วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

จุกนิรภัย



ชื่อผลงานนวัตกรรม       จุกนิรภัย
ชื่อผู้เสนอผลงาน           หอผู้ป่วยพิเศษชั้น 3
ชื่อ/ที่อยู่ของหน่วยงาน    หอผู้ป่วยพิเศษชั้น 1 - 3/อาคาร 100 ปีสมเด็จพระศรีนครินทร์
ความเป็นมา
          การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ (catheter associated urinary tract
infection; CAUTI) นั้นเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่ม
มากขึ้นและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ สถิติผู้ป่วยของหอผู้ป่วยพิเศษปี 2556 มีผู้ป่วยได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะเฉลี่ย 5.22 ราย/วัน  และมีอัตราการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะเท่ากับ 0.5ครั้ง/1000วันอุปกรณ์  และเมื่อวิเคราะห์สาเหตุของการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะ สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือปลายท่อถุงปัสสาวะสัมผัสพื้นจากการแขวนถุง/การปรับระดับเตียงต่ำหรือ ถุงปัสสาวะถูกวางบนพื้น (ตามมาตรฐานควรต้องแขวนสายสวนปัสสาวะสูงจากพื้นประมาณ 15 ซม.)  รวมถึงการที่ถุงปัสสาวะปิดไม่สนิทมีปัสสาวะหยดลงพื้นทำให้ระบบปัสสาวะไม่เป็น closed  system  บุคลากรในหน่วยงานได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้ร่วมกันคิดเพื่อวางแผนแก้ไข และมองเห็นว่าหัวจุกที่ปิดข้อต่อสายสวนปัสสาวะ สามารถนำมาปิดปลายถุงปัสสาวะได้  จึงดำเนินการจัดทำนวตกรรม “จุกนิรภัย”ขึ้นมา   เพื่อให้พยาบาลสามารถปฏิบัติได้โดยง่าย  เพื่อเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะให้ปราศจากการติดเชื้อ และลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์
          1. เพื่อลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ
          2. เพื่อลดการเกิดกลิ่นเหม็นภายในห้องพักผู้ป่วย

ขั้นตอนการดำเนินงาน  
1.      ศึกษาสภาพปัจจุบัน  ระหว่างวันที่ (1 - 7  กันยายน 2557)
หอผู้ป่วย
จำนวนผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ (ราย)
จำนวนครั้งที่แขวนสายสวนปัสสาวะต่ำกว่า 15 ซม.(ครั้ง)
จำนวนครั้งถุงปัสสาวะปิดไม่สนิท(ครั้ง)
พิเศษ 1
26
20
26
พิเศษ 2
9
7
9
พิเศษ 3
3
2
3
รวม
119
29
119

2.      เป้าหมาย
2.1.   ลดจำนวนครั้งการแขวนถุงปัสสาวะต่ำกว่า  15  ซม.
2.2.   ลดจำนวนครั้งถุงปัสสาวะปิดไม่สนิท  ทำให้น้ำปัสสาวะหกลงบนพื้น

3.      วิธีดำเนินการ
3.1 ทบทวนมาตรฐานการแขวนถุงปัสสาวะ จากการศึกษาเอกสาร /ตำรา /งานวิจัย พบว่า การแขวนถุงปัสสาวะควรแขวนให้สูงจากพื้นประมาณ 15 เซนติเมตร และควรให้ระบบสายสวนปัสาวะเป็นระบบปิดเสมอ
3.2 ประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อชี้แจงและมอบหมายการตรวจสอบการแขวนถุงปัสสาวะตามมาตรฐาน
3.3  พัฒนานวตกรรม เพื่อให้ระบบสายสวนปัสาวะเป็นระบบปิด และ ไม่มีน้ำปัสสาวะไหลเปื้อนพื้นดังนี้
3.3.1 การเตรียมอุปกรณ์  ชุดถุงใส่ปัสสาวะ 1 ถุง
3.3.2 เปิดชุดถุงใส่ปัสสาวะ และดึงจุกจากปลายข้อต่อด้านที่จะต้องต่อกับสายสวนปัสสาวะของผู้ป่วย
3.3.3 นำจุกที่ดึงออกมาไปสวมที่ปลายถุงที่ใช้เทปัสสาวะทิ้ง  ก็จะช่วยลดการปนเปื้อนที่ปลายถุงปัสสาวะได้ และทำให้เป็น closed  system  ตลอดเวลา


การพัฒนาต่อเนื่อง
          มีการกระตุ้นให้บุคลากรในหน่วยงานได้นำ “จุกนิรภัย” มาใช้ให้เป็นประโยชน์ และขยายผลให้หอผู้ป่วยพิเศษแต่ละชั้นนำไปใช้
          ดำเนินการตรวจสอบ การแขวนถุงปัสสาวะตามมาตรฐาน ผลการตรวจสอบดังตาราง
หอผู้ป่วย
จำนวนผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ (ราย)
จำนวนครั้งที่แขวนสายสวนปัสสาวะต่ำกว่า 15 ซม.(ครั้ง)
จำนวนครั้งถุงปัสสาวะปิดไม่สนิท(ครั้ง)
พิเศษ 1
22
17
2
พิเศษ 2
8
6
3
พิเศษ 3
3
2
2
รวม
33
25
7



 
 ผลการดำเนินงาน
          1. ผู้ป่วยและญาติมีการเฝ้าระวังในการแขวนถุงปัสสาวะ และระวังปลายถุงปัสสาวะสัมผัสพื้นมากขึ้น
          2. พนักงานทำความสะอาดลดภาระในการทำความสะอาดพื้นห้องพักจากปัสสาวะหกรด
          3. บุคลากรในหน่วยงานเกิดความพึงพอใจ และนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
          4. เป็นนวตกรรมที่ไม่ต้องใช้งบประมาณ

ตัวชี้วัดผลสำเร็จ 
ตัวชี้วัด
(KPI)
เป้าหมาย
(Target)
ผลลัพธ์ที่ปฏิบัติได้
ผู้ป่วยติดเชื้อจากปลายถุงปัสสาวะสัมผัสพื้น  (ร้อยละ)
0
0

สรุปผลการดำเนินงาน  
          นวัตกรรมชิ้นนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่ในทางปฏิบัติในหน่วยงาน ระยะแรกยังไม่ได้มีการทำทุกราย เนื่องจากเจ้าหน้าที่ลืม จึงทิ้งจุกหลังสวนปัสสาวะ ต่อมาได้มีการกระตุ้นเตือนจึงเริ่มใช้ “จุกนิรภัย”กันมากขึ้น และบางรายรับย้ายมาจากหน่วยงานอื่นผู้ป่วยใส่สวนปัสสาวะมาแล้วโดยไม่ได้ปิดจุกมาให้  จึงจะขยายผลแก่หน่วยงานอื่น ๆ ได้นำไปใช้เพื่อให้มีการดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น