วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นวตกรรมที่รองขา


หลักการและเหตุผล
       การผ่าตัดเสริมเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า( Anterior cruciate ligament reconstruction )เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาผู้ที่ประสบอุบัติเหตุเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่าขาด ซึ่งเป็นได้ทั้งจากอุบัติเหตุทางกีฬา อุบัติเหตุจราจร และอุบัติเหตุอื่นๆ หลังผ่าตัดการจัด Position ที่ถูกต้องและเหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยให้ผู้ป่วยนอนยกขาสูงและเหยียดเข่าตรง เพื่อป้องกัน Flexion contracture ของข้อเข่าและการบวมบริเวณปลายเท้า
        จากประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเสริมเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า เดิมใช้หมอนรองใต้เข่าและต้นขาเพื่อยกขาสูงและเหยียดเข่า บางครั้งเมื่อผู้ป่วยเปลี่ยนอิริยาบถหมอนที่รองอยู่อาจเลื่อน ทำให้ขาผู้ป่วยไม่อยู่ใน Position ที่ต้องการ อาจมี  Flexion   ของข้อเข่า ถ้าไม่มีการเฝ้าระวังที่ดีอาจเกิด Flexion contracture ของข้อเข่าได้ ดังนั้นการดูแลให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดให้ได้รับการวางขาในท่าที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งจำเป็น ด้วยเหตุนี้จึงได้มีแนวคิดที่จะประดิษฐ์ที่รองขา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความสุขสบายของผู้ป่วย ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและผู้ให้บริการปฏิบัติงานได้ง่ายและสะดวกขึ้น

วัตถุประสงค์
1.   เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการSupport ขาให้ได้ Position ที่ถูกต้อง
2.   เพื่อป้องกัน Flexion contracture ของข้อเข่าและการบวมบริเวณปลายเท้า
3.   เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

วิธีการพัฒนานวตกรรม
        จากแนวคิดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเสริมเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า เพื่อเพิ่มความสุขสบายของผู้ป่วย ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและผู้ให้บริการปฏิบัติงานได้ง่ายและสะดวกขึ้น ได้ดำเนินการวาดโครงร่าง ทั้งขนาดและวัสดุที่ต้องนำเสนอช่าง โดยขนาดที่รองขาต้องรองรับความยาวของขาทั้งหมดตั้งแต่ต้นขาถึงปลายเท้า และเมื่อวางขาแล้วพื้นสำหรับรองขาต้องไม่แข็งจนเกินไปและทำความสะอาดง่าย โดยใช้หนังเทียมหุ้มฟองน้ำ ส่วนโครงสร้างใช้แสตนเลส สามารถปรับเปลี่ยนมุมได้หลายระดับเพื่อความสุขสบายของผู้ป่วยแต่ละราย
        เมื่อนำมาทดลองใช้ ในระยะแรกไม่มีที่กั้นด้านข้าง ขาผู้ป่วยอาจร่วงจากที่รองขาได้จึงทำที่กั้นเพิ่มเติมค่าใช้จ่ายราคาอันละ 2,800 บาท




ผลลัพธ์
       ได้ทำที่รองขาหมุนเวียนกันใช้ในและนอกหอผู้ป่วยจำนวน 2 อันเมื่อนำมาใช้พบว่ามีความสะดวกในการใช้งาน เนื่องจากมีรูปร่างกะทัดรัดและเคลื่อนย้ายสะดวก สามารถรองรับขาผู้ป่วยได้ทุกขนาดและปรับระดับได้หลายระดับ เพื่อความสุขสบายของผู้ป่วยทั้งนี้เพื่อให้ขาผู้ป่วยอยู่ใน Position ที่เหมาะสมและทำให้การไหลเวียนของโลหิตบริเวณปลายเท้าดีขึ้นไม่เกิดอาการบวม

สรุปผลและข้อเสนอแนะ
        ที่รองขาที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นสามารถนำมาใช้งานกับผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ให้บริการมีความสะดวกในการใช้งาน นอกจากนี้ยังได้มีการขยายขอบเขตการใช้งานกับผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อเข่าทุกประเภท ได้แก่ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผู้ป่วยที่ใส่Cylender cast  เป็นต้น

 
จัดทำโดย
นางสาวพรพิมล รัตนสุวรรณ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น