วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

นวัตกรรมการระบุตัวผู้ป่วยทารกแรกเกิดแฝด

นวัตกรรมการระบุตัวผู้ป่วยทารกแรกเกิดแฝด

ชื่อโรงพยาบาล             โรงพยาบาลพระพุทธบาท  หอผู้ป่วยเด็ก 2
ชื่อนวัตกรรม                พี่ช้าง-น้องมด
ใช้สำหรับผู้ป่วยประเภท           ผู้ป่วยทารกแรกเกิดแฝด
หลักการและเหตุผล
            หอผู้ป่วยเด็ก 2   เป็นหน่วยงานที่ให้การดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 15  ปี   จากสถิติการให้บริการทารกแรกเกิดพบว่าในปีงบประมาณ 2553  มีผู้ป่วยทารกแรกเกิดแฝด 5 คู่ และปีงบประมาณ 2554 มี 10 คู่  ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และจากการทบทวนอุบัติการณ์ความเสี่ยง พบว่า ทารกแรกเกิดแฝดเป็นทารกกลุ่มเสี่ยงในการระบุตัวผิด   เนื่องจากทารกมีชื่อ-นามสกุล วัน เดือน ปีเกิด รูปร่างลักษณะ เพศ และน้ำหนักใกล้เคียงหรือเหมือนกัน  ในปีงบประมาณ 2554   พบอุบัติการณ์ในการดูแลทารกแรกเกิดผิดพลาดบ่อยครั้งดังนี้ การระบุตัวผู้ป่วยของทารกแฝดใน film X-ray สลับคนจำนวน 1 ครั้ง  ติด sticker บนภาชนะบรรจุ specimen ผิด 1 ครั้ง  และพบอุบัติการณ์ near miss จำนวน 2 ครั้งคือ การนำทารกแฝดวางสลับเตียงหลังทำหัตถการ และบิดามารดาเข้าเยี่ยมทารกสลับคน เนื่องจากมีความสับสนในการระบุตัวของบุตร  ซึ่งอุบัติการณ์ความเสี่ยงดังกล่าวที่พบอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อทารก ,ญาติผู้ป่วยไม่พึงพอใจและอาจเกิดข้อร้องเรียนในบริการขึ้นได้
            เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยเด็ก 2   ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดูแลทารกแรกเกิดป่วยของโรงพยาบาลพระพุทธบาท   ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาข้างต้น  จึงได้พัฒนานวัตกรรมพี่ช้าง-น้องมดขึ้น  เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องความผิดพลาดในการดูแลทารกแรกเกิดแฝดผิดคน
วัตถุประสงค์
1.   เพื่อระบุตัวผู้ป่วยทารกแรกเกิดคู่แฝดพี่และน้องให้ถูกต้องชัดเจน
2.   ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการดูแลทารกแรกเกิดคู่แฝดสลับคน
3.   ไม่พบข้อร้องเรียน  จากการระบุตัวผู้ป่วยผิดคน
4.   ญาติมีความพึงพอใจในการรับบริการ
การใช้งาน        แนวทางสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล
1.         จัดทำ  sticker    ดังนี้            

2.         เมื่อมีการรับผู้ป่วยทารกแรกเกิดคู่แฝดไว้ในความดูแล  ให้ติด sticker พี่และ น้องจำนวน 4 ตำแหน่ง ดังนี้
2.1  ป้ายข้อมือใกล้กับ ชื่อ-สกุลของผู้ป่วย
2.2   Kardex  ใกล้ชื่อผู้ป่วย
2.3  หน้า chart  หรือแฟ้มประวัติผู้ป่วย
2.4  เอกสารต่าง ๆ ในแฟ้มประวัติผู้ป่วยทุกแผ่น  ตรงตำแหน่งใกล้กับชื่อ-สกุลผู้ป่วย

3.         จัดทำป้ายสัญญาลักษณ์รูปสัตว์  เพื่อเป็นการบ่งชี้ที่ชัดเจนสำหรับแยกแฝดพี่และน้อง  โดยติดไว้ที่บริเวณหน้าตู้อบหรือปลาย crib ดังนี้

 
          4. ตรวจสอบความถูกต้องในการระบุตัวผู้ป่วย  โดยดูชื่อ-สกุลผู้ป่วย  จากแฟ้มประวัติผู้ป่วย   ป้ายข้อมือ  ป้ายชื่อ-สกุลผู้ป่วย  และรูปภาพสัญญาลักษณ์ที่ติดหน้าตู้อบหรือปลาย  crib  ทุกวัน  ทุกเวร หลังรับ-ส่งเวร
          5. ตรวจสอบความถูกต้องในการระบุตัวผู้ป่วยก่อนให้การดูแลรักษา  ก่อนส่งสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และก่อนทำหัตถการต่าง ๆ  ให้ถูกต้องตรงตัวผู้ป่วย

ผลสำเร็จของงาน
1.      ร้อยละการระบุตัวผู้ป่วยทารกแรกเกิดคู่แฝดพี่และน้องได้ถูกต้องเท่ากับ 100
2.      ร้อยละการเกิดความผิดพลาดในการดูแลรักษาทารกแรกเกิดคู่แฝดสลับคนเท่ากับ  0
3.      จำนวนครั้งของข้อร้องเรียน  จากการระบุตัวผู้ป่วยผิดคนเท่ากับ 0
4.    ร้อยละของญาติที่มีความพึงพอใจในการรับบริการระดับดีขึ้นไป เท่ากับ  97.68
ชื่อทีมพัฒนานวัตกรรม   ทีมเด็ก 2 สร้างสรรค์
            สมาชิกทีม          1. คุณนงนารถ    โฉมวัฒนา         พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
                                    2. คุณชุวลี          เจริญสุข             พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
            ที่ปรึกษา                        1. คุณเจียมจิตต์  เฉลิมชุติเดช        หัวหน้าหอผู้ป่วยเด็ก 2 โรงพยาบาลพระพุทธบาท
                                    2. คุณสุนทรี       สิทธิสงคราม       อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
            เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ         084-7658430            E-mail : noijium@hotmail.com
                                                089-1047030                   : s_sittisongkram@yahoo.com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น