การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วย
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลพระพุทธบาท
รุ่งฤดี พันธุ์ประเสริฐ , สร้อยเพ็ชร
ชัยรุ่งปัญญา
ภูมิหลัง
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)มีความรุนแรง เป็นสาเหตุการตายของประชากรทั่วโลกเป็นอันดับที่ 6 ในปี
ค.ศ.1990 และ เป็นอันดับที่ 5 ในปี ค.ศ. 2001 มีสาเหตุสำคัญ คือควันสูบบุหรี่ และควันจากการเผาไหม้
WHOประมาณการว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคนี้
ประมาณปีละ 3 ล้านคน และจะเป็นสาเหตุการตายอันดับ 4 ในปี ค.ศ. 2030 ในไทยมีผู้เสียชีวิต
ปีละ 15,000 คน สถิติผู้ป่วย COPD ที่มารับบริการในร.พ.พระพุทธบาทมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้น พบว่าในปี 2548 – 2550 และต.ค. .2550 – 30 มิ.ย.
2551 มีผู้ป่วย COPD มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกจำนวน 803,
1,307, 1,522 และ 1,251 ราย ตามลำดับ และเป็นผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในร.พ.จำนวน 137, 279, 214 และ 194 ราย ตามลำดับ
และสถิติการกลับมารักษาซ้ำด้วยโรคเดิมภายใน 28 วัน พบว่า ในปี 2550 และ ต.ค.2550 -
31 พ.ค. 2551 จำนวน 19 และ 15 ราย ตามลำดับ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ
ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ถูกต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ผู้วิจัย จึงสนใจที่จะศึกษาครั้งนี้
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วย
COPD ระหว่างก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
วิธีการศึกษา การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว
วัดผลก่อน – หลัง จำนวน 30 ราย เป็นผู้ป่วย COPD ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกของร.พ.พระพุทธบาท ระหว่างเดือนก.พ. ถึงเดือน พ.ย. 2552 โดยเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้เป็นโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ
American Thoracic Society (1999) ประกอบด้วย 4 ส่วน
1)
การให้ความรู้ในการปฏิบัติตัว
2)
การฝึกการออกกำลังกาย และการฝึกบริหารการหายใจ
3) การดูแลด้านจิตใจ
4)
การประเมินผลลัพธ์ โดยให้คู่มือฝึกปฏิบัติที่บ้าน
และติดตามเยี่ยมบ้านการประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ใช้ Medical Outcomes Study Short form (SF-36)
ผลการศึกษา ผู้ป่วยทั้งหมด มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยหลังได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ตาราง เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อน-หลังได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
คุณภาพชีวิต
|
X
|
SD.
|
df
|
t
|
p value**
|
ก่อนได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
|
571.98
|
87.25
|
29
|
-5.883
|
.000
|
หลังได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
|
651.59
|
92.53
|
** p value
< .01
ตาราง เปรียบเทียบผลการตรวจสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อน-หลังได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
ผลการตรวจสมรรถภาพปอด
|
X
|
SD.
|
df
|
t
|
p value**
|
ก่อนได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
|
52.98
|
14.65
|
29
|
-1.944
|
.062
|
หลังได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
|
55.20
|
15.04
|
** p value
< .01
สรุป โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น