรวจสอบรายการยาประจำ ward ทุกเดือน

- ตรวจสอบ พบว่า  ยาหลายรายการไม่ตรงตามจำนวนรายการที่ได้ระบุไว้

-  กล่อง EMERGENCY  BOX  ขนย้ายไม่สะดวกเวลาใช้งาน

การแก้ไขปัญหา

-  จัดทำกล่อง  EMERGENCY  BOX และสำรวจรายการยา   STOCK  WARD โดยมีระบบการเช็คยาเพื่อดูวันหมดอายุในคอมพิวเตอร์ เพื่อสะดวกต่อการดูข้อมูลดูวันหมดอายุของรายการยาทุกตัว

-  การแลกเปลี่ยนยา STOCK  WARD และ EMERGENCY  BOX  ขั้นตอนคือ คีย์ยาใน ANของผู้ป่วยที่ได้มีการเปิดใช้ยาหลังจากนั้นเมื่อได้ยามาแล้ว ห้องยาในได้ทำใบกระดาษแนบสีเหลือง  ( เขียนว่า "ยานี้สำหรับใช้คืน  STOCK  WARD " )

เพื่อเป็นสิ่งที่ให้  WARD รับทราบว่าให้นำยานี้ไปคืนใน  STOCK  WARD ของตนเอง

-  เภสัชกร และ เจ้าพนักงานเภสัชกรรม ทำการลงวันหมดอายุของรายการยา  STOCK  WARD ในคอมพิวเตอร์  เพื่อบันทึกข้อมูลยาที่ได้แลกเปลี่ยนไป





ประโยชน์ที่ได้

1.ทำงานร่วมกันเป็นทีม ในการพัฒนาระบบยาคืน STOCK WARD

2.สามารถตรวจสอบยาใกล้หมดอายุได้ทันถ่วงที

3.ลดภาระงานในการตรวจสอบยาหมดอายุบน ward แต่จะมีการสุ่มตรวจรายการยา stock ward

การให้เลือดที่ปลอดภัย

ชื่อโปรเจค: การให้เลือดที่ปลอดภัย

หน่วยงาน: อายุรกรรม3 

กระบวนการที่ปรับปรุง :  การให้เลือด

ชื่อผู้ทำโปรเจค : ขนิษฐา อ่างแก้ว  

ก่อนการปรับปรุง (ปัญหาที่พบ)

จากข้อมูล ปี 2562 หอผู้ป่วยอ.3 มีการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด  จำนวน2-3 ราย /วัน กระบวนการ การจัดเตรียมและส่งเลือด รวมถึงการให้เลือดที่ผ่านมา พบว่า มีความเสี่ยงการให้เลือดผิดหมู่ ผิดคนเนื่องจาก      

1.หลังจาก ธนาคาร เตรียมเลือดพร้อมส่งให้ หอผู้ป่วย หอผู้ป่วยต้องส่งใบเบิกเลือดให้กับ ธนาคารเลือด พบว่า หลังหอผู้ป่วย ส่งใบเบิกเลือดให้ธนาคารเลือด ธนาคารเลือดส่งเลือดมาให้  พยาบาลผู้ดูแลคนไข้ ต้องเปิดกระสวยส่งเลือดดูทุกครั้งว่า เป็นเลือดของผู้ป่วยรายใด ใช้เวลาเฉลี่ย 1-2นาที/ครั้ง                           2.กระสวยที่ส่งเลือดมา เป็นกระสวยที่ใช้ร่วมกัน ระหว่างหอผู้ป่วยอายุร กรรม 2,3,4 และห้องไตเทียม กระสวยใส่เลือดเป็นกระสวยที่ไม่มีการบ่งชี้ว่าเป็นกระสวยส่งเลือดของหน่วยงานใด เมื่อธนาคารเลือดส่งเลือดมา ต้องเปิดดูทุกครั้งว่าเป็นเลือดของหอผู้ป่วยอะไร   ใช้เวลาเฉลี่ย 1-2นาที/ครั้ง                                  3.กระบวนการ double check หลังรับเลือดจากธนาคารเลือด ก่อนให้กับผู้ป่วย เป็นการตรวจสอบต่างคนต่างตรวจสอบเลือดถุงเดียวกัน คนละครั้ง ใช้เวลาเฉลี่ย 1-2นาที/ครั้ง  ซึ่งอาจเกิดข้อผิดพลาดได้                       



wast ; Excess Processing

หลังการปรับปรุง (วิธีการและผลที่ได้)

1.หลังจาก ธนาคารเลือด ประสานงานให้  หอผู้ป่วยส่งใบเบิกเลือด จากเดิมมีใบเบิกเลือดเฉพาะใบที่ส่งไปให้ธนาคารเลือด ปรับเป็นเพิ่มใบ ก็อปปี้ไว้ที่หน่วยงาน 1 ใบ ตัวจริงส่งธนาคารเลือด ใบก็อปปี้ เก็บไว้ที่หอผู้ป่วย สำหรับตรวจสอบว่ามีการเบิกเลือดของผู้ป่วยรายใด เมื่อมีเลือดส่งมา จะได้ทราบ ไม่ต้องเปิดกระสวยส่งเลือดดูทุกครั้งที่ส่งเลือดมา พยาบาลที่รับผิดชอบผู้ป่วยที่ต้องให้เลือด สามารถตรวจสอบจากใบก็อปปี้ เบื้องต้นได้                                 

2.ประสานธนาคารเลือด ระบุกระสวยให้เฉพาะเจาะจงว่า เป็นกระสวยส่งเลือดของหอผู้ป่วยใด เมื่อธนาคารเลือดส่งเลือดมาให้ หอผู้ป่วยที่ต้องใช้เลือดจะทราบว่าเลือดที่ส่งมาเป็นของหอผู้ป่วยอะไร โดยดูจากกระสวยเลือดที่ระบุไว้ ไม่ต้องเปิดกระสวยดูทุกครั้ง                                                                     


3.ปรับการ double check หลังธนาคารเลือดส่งเลือดมาให้ ก่อนให้กับผู้ป่วย เป็นการตรวจสอบพร้อมกัน โดยพยาบาลคนที่1 ตรวจสอบใบเบิกเลือด พยาบาลคนที่2ตรวจสอบถุงให้เลือด โดยการขานสิ่งที่จะตรวจสอบตามที่กำหนด ว่าถูกต้อง/ตรงกันหรือไม่



Benefit

 ผู้ป่วยปลอดภัยจากการได้รับเลือด (เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน พย.2562 - เม.ย.2563 มีผู้ป่วยใช้เลือดทั้งหมด 192 ยูนิต เฉลี่ย 32 ยูนิต/เดือน อุบัติการณ์การให้เลือดผิดหมู่ ผิดคน = 0)  

 ลดระยะเวลาในการตรวจสอบแต่ละกระบวนการเฉลี่ย 5 นาที/ครั้ง 

เดือน พย.2562 - เม.ย.2563 มีผู้ป่วยใช้เลือดทั้งหมด 192 ยูนิต เฉลี่ย 32 ยูนิต/เดือน 

สามารถลดระยะเวลาทำงานของพยาบาลได้ 160 นาที = 2.30 ชม./เดือน คิดเป็น 28 ชม./ปี เป็นเงิน   2100 บาท/ปี (75 บาท/ชม.)