วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2564

การพัฒนาแนวทางการดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของทารกที่มีภาวะ MAS

 

1.ชื่อผลงาน: การพัฒนาแนวทางการดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของทารกที่มีภาวะ MAS

2.คำสำคัญ :

- MAS (Meconium aspiration syndrome) กลุ่มอาการสำลักขี้เทาในทารกแรกเกิด

- PPHN (Persistant Pulmonary Hypertension of Newborn) ภาวะแรงดันเลือดในปอดสูง

3.สรุปผลงานโดยย่อ: ผลจากการพัฒนาแนวทางการดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของทารกที่มีภาวะ MAS ทั้งในช่วง Prenatal Care, Labor Care และ NICU Care อย่างต่อเนื่อง สามารถลดอัตราการเสียชีวิตและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้

4.ชื่อและที่อยู่องค์กร : หอผู้ป่วยเด็ก 2 โรงพยาบาลพระพุทธบาท จ.สระบุรี

5.สมาชิกทีม :

            เจียมจิตต์ เฉลิมชุติเดช , นงนารถ โฉมวัฒนา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  

            สุนทรี  สิทธิสงคราม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท

6.ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ:กลุ่มอาการสำลักขี้เทาในทารกแรกเกิด ( Meconium aspiration syndrome, MAS) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญอย่างหนึ่งในทารกแรกเกิด จากสถิติของโรงพยาบาลพระพุทธบาท พบว่าในปีงบประมาณ 2560 มีทารกเสียชีวิตจาก MAS มากเป็นอันดับ1นอกจากนี้ยังพบภาวะแทรกซ้อน PPHN(Persistant Pulmonary Hypertension of Newborn) และ Pneumothorax  PCT กุมารเวชร่วมกับ PCT สูติกรรม เห็นความสำคัญของเรื่องนี้จึงได้ร่วมกันพัฒนาหาแนวทางการดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของทารก  MAS ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

7.เป้าหมาย: เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของทารก  MAS

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง:

          ทารกที่มี MAS ทุกราย และพยาบาลวิชาชีพประจำการของหน่วยฝากครรภ์ ห้องคลอด และNICU  จำนวน 24 คน เลือกโดยใช้ประชากรทั้งหมด 

8.กิจกรรมพัฒนา

          ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development Designs) โดยมีขั้นตอนดังนี้

          1. PCTกุมารเวชกรรมและ PCT สูติกรรม ซึ่งได้แก่ แพทย์ พยาบาล ร่วมกันทบทวนเวชระเบียน วิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิด MAS โดยใช้วิธี Root cause analysis 

          2. นำผลลัพธ์ที่ได้จาการทบทวนมาเป็นแนวทางในการป้องกันและดูแลทารกที่มี MAS ดังนี้

แผนกให้บริการ

ปัญหา

แนวทางแก้ไข

Prenatal care

ในช่วงใกล้คลอด ผู้ป่วยบางรายไม่มาANCตามนัด

1. สอนสุขศึกษา เน้นย้ำให้มารดาเห็นความสำคัญของการมา ANC ช่วงใกล้คลอด

2. นัดพบสูติแพทย์เพื่อทำStripping ที่อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ ซึ่งเดิมทำที่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์

Labor care

 

การรักษาล่าช้า การย้ายทารกที่มีภาวะสูดสำลักน้ำคร่ำจากห้องคลอดมาNICU เสียเวลานาน โดยเฉลี่ยประมาณ 2 ชั่วโมง

1. การเจาะถุงน้ำ ถ้าพบว่ามีThick meconium stained ให้Notify กุมารแพทย์เพื่อมารับเด็กทุกราย

2. กำหนดEarly warning signs MAS ได้แก่ MSAF และ RR ≥ 60 /min หรือมี Retraction โดยที่ RR ≤ 60 /min 

3. ประเมิน EWS MAS ทุก 15นาที เมื่อพบว่ามีEWSให้รายงานแพทย์ใช้ทุนถ้าหากแพทย์ใช้ทุนยังไม่มาภายใน15นาทีให้รายงานแพทย์ Staff ได้ทันที

NICU Care

 

การเฝ้าระวังติดตามอาการทารกไม่ดีพอ (ทารกนอนห่อตัวอยู่ในCrib สังเกตการหายใจได้ไม่ชัดเจน)

1. นำทารกที่มีMAS เข้าตู้อบทุกราย

อุปกรณ์การใส่ICD ไม่พร้อมใช้ ในกรณีทารกมีPneumothorax  

สำรองชุดเจาะปอด และชุดICD พร้อม Pump จำนวน 2ชุดไว้ที่แผนกNICU

แนวทางการรักษาของแพทย์ยังไม่ทันสมัยพอ

1. เพิ่มแนวทางการรักษาของแพทย์ใช้ยาILOPROASTในการรักษาPPHN และประสานกลุ่มงานเภสัชกรรมให้สำรองยาไว้ที่ห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน

3.สร้างแนวทางการป้องกันและการดูแลทารกที่มีภาวะ MAS พร้อมทั้งชี้แจงผู้ปฏิบัติงานในPCTกุมารเวชกรรมและPCTสูติกรรมทราบและปฏิบัติตาม
          4.ติดตามประเมินผลทุก 1 เดือนและทบทวนแนวทางการดูแลทุกครั้งเมื่อพบอุบัติการณ์

9.การประเมินผลการเปลี่ยนแปลง

การวิเคราะห์ข้อมูล      

          ความถี่และร้อยละ

ผลการศึกษา ระยะที่ 1( 1ตุลาคม2560 – 30มิถุนายน 2561)

ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

ปี2560

ปี2561

ต.ค.60 – มิ.ย. 61

1.ร้อยละการเสียชีวิตทารกMAS

<2

4.9(2ราย)

8.8 (3ราย)

2.ร้อยละการเกิดภาวะแทรกซ้อน PPHN

<2

4.9(2ราย)

8.8(3ราย)

2.ร้อยละการเกิดภาวะแทรกซ้อน pneumothorax

<2

4.9(2ราย)

2.9(1ราย)

 

การดำเนินงานระยะที่ 2   

          ประชุมสรุปผลการดำเนินงานระยะที่ 1 ทบทวนหาสาเหตุการเสียชีวิตของทารกที่เกิดขึ้น และร่วมกันพัฒนาแนวทางการดูแลทารกและป้องกันภาวะแทรกซ้อนทารกที่มีภาวะ MAS ดังนี้

แผนกให้บริการ

ปัญหา

แนวทางการดูแล

Labor care

 

1. พบทารกที่มี thin meconiumเสียชีวิต

การเจาะถุงน้ำ ถ้าพบว่ามี Thin หรือ Thick meconium stained ให้Notify กุมารแพทย์เพื่อมารับเด็กทุกราย (เดิมให้รายงานแต่เฉพาะ Thick meconium stained)

2. การส่งต่อมารักษาที่NICU ยังล่าช้า

1. ทารกมีEWSของMAS ให้พยาบาลห้องคลอดส่งทารกมาที่ NICU เลยโดยไม่ต้องรายงานแพทย์ (Fast track MAS)

NICU care

ลดเวลาในการวินิจฉัยและการรักษา

1.พยาบาล NICUรายงานแพทย์Staffทันที

2. พยาบาล ส่ง CXR ด่วนทุกราย และให้แพทย์ดูFilm ทันที (แจ้งแผนกX-RAY ว่า CXR ด่วน)

Labor care และ

NICU care

พยาบาลบางคน ยังไม่ปฏิบัติตามแนวทางการดูแลฯ อย่างเคร่งครัด

ประชุมชี้แจงพยาบาลและทำความเข้าใจให้ตรงกันอีกครั้งในวันประชุมประจำเดือน และกำกับติดตามการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลฯ ในช่วง Pre-conference

 

ผลการดำเนินงาน ระยะที่ 2(1กรกฎาคม 2561-  30กันยายน2562)  

หลังดำเนินการระยะที่ 2 ซึ่งเริ่มเดือนก.ค.61-ปัจจุบัน ยังไม่พบทารกเสียชีวิตจากMAS และไม่การเกิดภาวะแทรกซ้อน Pneumothorax พบภาวะ PPHN1ราย 



การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
          จากการดำเนินงานตามแนวทางการดูแลฯดังกล่าว ทำให้ผลลัพธ์การดูแลดีขึ้น ลดอัตราตาย ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนลงได้ จึงควรขยายผลให้โรงพยาบาลชุมชนในเครือข่ายใช้ต่อไป
Driver Diagram MAS




 Process Flowchart การดูแลผู้ป่วย MAS


10.บทเรียนที่ได้รับ/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ทางคณะทำงานมีความภาคภูมิใจที่ทำให้ทารกมีความปลอดภัย สามารถลดอัตราตายและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนลงได้ ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้เกิดจากการที่ โรงพยาบาลสนับสนุนให้เกิด การพัฒนางานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือของทีมPCTกุมารเวชกรรมและPCTสูติกรรมในการพัฒนาการดูแล โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มีวัฒนธรรมความปลอดภัย ในองค์กรและมีNCM เป็นผู้ประสานการดูแล

 

11.การติดต่อกับทีมงาน

นงนารถ โฉมวัฒนา หอผู้ป่วยเด็ก2 โรงพยาบาลพระพุทธบาท

86 หมู่ 8 ตำบลธารเกษม อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 18120

โทร 083-0761994  E-mail: n-pookie@hotmail.com

ที่ทำงาน 036-268215-8 ต่อ 1721-22 โทรสาร 036-266112




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น