วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

แนวปฏิบัติการพยาบาลในการทำแผลแบบสูญญากาศ


ชื่อโครงการ

แนวปฏิบัติการพยาบาลในการทำแผลแบบสูญญากาศ 

ในผู้ป่วยแผลเท้าเบาหวานชนิดปลายประสาทเสื่อม 

โดย  หอผู้ป่วยศัลยกรรม 3 โรงพยาบาลพระพุทธบาท


ที่มาของปัญหา/หลักการและเหตุผล
                เนื่องจากในหอผู้ป่วยศัลยกรรม 3 เป็นหอผู้ป่วยที่รับผู้ป่วยที่มีแผลทั้งจากอุบัติเหตุและเนื้อหนังเน่า แผลเบาหวาน พบว่าแผลที่ดูแลยาก มีอัตราการหายชองแผลที่ช้าและมีอาการเจ็บปวดมาก คือ แผลที่มีขนาดใหญ่ ต้องได้รับความเจ็บปวดจากทำแผลวันละ 2 ครั้งหรือเมื่อมีการเปียกชุ่มของแผล การหายของบาดแผลที่ช้าลงอาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เพิ่มระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาล เพิ่มค่าใช้จ่าย สภาพจิตใจของผู้ป่วยจะได้รับผลกระทบไปด้วย การจัดการกับผู้ป่วยที่มีแผลนั้นมีแนวคิดที่มีความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของแผลให้หายอย่างมีประสิทธิภาพ คือ การเตรียมพื้นของแผล เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการหายของแผลตามปกติ การกำจัดเนื้อตาย (debridement )  ก็ไม่สามารถช่วยให้แผลหายได้อย่างเหมาะสม  ซึ่งวิธีทำให้แผลหายเร็วมีด้วยกันหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันจึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแผล และ สภาพของผู้ป่วยแต่ละคน ในปี 2553หอผู้ป่วยศัลยกรรม 3 มีผู้ป่วยที่เป็นแผลเบาหวานชนิดปลายประสาทเสื่อมและเนื้อหนังเน่า จำนวน 25 ราย พบว่าค่าใช้จ่ายบางราย 125,000บาท ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลมากกว่า 90 วันบางรายต้องตัดอวัยวะระดับนิ้วเท้าจนถึงเหนือเข่า ซึ่งนอกจากจะเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ และยังมีค่าใช้จ่ายของญาติในการเฝ้าไข้หรือเยี่ยม
          ดังนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดในการดูแลแผลผู้ป่วยดังกล่าวจะสามารถลดความเจ็บปวดทุกข์ทรมาณจากการทำแผล รวมถึงความคุ้มทุนในการรักษาของโรงพยาบาลรวมทั้งภาวะเศรษฐฐานะของครอบครัวของผู้ป่วย ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ป่วยในการดูแลแผลโดยการกำจัดเนื้อตาย สารขับหลั่ง ลดเชื้อแบคทีเรีย เตรียมพื้นแผลเพื่อส่งเสริมการหาย เพิ่มเลือดมาเลี้ยง และช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาความเจ็บปวดลง  โดยวิธีการทำแผลแบบสูญญากาศดังนั้นจึงได้ศึกษาและรวบรวมเพื่อทำเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลในการนำไปใช้ในการทำแผลผู้ป่วย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อทราบกลไกการทำงานของ การทำแผลแบบสูญญากาศ ในการส่งเสริมการหายของแผล
2.เพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำ การทำแผลแบบสูญญากาศ (Vacuum-Assisted Closure : VAC) ไปใช้ได้จริง

วิธีการดำเนินงานหรือวิธีการศึกษา
1.รวบรวมและวิเคราะห์สถานการณ์ของแผลเนื้อหนังเน่าและแผลเรื้อรังเบาหวานที่เท้าชนิดปลายประสาทเสื่อมและการทำแผลแบบสูญญกาศ
2. ศึกษาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการทำแผลที่เท้าเบาหวานและวิธีการทำแผลด้วยระบบสูญญกาศ
3 จัดทำขั้นตอนและวิธีการทำแผลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลแบบสูญญกาศดังนี้
                3.1 แผลเรื้อรังต้องผ่านการทำ surgical debridement และการติดเชื้อลดลง
                   3.2. ประเมินขนาดของแผล
3.3. ฟองน้ำชนิดความละเอียดของรูประมาน 400-600 .ผ่านการอบแก๊สนำมาตัดให้ขนาดพอดีกับขนาดของแผล
3.4.เจาะเปิดฟองน้ำเพื่อใส่สายNG tube เข้าไปประมาณ 2 ใน 3 ของฟองน้ำ
3.5. วางฟองน้ำลงบนแผลจัดให้พอดีกับขอบแผลหลังจากนั้น ปิดด้วยopsite flexifix
3.6. ต่อสายNG TUBE กับเครื่องดูดเปิดแรงดันที่ใช้ 90-125 มิลลิเมตรปรอท
3.7. เมื่อเปิดเครื่องsuction ตรวจสอบว่าสามารถดูดจนเป็นสูญญกาศโดยดูที่ฟองน้ำยุบตัวลงชิดกับเนื้อแผลอย่างดีเปิดให้ทำงานตลอดเวลาสามารถปิดได้ถ้าผู้ป่วยไปเข้าห้องน้ำห้ามให้เปียกน้ำ
3.8 . ประเมินแผลทุกวันที่ทำเพื่อจำนวนของสารคัดหลั่งถ้ามีมากจนชุ่มทั้ง แผ่นฟองน้ำให้เปลี่ยนแผลได้ถ้าไม่ชุ่มไว้ 2-3 วันประเมินอีกครั้งเพื่อเปลี่ยนdressing
3.9. เปลี่ยนแผลโดยการล้างด้วย NSS ให้ชุ่มล้างเศษฟองน้ำให้สะอาดวัดและประเมินแผลซ้ำเพื่อพิจารณวางแผนการทำการรักษาต่อ

 ผลลัพธ์/ผลดำเนินงาน
1.        ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจในการทำแผลด้วยวิธีดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 95
2.       ลดระยะการนอนโรงพยาบาลได้มากกว่า 10 วัน
3.       ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้มากขึ้น
4.      ลดความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานจากการทำแผล

ตารางเปรียบเทียบก่อน-หลังการศึกษา
ตัวชี้วัด
ปี 2553
N=25
ปี 2555
N=13
ปี 2556
N=18
ปี 2557
N=15
ความพึงพอใจในการทำแผลแบบสูญญกาศ (เจ้าหน้าที่และผู้ป่วย)
NA
85
90
95
ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล(เฉลี่ย)
101
48
36
27
ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล(เฉลี่ย)
125,000
65,000
50,000
23,500
ระดับความเจ็บปวดขณะทำแผล
10
3-5
3-5
3-5

การนำไปใช้ในงานประจำ
1.       สามารถนำไปทำแผลในผู้ป่วยที่ไม่ไช่แผลเบาหวาน
2.       ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่

บทเรียนที่ได้รับ

  1. ปัจจัยพื้นฐานที่ส่งเสริมการหายประกอบด้วย อายุ อาหาร ระดับน้ำตาลในเลือดและการดูแลตนเอง
  2. ห้ามใช้ในผู้ที่มีภาวะเลือดออก ห้ามใช้บนหลอดเลือด และผู้ที่มี enteric fistula ที่มีการระบายออกมา
  3. การทำแผลให้เป็นระบบปิดช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อ granulation เพิ่มangiogenesisให้สามารถงอกข้ามกระดูกและเส้นเอ็นได้ ช่วยให้ slough หลุดและ eschar อ่อนตัว และลดจำนวนเชื้อแบคทีเรีย
  1. ควรวางแผ่นฟองน้ำให้สัมผัสพื้นแผลเท่าแผลทุกส่วนและลอกแผ่นฟองน้ำออกหมดทุกครั้งที่เปลี่ยนแผลโดยปิดเครื่องดูดก่อนเพื่อป้องกันเนื้อแผลบาดเจ็บและมีเลือดออกมาก
  2. ใช้ได้ผลดีแต่มีปัญหาบ้างในเรื่องของการปรับขนาดแรงดันลบ ปรับได้ตั้งแต่ 90 -200 mmHg และเลือกทำได้ทั้ง 2 แบบ คือแบบที่เครื่องดูดทำงานตลอดเวลา(Continuous) และแบบทำงานสลับกับพัก  โดยทั่วไปใช้แรงดันลบ 125 mmHg เปลี่ยนแผลทุก 2 วัน ตั้งเครื่องให้ทำงานตลอดเวลา หรือทำงาน 5 นาที สลับพัก 2 นาที(เนื่องจากงานวิจัยพบว่าได้ผลดีที่สุด)

ประโยชน์ของการทำแผลแบบสุญญากาศ  
1. ลดการบวมของแผลและเนื้อเยื่อใกล้เคียง ทันทีที่เปิดเครื่องดูด 
2. เพิ่มปริมาณเลือดมาสู่แผล ผลจากแรงดูดระหว่างเนื้อเยื่อแผลกับแผ่นฟองน้ำทำให้เลือดไหลมาสู่ผล           
3.กระตุ้นการงอกใหม่ของเซลล์ แรงจากการยืด (mechanical stretching)
4. ลดแบคทีเรียในแผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น