งานพัฒนาคุณภาพ
หน่วยงาน ห้องคลอด ปีงบประมาณ
2556
ชื่อผลงาน
การเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่ห้องคลอด
หลักการและเหตุผล
ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด เป็นภาวะที่พบได้ในทารกที่เกิดมีชีพ ที่มีคะแนนประเมิน Apgar Score ที่ 1 และ
5 นาที น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7
คะแนน โดยแบ่งความรุนแรงเป็น 2
ระดับ คือ ระดับความรุนแรง ( Severe ) คะแนน Apgar
Score 0 – 3 คะแนน
ระดับปานกลาง ( Mild or moderate ) คะแนน Apgar Score 4 – 7 คะแนน
ในปัจจุบันนี้การดูแลทารกแรกเกิดได้มีการประเมิน Apgar Score ในทารกเกิดมีชีพทุกราย และเพิ่มการประเมินในนาทีที่ 10 เพื่อการดูแลและการส่งต่อรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ในปีงบประมาณที่ผ่านมา ปี
2555
การเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จำนวน
63 ราย อัตราการเกิด
34.07 : 1000 ของการเกิดมีชีพ
อัตราการเกิดมาตรฐานที่กำหนดไว้ตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว เกณฑ์ที่กำหนดไม่เกิน 30 : 1000 ของการเกิดมีชีพ
จึงเป็นมูลเหตุในการหาโอกาสพัฒนาการป้องกันภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่ห้องคลอดให้มีประสิทธิภาพ เพื่อความปลอดภัยของทารก ลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ลดอัตราการตายปริกำเนิด และเพื่อให้ทารกแรกเกิดได้มีการพัฒนาสมวัย มีสติปัญญาที่ดี
มีการพัฒนาการเจริญเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพ เป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด
2.
เพื่อความปลอดภัยของทารกแรกเกิด
3.
เพื่อลดอัตราตายของทารกปริกำเนิด
4.
เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของผู้มารับบริการ
ตัวชี้วัด
1.
ประเมินคะแนน Apgar Score ในทารกเกิดมีชีพทุกราย
2.
อัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนน้อยกว่า
30 : 1000 ของการเกิดมีชีพ
3.
อัตราตายปริกำเนิดน้อยกว่า 9 : 1000 ของการเกิดมีชีพ
4.
คะแนนความพึงพอใจมากกว่า 85 %
5.
ไม่มีข้อร้องเรียนจากอุบัติการณ์
การเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด
6.
มีพัฒนาการสมวัยในเด็กแรกเกิด –
5 ปี
จากสถิติงานห้องคลอดในรอบ
3 ปี ที่ผ่านมา
ลำดับ
|
ข้อมูล
|
เป้าหมาย
|
ปี 2553
|
ปี 2554
|
ปี 2555
|
1.
|
มารดาคลอด ( ราย )
|
-
|
1,620
|
1,638
|
1,849
|
2.
|
ทารกเกิดมีชีพ ( ราย )
|
-
|
1,617
|
1,645
|
1,849
|
3.
|
ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจน
( ราย )
|
-
|
42
|
33
|
63
|
4.
|
อัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจน
|
< 30:1000 LB
|
22.86:1000LB
|
20.06:1000LB
|
34.07:1000LB
|
5.
|
ทารกส่งรักษาต่อ NICU (ราย )
|
-
|
114
|
111
|
148
|
6.
|
ทารกเกิดภาวะ MAS ( ราย )
|
-
|
19
|
23
|
40
|
7.
|
อัตราตายปริกำเนิด
|
< 9 : 1000 LB
|
8.65:1000LB
|
8.51:1000LB
|
5.95:1000LB
|
8.
|
ทารกตายปริกำเนิด
|
-
|
14
|
14
|
12
|
9.
|
คะแนนความพึงพอใจ
|
> 85 %
|
84.50 %
|
85.27 %
|
85.56 %
|
แนวทางการดำเนินงาน
1. วิเคราะห์ข้อมูลการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ในปี
2555 จำนวน 63 ราย
2. ประชุมร่วมกันระหว่างทีมการดูแล เพื่อหาแนวทางป้องกันการเกิดภาวะทารกแรกเกิดขาด
ออกซิเจน
3. พัฒนาความสามารถของบุคลากร ในการประเมินภาวะทารกขาดออกซิเจนในทุกระยะของการ
คลอด
4. มีแบบบันทึกในการประเมิน Apgar Score ที่ห้องคลอดและห้องผ่าตัดคลอด
5. มีการลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด โดยการไม่ใช้ยาแก้ปวด โดยไม่จำเป็น
6. มีการดูแลลดความเครียดให้กับมารดาขณะรอคลอด
7. มีการประเมินภาวะน้ำคร่ำ thin –
thick meconium stain ได้ก่อนคลอด
8. มีการเฝ้าระวังสภาวะทารกในครรภ์ ในรายที่มีภาวะเสี่ยงทุกราย โดยการทำ
NST และ CST
9. มีการเพิ่มพูนความรู้ พยาบาลห้องคลอด ในการอ่านและแปลผล NST และ CST เบื้องต้นได้
10 .ประเมินภาวะ fetal distress
ได้ทันเวลา
11.
ประเมินการคลอด และประเมินน้ำหนักทารกได้ถูกต้อง
12.
มีแบบบันทึกปัจจัย และโอกาสที่จะทำให้เกิดภาวะทารกขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด
13.
ประเมินความเสี่ยง
และปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะทารกขาดออกซิเจนได้ทันเวลา
ผลการดำเนินงาน
1. มีการประเมินคะแนน Apgar Score ได้ถูกต้องทุกราย
2. มีการประเมินภาวะน้ำคร่ำ thin –
thick meconium stain ได้ก่อนคลอดทุกราย
3. ลดการใช้ยาแก้ปวด ใช้การนวดลดความเจ็บปวดแทน
4. มีการทำ
NST และ CST ตามข้อบ่งชี้ทุกราย
5. ประเมินและป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจาก ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดได้ทันเวลา
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
มีการเฝ้าระวังมารดาเพื่อป้องกันภาวะขาดออกซิเจนในทารกเกิดมีชีพ จำนวน
178 ราย และประเมินคะแนน Apgar Score ต่ำกว่า 7
คะแนน จำนวน 7
ราย มีระดับความรุนแรงดังนี้
ระดับรุนแรง คะแนน
Apgar Score 0 – 3 คะแนน = 1 ราย
ระดับปานกลาง คะแนน Apgar Score 4 – 7 คะแนน =
6 ราย
อัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด
อัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ใน
1 นาที = 39.32 : 1000 ของการเกิดมีชีพ
อัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ใน
5 นาที = 11.23 : 1000 ของการเกิดมีชีพ
อัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ใน
10 นาที = 11.23 : 1000 ของการเกิดมีชีพ
จากผลการพัฒนา
ไม่มีทารกเสียชีวิตจากภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด
แต่ยังมีอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ใน
1 นาที สูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
แผนการพัฒนาต่อเนื่อง
1. รวบรวมข้อมูลปัจจัยที่ทำให้เกิดรายกรณี โดยออกแบบการเก็บข้อมูล
2. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
3. มีการติดตามเด็กแรกเกิดที่มีคะแนน Apgar Score ระดับรุนแรงทุกราย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น