วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

นวัตกรรมผ้าคลุม Photo 4 in 1





นวัตกรรมผ้าคลุม Photo  4 in 1

1. ที่มาของปัญหา
          ภาวะตัวเหลืองพบได้บ่อยในทารกแรกเกิด เกิดจากการมีระดับบิริรูบินเพิ่มขึ้นในกระแสเลือด จากสถิติตึกสูติ-นรีเวชกรรม ปี2554 อัตราภาวะทารกตัวเหลืองอยู่ที่ร้อยละ 3.3  การมีระดับบิริรูบินสูงมากๆ จะมีผลทำให้บิริรูบินเข้าสู่สมองทำให้สมองพิการได้ ซึ่งการรักษาที่ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะตัวเหลือง คือการส่องไฟ (photo therapy)  โดยให้ทารกนอนบน Clib และอยู่ใต้เครื่อง Photo โดยมีระยะห่างระหว่างเครื่อง Photo กับทารกประมาณ  30-40 เซนติเมตร ระยะขอบผ้าจากขอบล่างของเครื่อง Photo ที่มาตรฐาน 20 เซนติเมตร ทำให้มีประสิทธิภาพ และต้องส่องไฟตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ยกเว้นช่วงกินนมแม่หรืออาบน้ำ แต่พบว่าผ้าคลุมPhoto มักหลุดทำให้ระยะขอบผ้าไม่ได้มาตรฐาน  ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง  เจ้าหน้าที่ไม่สะดวกในการใช้งาน เนื่องจากใช้เวลานานในการคลุมผ้า เสียเวลาในการคลุมผ้าใหม่เมื่อเลื่อนหลุด  และช่วงเวลากลางคืนจะมีแมลงมาตอมแสงไฟ  ทำให้มารดาวิตกกังวลว่าแมลงจะมากัดหรือทำอันตรายทารก  และอาจทำให้เกิดภาวะทารกตัวเย็นได้เวลาอากาศหนาว ทางตึกสูติกรรมจึงนำปัญหา/อุปสรรคมาวิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไข  จึงได้ผ้าคลุม Photo  4 in 1 ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษา  ความสะดวกในการใช้  ประหยัดทรัพยากร  และสร้างความพึงพอใจแก่มารดาและเจ้าหน้าที่
2. วัตถุประสงค์
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการส่องไฟรักษา
          2. เพื่อความสะดวกของผู้ปฏิบัติงาน
          3. เพื่อความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ
3. วิธีการดำเนินงาน
1. ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น
        2. ร่วมกันคิดประดิษฐ์ ผ้าคลุมPhoto Comfort
          3. ทดลองใช้ และวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค
          4.นำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
          5. ประเมินผลงาน
4. ผลการดำเนินงานและการประเมินผล
          ปี 2553 ปัญหาและอุปสรรค 
ผ้าคลุม Photo เลื่อนหลุดบ่อย ทำให้ระยะขอบผ้ายาวไม่ได้มาตรฐาน  เนื่องจากพลาสเตอร์ติดไม่แน่นพอ  ทำให้เสียเวลาในการคลุมผ้าใหม่  ทำให้เสียเวลานานในการคลุมผ้า  สิ้นเปลืองพลาสเตอร์  และเครื่อง photo เป็นรอยติดพลาสเตอร์ ดังรูป 

จึงได้จัดทำผ้าคลุม  photo แบบใหม่ ดังรูป


การประเมินผลหลังการนำไปใช้ ในปี 2554
 
รายละเอียด
มาก
ปานกลาง
น้อย
ความสะดวกในการใช้ผ้าคลุม Photo
0
50%
50%
ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ในการใช้ผ้าคลุม Photo
0
50%
50%
 
ผลลัทธ์ยังไม่น่าพึงพอใจ นำมาวิเคราะห์พบปัญหาและอุปสรรค  ดังนี้
พบว่าผ้าคลุมยังมีการเลื่อนหลุดจากขอบ photo  มีช่องว่างระหว่างผ้าคลุม ทำให้ประสิทธิภาพการรักษาลดลง  และระยะเวลาในการคลุมผ้า ประมาณ 3-4 นาที

ปี 2555  จึงได้จัดทำผ้าคลุม  photo แบบใหม่ ดังรูป

การประเมินผลหลังการนำไปใช้ ในปี 2555

รายละเอียด
มาก
ปานกลาง
น้อย
ความสะดวกในการใช้ผ้าคลุม Photo
100%
0
0
ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ในการใช้ผ้าคลุม Photo
100%
0
0

พบการเลื่อนหลุดของผ้าคลุมน้อย  หรือถ้าเลื่อนหลุดมารดาก็สามารถคลุมผ้าได้เอง  และระยะเวลาในการคลุมผ้า เหลือเพียง 10 วินาที  แต่ยังพบปัญหาและอุปสรรค คือ  ในช่วงเวลากลางคืนจะมีแมลงมาตอมแสงไฟ  ทำให้มารดาวิตกกังวลว่าแมลงจะมากัดหรือทำอันตรายทารกจึงต้องคอยปัดแมลงเป็นระยะ  ทำให้ไม่ได้พักผ่อน  และพบทารกตัวเย็นขณะส่องไฟ เมื่ออุณหภูมิห้องต่ำ  ในเวลากลางคืน  หรือฤดูหนาว
ปี 2556 (1 ตค. – 10 พย. 55) จึงได้จัดทำผ้าคลุม  photo แบบใหม่ เพื่อป้องกันแมลง และป้องกันภาวะทารกตัวเย็น ดังรูป



การประเมินผลหลังนำไปใช้  6 case พบว่า
มารดาและครอบครัวมีความพึงพอใจในการใช้ผ้าคลุม Photo แบบปัจจุบัน  ดังตัวอย่าง
ลูกถอดเสื้อผ้าหมดกลัวลูกหนาว  แต่มีผ้าคลุมแบบนี้ก็ดีเหมือนมุ้ง เวลากลางคืนจะได้ไม่กังวล และกันแมลงด้วย ทำให้สบายใจ
เมื่อคืนไม่ได้ใช้ผ้าคลุมแบบนี้  แมลงมาตอมไฟเยอะมาก  ต้องคอยระวัง  นอนไม่ค่อยหลับเลย วันนี้มีแค่ตัวหรือสองตัวเอง ค่อยได้พักหน่อย
ดีค่ะ  แมลงเข้าไม่ได้ กลัวแมลงเข้าหูลูก
สรุปได้ว่า ผ้าคลุม Photo แบบปัจจุบัน มีคุณประโยชน์ คือ  สะดวกใช้  มีประสิทธิภาพ  ประหยัดทรัพยากร  สร้างความพึงพอใจ  ทางตึกสูติ-นรีเวช  จึงได้ตั้งชื่อ ผ้าคลุม Photo นี้ว่า  ผ้าคลุม Photo 4 in 1

5. การนำไปใช้ในงานประจำ
        นำผ้าคลุม Photo ใช้กับทารกที่ส่องไฟรักษา (Photo therapy) ทุกราย
6.  บทเรียนที่ได้รับ  
          นำปัญหาที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไข   ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษา  ความสะดวกในการใช้  ประหยัดทรัพยากร  และสร้างความพึงพอใจแก่มารดาและเจ้าหน้าที่



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น