วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ และทักษะการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองที่บ้าน


การฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ และทักษะการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองที่บ้าน  

บทนำ
การเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นปัญหาหลักในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง พบได้ประมาณร้อยละ 15-35 ในจำนวนผู้ป่วยที่อยู่รักษาในโรงพยาบาลพบได้ประมาณ 1 ครั้งใน 24 เดือน (0.5 ครั้ง/คน/ปี) สำหรับการเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ของหน่วยโรคไตโรงพยาบาลพระพุทธบาทในปี พ.. 2558-2560 พบได้ 1 ครั้งใน 29.3 , 31.16 และ 28.05 เดือน ตามลำดับ การประเมินหาสาเหตุของการติดเชื้อในช่องท้อง โดยเฉพาะการประเมินเทคนิคของผู้ป่วย โดยการสอบถามประวัติการเปลี่ยนถ่ายน้ำยา ผู้ดูแลที่บ้าน สถานที่ที่ใช้ อุปกรณ์ต่างๆ และการประเมินสภาพทั่วๆไปของผู้ป่วยเกี่ยวกับท้องผูก ท้องเสีย และปัญหาเกี่ยวกับการติดเชื้อของแผล ช่องสายออก ระยะเวลาของการล้างไตทางช่องท้องที่นานกว่า 6 เดือน ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนอีกอย่างหนึ่งที่ต้องมีการประเมินผู้ป่วย การกำกับดูแลให้ผู้ป่วยรู้วิธีการรักษาตนเองที่บ้าน ทำการฝึกอบรมหรือสอนผู้ป่วยให้รู้จักดูแลตนเองในด้านต่างๆ ด้วยประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี 

วัตถุประสงค์      เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้และทักษะการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองที่บ้าน และ ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้และทักษะการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองที่บ้านต่อความพึงพอใจและการเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

วิธีการศึกษา      เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง ที่ว่า การติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องจากการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องเกิดจากพฤติกรรมการดูแลตนเองที่นำไปสู่การติดเชื้อ วิเคราะห์สาเหตุ จากการศึกษาพบว่ามีหลายสาเหตุที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สุขลักษณะ และลักษณะพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย  การดูแลหรือปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง  ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและพัฒนาโปรแกรมขึ้นจากแนวคิดการดูแลตนเอง Self-Care of patients who had Peritonitis from CAPD โดยความหมายของการดูแลตนเอง คือการทำกิจกรรมให้ดีที่สุดด้วยตนเอง  พัฒนาสื่อได้แก่ การพัฒนาภาพโปสเตอร์ประกอบ การให้ความรู้ทางทฤษฎีมีการปรับเนื้อหา จากเดิมเป็นรายละเอียดรูปเล่ม ซึ่งมีความหนา ลายละเอียดค่อนข้างมาก ยากต่อการศึกษาให้เข้าใจช่วงเวลาเรียนรู้ที่ค่อนข้างจำกัด    ปรับรูปแบบเป็น แผ่นภาพขนาดกระดาษ A 4 มี 2 หน้า และ แผ่นภาพโปสเตอร์ที่มีตัวอักษรและรูปภาพขนาดใหญ่ ภายในแผ่นภาพและโปสเตอร์มีรูปภาพเพิ่มสีสันสวยงาม และ เนื้อหาแสดงขั้นการล้างไตทางช่องท้องประกอบ ให้มีความกระชับ โดยคำนึงถึงความสามารถจดจำ ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบดำเนินการตรวจสอบ จำนวน 1 ท่าน  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ ผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องทั้งเพศชายและเพศหญิงอายุ 24-60 ปี ประกอบด้วยผู้ป่วยรายใหม่  รายเก่าที่ไม่เคยติดเชื้อ และกลุ่มผู้ป่วยเคยติดเชื้ออย่างน้อย 1 ครั้ง รวม 30 รายที่กำลังรักษาในโรงพยาบาลพระพุทธบาท
ระยะเวลาที่ดำเนินการ    เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2561 ถึง มกราคม 2562 รวม 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้ศึกษาได้กำหนดเครื่องมือยึดตามตัวแปรและแหล่งข้อมูล 

เครื่องมือที่นำมาใช้ในการศึกษา    คือ โปสเตอร์แสดงเนื้อหาเน้นขั้นตอนและทักษะเกี่ยวกับการล้างไตทางช่องท้องและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมล้างไตทางช่องท้อง

ผลการศึกษาพบว่า     ผลของโปรแกรมฝึกการอบรมเสริมสร้างความรู้ทักษะการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไตด้วยตนเองที่บ้านต่อความพึงพอใจและการเกิดเยื่อบุช่องอักเสบโดยมีระดับความคิดเห็นและประเมินความพึงพอใจ แบ่งหัวข้อการประเมินรายด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ 7 ข้อ ด้านทักษะ 6 ข้อ ด้านการสอน 5 ข้อ และด้านสื่อการสอน 7 ข้อ ผลการศึกษาระดับดีมาก  = 51.07  ระดับดี  = 40.27 ระดับพอใช้ = 8.40 ระดับน้อย = 0.26 ระดับต้องปรับปรุง = 0.00  และค่าเฉลี่ย X =4.41  S.D. =0.64 ในปี 2561 Peritonitis rate = 31.27 ในปี 2562 อยู่ระหว่างเก็บข้อมูล
           สรุป     การดำเนินการสอนเสริมทั้งผู้ป่วยใหม่ รายเก่าที่ไม่เคยติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องและ ผู้ป่วยเคยติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือในรายที่ประเมินแล้วมีเทคนิคไม่ถูกต้อง มาฝึกอบรมเสริมทักษะและศักยภาพตามโปรแกรม ให้มีความเข้าใจในหลักการการล้างไตทางช่องท้องเป็นอย่างดี รับรู้ถึงผลดี ผลเสีย ทำให้มีทักษะที่ดีในการดูแลตนเองได้ หรือถ้าผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้ก็ต้องมีผู้ดูแล (Care giver) ที่ดีเทคนิคการสร้างแรงจูงใจทำให้ความสามารถจดจำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติดีขึ้น ผู้ป่วยมีความสนใจและเอาใจใส่ตนเอง ที่สำคัญการมีพยาบาลที่เชี่ยวชาญและชำนาญการในเรื่องการล้างไตทางช่องท้องเป็นผู้ฝึกสอน และมีโปรแกรมในประเมินการฝึกสอนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายจึงจะทำให้การรักษาประสบความสำเร็จ มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ตามมา

ข้อเสนอแนะ/โอกาสพัฒนา
-            เก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนวันนอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการรักษา ขณะเกิดภาวะ
เยื่อบุช่องท้องอักเสบเพื่อประเมิน  cost effectiveness
           -    ควรมีการประเมินติดตามผลต่อเนื่องทุก 6 เดือน หลังฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้และทักษะการล้างไตทางช่องท้อง
-    เครือข่ายในเขตความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องเพิ่มขึ้นทั้งในโรงพยาบาลพระพุทธบาท ได้แก่ พัฒนาศักยภาพพยาบาลประจำหอผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วย CAPD และ APD ส่วนนอกโรงพยาบาล ได้แก่ อสม., รพ.สต, โรงพยาบาลชุมชน

นางสาวมาลี  มีแป้น  

นางสาวสมหมาย วงษ์กระสันต์  
นายกฤติเดช อินทร์นุช
โรงพยาบาลพระพุทธบาท จ.สระบุรี





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น