1. ชื่อผลงาน : การปกป้องทารกเกิดก่อนกำหนดจากภาวะแทรกซ้อนด้วยนมแม่
2. คำสำคัญ : นมแม่- จากการศึกษาประโยชน์และคุณค่าของนมแม่พบว่าเป็นปัจจัยปกป้องของอุบัติการณ์การเจ็บป่วยที่สำคัญ
ที่มีผลต่อระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ค่าใช้จ่าย อัตราการรอดชีวิต เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารสำคัญจำเป็นและมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต ลด
การเกิดภาวะลำไส้เน่า เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
โดยเฉพาะในทารกเกิดก่อนกำหนดนมแม่เป็นสารอาหารที่เหมาะสมที่สุด
ในระยะแรกหลังคลอดเป็นอาหารที่ทารกรับและย่อยได้ง่ายจึงสามารถให้สารอาหารทางลำไส้ได้ดีลดสารละลายทางเส้นเลือดได้เร็วลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อในกระแสเลือด
การเกิดลำไส้อักเสบเปื่อยยุ่ยนอกจากนี้ยังค้นพบจากงานวิจัยอีกว่านมแม่ช่วยลดโรคจอประสาทตาเนื่องจากในนมแม่มีสารทอรีนที่ช่วยให้จอประสาทตาเจริญเติบโตและยังมีสิ่งที่นมผสมไม่สามารถสังเคราะห์ลงไปได้คือสารกระตุ้นจอประสาทตาที่มีอยู่ในน้ำนมแม่เท่านั้นจึงถือว่าในน้ำนมแม่มีสารอาหารที่วิเศษมากและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังกระตุ้นให้เกิดความผูกพันทางจิตใจระหว่างแม่และลูกได้ดีที่สุดและยังกระตุ้นให้แม่เกิดความเป็นแม่มากขึ้น
: ทารกเกิดก่อนกำหนด-เป็นทารกที่ยังไม่มีความพร้อมในการเจริญเติบโตอวัยวะต่างๆยังทำงานไม่สมบูรณ์มีอุบัติการณ์ของการเกิดการเจ็บป่วยค่อนข้างสูงซึ่งมีผลต่อระยะเวลาของ
การอยู่ในโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายและอัตราการรอดชีวิต
3. สรุปผลงานสำคัญ : ระยะดำเนินงานเมษายน - กันยายน 2553
ในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมามีจำนวนทารกเกิดก่อนกำหนด
6 ราย อายุครรภ์อยู่ในช่วง 31-35 สัปดาห์น้ำหนักแรกเกิด 1500-1900 กรัม
ได้รับนมมารดาตั้งแต่เริ่มนมมื้อแรก 5 รายและได้รับอย่างต่อเนื่องจนพ้นภาวะวิกฤติและเมื่อทารกพร้อมมารดามานอนเลี้ยงให้
breast feeding
ได้สำเร็จทุกราย
ได้สำเร็จทุกราย
ขณะนอนในโรงพยาบาลทารกทุกรายไม่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดไม่มีภาวะUGI
Bleed สามารรับนมได้ดีเจริญเติบโตภายใต้มาตรฐานการพยาบาลร่วมกับการรักษาของแพทย์และเมื่อมีการติดตามการตรวจ ROP พบว่าไม่มีทารกรายใด ตรวจพบภาวะ
ROP
นอกจากนี้ยังมีการติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินการเจริญเติบโตพัฒนาการการให้นมและที่สำคัญคือการให้กำลังใจกับครอบครัวให้มีแนวทางการดูแลบุตรที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจและ
เป็นเยาวชนที่ดีในอนาคต
4. ทีมนำ : หออภิบาลทารกแรกเกิดเด็ก
2 โรงพยาบาลพระพุทธบาท สระบุรี
1. คุณเจียมจิตต์ เฉลิมชุติเดช
2. คุณเสาวลักษ์
ใคร่ครวญ
3. คุณยุพิน มานุจำ
5. สมาชิกทีม : เจ้าหน้าที่ตึกเด็ก 2 ทุกคน
6. เป้าหมาย :
1. ทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนัก1000-2000กรัม
ได้รับนมมารดาตั้งแต่มื้อแรกที่เริ่ม
feeding และอย่างต่อเนื่อง
2. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน NEC late-on set sepsis ภาวะ ROP และการกลับมารักษาซ้ำภายใน28วัน
3. มารดามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาและมีพันธะผูกพันทางจิตใจที่ดีต่อกัน
4. ทารกเกิดก่อนกำหนดทุกรายเจริญเติบโตสมวัย
5. อัตราในการนอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการรักษาลดลง
7. ที่มาของปัญหา :
จากหลักฐานเชิงประจักษ์
พบว่า
ทารกเกิดก่อนกำหนดมีอุบัติการณ์ของการเกิดการเจ็บป่วยค่อนข้างสูงซึ่งการเจ็บป่วยที่สำคัญที่มีผลต่อระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาล
ค่าใช้จ่าย และอัตราการรอดชีวิต ได้แก่
ลำไส้เน่าเฉพาะที่ late-on
set sepsisและที่ตามมาคือภาวะ ROP ซึ่ง
การเจ็บป่วยเหล่านี้พบว่านมแม่เป็นปัจจัยปกป้องที่ดีร่วมกับการรักษาของแพทย์ภายใต้มาตรฐานการพยาบาลที่ดี
การเจ็บป่วยเหล่านี้พบว่านมแม่เป็นปัจจัยปกป้องที่ดีร่วมกับการรักษาของแพทย์ภายใต้มาตรฐานการพยาบาลที่ดี
จากข้อมูลที่ผ่านมา
ทารกเกิดก่อนกำหนดที่รักษาในโรงพยาบาลพระพุทธบาท
พบว่ามีค่าใช้จ่ายในการรักษา 70,000-200,000 บาท
ต่อรายและพบภาวะROP เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
8. กิจกรรมการแก้ปัญหา :
จะเห็นได้ว่านมแม่เป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันทารกให้รอดพ้นจากภาวะแทรกซ้อนร่วมกับการดูแลของแพทย์-พยาบาลได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามการชักนำให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมองเห็นหรือตระหนักในคุณค่าเป็นสิ่งที่ท้าทายดังนั้นการให้ความรู้กับมารดาต้องใช้ทักษะและหัวใจในการทำงานเพื่อให้เข้าถึงความมุ่งหวังที่ดีของบุคคลากรที่มีต่อบุตรหลานและให้ความร่วมมือในการดูแลรักษาร่วมกัน
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาบุคลากรในหน่วยงาน
และมารดาให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีพร้อมที่จะมานอนดูแลบุตร
แต่อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบคือข้อจำกัดในหน่วยงานที่ยังไม่มีเตียงเพียงพอ
ขณะนี้กำลังดัดแปลงและใช้ทรัพยากรในหน่วยงานให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยโดยไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล
9. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น :
จากข้อมูลแลตัวชี้วัดที่ผ่านมาพบว่า
เมื่อเดือน กันยายน 2552-มีนาคม 2553มีทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนัก 1000-2000
กรัม 15 ราย พบ ROP
5 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.66 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงและพบว่ามีภาวะ UGI Bleed ร่วมด้วย
นั่นหมายถึงการงดนมและให้สารน้ำใหม่อีกครั้ง
อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบอยู่แล้วว่าทารกเกิดก่อนกำหนดต้องการพลังงานในการเจริญเติบโตมากกว่าทารกทั่วไปซึ่งการดูแลที่ผ่านมาเราเน้นการให้นม
premature
formula เพื่อให้ทารกได้รับพลังงานเพียงพอและยังขาดความร่วมมือจากมารดาในบางราย
จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่าทางเลือกในการใช้นมแม่นั้นคุ้มค่าและ
ได้ประโยชน์ต่อองค์กรและทารกอย่างเห็นได้ชัด ที่ผ่านมา ROP ลดลง เท่ากับ 0 และไม่พบภาวะ UGI Bleed ไม่มีการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน นอกจากนี้ยังเพิ่มสายสัมพันธ์แม่-ลูก ได้เป็นอย่างดี ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาลดลงอยู่ระหว่าง 30,000-75,000 บาทต่อราย
ได้ประโยชน์ต่อองค์กรและทารกอย่างเห็นได้ชัด ที่ผ่านมา ROP ลดลง เท่ากับ 0 และไม่พบภาวะ UGI Bleed ไม่มีการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน นอกจากนี้ยังเพิ่มสายสัมพันธ์แม่-ลูก ได้เป็นอย่างดี ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาลดลงอยู่ระหว่าง 30,000-75,000 บาทต่อราย
10. บทเรียนที่ได้รับ :
จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาพบว่าการนำหลักการ
ทักษะวิชาการและ
ความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมา ถอดความรู้ทั้ง Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge จะประสบผลสำเร็จในการทำงานได้นั้นต้องเข้าใจและเข้าถึงหัวใจของความป็นมนุษย์และเข้าใจวิถีชีวิต และวัฒนธรรมชุมชน
ความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมา ถอดความรู้ทั้ง Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge จะประสบผลสำเร็จในการทำงานได้นั้นต้องเข้าใจและเข้าถึงหัวใจของความป็นมนุษย์และเข้าใจวิถีชีวิต และวัฒนธรรมชุมชน
11. การติดต่อกับทีมงาน : หออภิบาลทารกแรกเกิดเด็ก
2 โรงพยาบาลพระพุทธบาท สระบุรี
1. คุณเจียมจิตต์ เฉลิมชุติเดช
2. คุณเสาวลักษ์
ใคร่ครวญ
3. คุณยุพิน มานุจำ
ดีมากค่ะ
ตอบลบ