นวัตกรรมเรื่อง BEST Card
1.หลักการและเหตุผล
งานห้องผ่าตัดโรงพยาบาลพระพุทธบาทมีขอบเขตการให้บริการผ่าตัดทุกสาขา ได้แก่ศัลยกรรมทั่วไป
ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ศัลยกรรมสูติ-นรีเวชกรรม ศัลยกรรมประสาท และศัลยกรรมจักษุ โสต ศอ นาสิก
มีศัลยแพทย์ที่ใช้ห้องผ่าตัดทั้งหมด 14 คน ซึ่งแต่ละคนมีความหลากหลายในการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ/
เครื่องใช้ในการผ่าตัดและเทคนิคในการผ่าตัดที่แตกต่างกัน ซึ่งลักษณะการบริหารจัดการบุคลากรทางการพยาบาลในห้องผ่าตัดเป็นแบบ
Rotation มีการหมุนเวียนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในทุกสาขา
เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานเป็นทีมและมีทักษะทางด้านการผ่าตัดที่หลากหลาย
(Multipleskill) เพื่อที่จะสามารถทำหน้าที่ให้การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทั้ง
3 ระยะ คือ ระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัด และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่เนื่องจากจำนวนหัตถการที่มีมาก ศัลยแพทย์มีความแตกต่างในเทคนิคการทำที่ไม่เหมือนกัน
รวมทั้งการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผ่าตัดที่แตกต่างกัน
ทำให้พยาบาลห้องผ่าตัดแต่ละคนไม่สามารถจดจำเทคนิคการผ่าตัด การใช้อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ได้ทั้งหมดได้
และบางครั้งเกิดความสับสน ไม่มั่นใจ ในการจัดเตรียมเครื่องมือ
จากเหตุผลดังกล่าว
พยาบาลห้องผ่าตัดจึงต้องคิดค้นนวัตกรรม BEST
Card ขึ้น
เพื่อช่วยในการจัดเตรียมเครื่องมือ เครื่องใช้ของศัลยแพทย์แต่ละคน ในแต่ละการผ่าตัดได้ง่ายขึ้น
มีความ ครบถ้วน ถูกต้องมากขึ้น รวมทั้งทบทวนเทคนิคการผ่าตัดของแพทย์
ก่อนการปฏิบัติงาน อันจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการผ่าตัด
2.วัตถุประสงค์
1.
เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดเตรียมอุปกรณ์
เครื่องใช้ในการผ่าตัดให้มีประสิทธิภาพ
2.
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการผ่าตัด
อย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
3.
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้อย่างมีความสุข
ทีมผ่าตัดราบรื่น
3.วิธีการดำเนินงาน
1.
ขั้นตอนการคิดค้นนวัตกรรม
1.1 ประชุมกลุ่มซึ่งประกอบไปด้วย พยาบาลวิชาชีพ 18 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 8 คน
เพื่อหาแนวคิดและรวบรวมข้อสรุปในการจัดทำรูปแบบ รายละเอียดของนวัตกรรม โดยพิจารณาให้ครอบคลุมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในแต่ละการผ่าตัด
ของศัลยแพทย์แต่ละคนดังนี้
-
เครื่องมือพื้นฐานที่ต้องใช้
( Basic instrument)
-
เครื่องมือที่เพิ่มเติมตามความถนัดของศัลแพทย์
( Extra instrument)
-
เครื่องวัสดุผูกเย็บต่างๆ
( Suture instrument)
-
เทคนิคที่แตกต่างของศัลยแพทย์
แต่ละสาขา (Technique)
1.2 เลือกหัตถการที่มีความสำคัญในการทำก่อน
โดยพิจารณาจากหัตถการที่ไม่พบบ่อย และหัตถการที่มีความหลากหลายและแตกต่างของศัลแพทย์
สรุปหัตถการที่เลือกมาทำ 3 สาขา
8 หัตถการ ประกอบด้วย
-
สาขาศัลยกรรมทั่วไป 5 หัตถการ
-
สาขาศัลยกรรมกระดูก 3 หัตถการ
-
สาขาสูติกรรม
3 หัตถการ
1.3 รวบรวมข้อมูลจากการบันทึก และการสอบถามทีมพยาบาลผ่าตัด
จากประสบการณ์ทั้งหมดที่ผ่านมา เพื่อให้ครบถ้วนมากที่สุด
1.4 ให้ศัลยแพทย์แต่ละท่าน ช่วยตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของ BEST card และยืนยันความถูกต้อง
2.
ขั้นตอนการจัดทำ
2.1 บันทึกรายละเอียดทั้งหมดที่เตรียมไว้ ลงไปในกระดาษแข็ง ขนาด 15×20 cm.
ซึ่งมีรายละเอียดเป็นชนิดการผ่าตัดของศัลยแพทย์ และรายการเครื่องมือผ่าตัด
ซึ่งประกอบไปด้วย
B = เครื่องมือพื้นฐาน
E = เครื่องมือเพิ่มเติม
S = วัสดุผูกเย็บในการผ่าตัด
T = เทคนิคการส่งเครื่องมือผ่าตัดของแต่ละศัลยแพทย์
2.2 เคลือบด้วยพลาสติก เพื่อไม่ให้ชำรุด และขาดง่าย
2.3 เจาะรู ร้อยเป็นชุดและนำไปจัดเข้าเล่ม
3.
ขั้นตอนการนำไปใช้
3.1 แจ้งผู้เกี่ยวข้องรับทราบ
3.2 นำ BEST card ที่จัดทำขึ้น ประจำไว้ทุกห้องผ่าตัด เพื่อสะดวกในการใช้
3.3 เริ่มนำ BEST card มาใช้ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือน เมษายน 2554 – กันยายน
2554 เป็นระยะเวลา 6 เดือน
ตัวชี้วัด
จำนวนครั้งของการขอเครื่องมือเพิ่มเท่ากับ 0
4.ผลลัพธ์/ผลการดำเนินงาน
การประเมินผล
1.
รวบรวมเก็บข้อมูลการใช้ในช่วงเดือนเมษายน
2554 – กันยายน 2554 ทั้งหมด 171 ครั้ง
โดยแยกตามสาขา
-
สาขาศัลยกรรมทั่วไป
5 หัตถการ จำนวนผู้ป่วยที่ใช้ = 42 ครั้ง
-
สาขาศัลยกรรมกระดูก 3 หัตถการ จำนวนผู้ป่วยที่ใช้ = 72 ครั้ง
-
สาขาสูติกรรม
3 หัตถการ จำนวนผู้ป่วยที่ใช้ = 57 ครั้ง
พบว่า จากการใช้ BEST Card 171 ครั้ง
ที่มีการออกไปเตรียมเครื่องมือเพิ่มจากรายละเอียดที่ลงไว้ใน BEST card ทั้งหมด 7 ครั้ง (คิดเป็น 4.68 % ) ซึ่งจากการวิเคราะห์แยกเป็นสาขาและมีสาเหตุดังนี้
ศัลยกรรมทั่วไป 4 ครั้ง ในรายที่ทำผ่าตัด
-
Laparoscope
Cholecystectomy 2 ครั้ง เนื่องจาก แพทย์ เปลี่ยนแผนการรักษาเป็น Open
Cholecystectomy
-
AP Resection 2 ครั้ง เนื่องจาก วัสดุผูกเย็บไม่พอ ต้องขอเพิ่ม
ศัลยกรรมกระดูก 3 ครั้ง ในรายที่ทำผ่าตัด
-
Total Knee
Artroplasty เนื่องด้วยพยาธิสภาพของโรค ต้องใช้เครื่องมือเพิ่มเติม
2.
จากการสอบถามความพึงพอใจในการใช้
BEST card จากศัลยแพทย์ทั้งหมด
14 ท่าน พยาบาลวิชาชีพ 18 ท่าน
และผู้ช่วยเหลือคนไข้ 8 ท่าน มีความพึงพอใจใน BEST
card ที่นำไปใช้
5.การนำไปใช้
มีการนำไปใช้ทุกห้องผ่าตัด
เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดเตรียมเครื่องมือ เครื่องใช้ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
ทำให้การผ่าตัดราบรื่น เรียบร้อย เจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัดมีความสุข
มีความมั่นใจมากขึ้น ผู้ป่วยได้รับการบริการอย่างมีคุณภาพ
ลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัด
6.บทเรียนที่ได้รับ/ปัจจัยสำเร็จ
พวกเราชาวห้องผ่าตัดเกิดความภาคภูมิใจ
ในการช่วยคิด ช่วยทำ เพื่อเป็นแนวทางสำคัญในการจัดเตรียมเครื่องมือ
เครื่องใช้แต่ละหัตถการ ความต้องการของศัลยแพทย์
-
การรวบรวมความรู้ทั้ง
Tacit และ Explicit Knowledge
มาถ่ายทอดแก่พยาบาลรุ่นน้องเพื่อเป็นแนวทาง
-
การนำความรู้
ทักษะ และประสบการณ์ การทำงานทั้ง
Tacit และ Explicit Knowledge
มารวบรวมอย่างเป็นระบบ และจัดทำเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างมี
รวมทั้งสามารถเป็นคู่มือการทำงานแก่พยาบาลที่จบใหม่ได้
-
การเตรียมเครื่องมือ
เครื่องใช้ได้ง่ายขึ้น จัดเตรียมเครื่องมือ เครื่องใช้ได้อย่างถูกต้อง
ครบถ้วนเป็นผลให้ผู้ป่วยได้รับการบริการที่ดีขึ้น ราบรื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น