ชื่อโครงการ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำความสะอาดสะดือทารก
หลักการและเหตุผล
หลังจากออกมาลืมตาดูโลก สายสะดือ ที่อยู่กลางพุงป่องๆของเจ้าตัวน้อย
มักเป็นปัญหาให้หนักอกหนักใจอย่างมาก ทั้งในมารดาครรภ์แรก ครรภ์หลังและครอบครัว ปัญหาการไม่รู้ ไม่เข้าใจ และไม่กล้า ในการดูแลสะดือที่เพิ่งถูกตัด ซึ่งจะมีความยาวประมาณ
1 นิ้ว หลังจากนั้น 2 วันสายสะดือของเจ้าตัวน้อยจะเริ่มเหี่ยวการสัมผัสกับอากาศ
เป็นตัวการช่วยเร่งให้สายสะดือแห้งและหลุดเร็วขึ้น ในที่สุดสายสะดือก็จะหลุดไปเอง
ในระหว่างการมาคลอดในโรงพยาบาลมารดาทุกรายจึงต้องมีความรู้และสามารถกลับไปดูแลสะดือทารกต่อที่บ้าน
เพราะสะดือจะเริ่มแห้งแต่ยังไม่หลุดซึ่งต้องใช้เวลานาน
1-2 สัปดาห์ ในบางรายอาจพบสะดือแฉะมีน้ำซึมหรือมีเลือดออก การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคเช็ดบ่อยๆก็จะทำให้หายได้
แต่จากการปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยสูติ-นรีเวช
พบว่า มารดาหลังคลอดส่วนใหญ่มักกลัวการเช็ดสะดือให้กับทารก
กลัวว่าลูกน้อยจะเจ็บ ไม่กล้าเช็ดถึงโคนสะดือ เช็ดเฉพาะที่ผิวสะดือบนเหนือผิวหนังขึ้นมา
และ/หรือ เช็ดบริเวณผิวหนังบริเวณท้องของลูกน้อยเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอ
จึงทำให้สะดือคงเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อและเกิดติดเชื้อลุกลามมากขึ้นได้ ในการเช็ดสะดือต้องเช็ดให้ถึงโคนสะดือ ซึ่งจะต้องมีการดึงหรือยกสะดือขึ้นเบาๆเพื่อให้สามารถสอดใส่ก้านสำลีสะอาดเข้าไปเช็ดทำความสะอาดได้
จากภารกิจดังกล่าวนี้ทำให้มารดาส่วนใหญ่ไม่กล้าเช็ดทำความสะอาดสะดือทารกจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้อาจเกิดการติดเชื้อสะดือทารกและส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ
การเจริญเติบโตของทารก เกิดความไม่สุข
สงบในครอบครัว และเกิดค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองให้กับโรงพยาบาล
จากการปฏิบัติงาน มักพบปัญหาดังกล่าวเสมอๆ
จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้การดูแลพยาบาลอย่างใกล้ชิด และมีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติของผู้ป่วยก่อนกลับบ้านทุกราย
จากผลการให้การพยาบาลในปี 2555, 2556 และ
2557 พบอัตราการกลับมารักษาซ้ำด้วยสาเหตุสะดืออักเสบ
คิดเป็นร้อยละ0.35, 0.16 และ 0 ตามลำดับ การให้การพยาบาลหนึ่งต่อหนึ่ง
ระหว่างการสอนและประเมินอย่างใกล้ชิด พบว่าเกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งต่อทารก
ต่อครอบครัว และช่วยลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อมารดาสามารถเช็ดสะดือทารกได้ถูกต้อง
2. ลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำของทารกด้วยสะดือติดเชื้อ
ตัวชี้วัดคุณภาพ
1. อัตราการติดเชื้อสะดือทารกขณะพักในโรงพยาบาล:หอผู้ป่วยสูติ-นรีเวช
= 0
2. อัตราการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน จากสาเหตุการติดเชื้อสะดือทารก < ร้อยละ 0.1
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.
ทารกเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย
2.
มารดาและครอบครัวมีความสุข
3.
ลดจำนวนการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาล
เริ่มปฏิบัติ ( 1 ต.ค. 55 – 30 ก.ย. 57 ) ระยะเวลา 24 เดือน
แนวทางในการปฏิบัติ
1. ประเมินลักษณะสะดือทารกเมื่อแรกรับเวร ทุก 8 ชั่วโมง
2. แยกอุปกรณ์ในการอาบน้ำทารก โดยใช้ 1:1 ไม่ปะปน เช่น กะละมังอาบน้ำ ไม้พัน
สำลีสำหรับเช็ดสะดือทารก น้ำยาเช็ดสะดือทารก
3. จัดน้ำยาล้างมือให้มารดาที่เตียงสำหรับทำความสะอาดมือก่อนและหลังสัมผัส
ทารก
4. ประชาสัมพันธ์ให้กับมารดา ครอบครัวและญาติในการใช้น้ำยาล้างมือเพื่อทำความ
สะอาดมือก่อนและหลังสัมผัสทารก
5. สาธิตการเช็ดสะดือทารกให้มารดารายบุคคลอย่างใกล้ชิดทุกรายตามขั้นตอน ดังนี้
5.1 ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังเช็ดสะดือทุกครั้ง
5.2 ใช้ไม้พันสำลี(cotton bud)ที่ปราศจากเชื้อเช็ดบริเวณโคนสะดือก่อนเพื่อทำ
ความสะอาดคราบ discharge เดิมออกจนสะอาดก่อนซึ่งสามารถเช็ดได้หลายๆครั้งจนกว่าจะสะอาด
โดยประเมินจากลักษณะของdischarge ที่ติดมากับไม้พันสำลี
5.3 เมื่อบริเวณโคนสะดือและสายสะดือสะอาดแล้วให้ใช้ไม้พันสำลีจุ่มน้ำยาฆ่า
เชื้อโรค Trıple dye เช็ดบริเวณที่โคนสะดือก่อนและนำทิ้งไป
5.4
ใช้ไม้พันสำลีชิ้นใหม่จุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
Trıple dye และเช็ดที่สายสะดือโดย
เช็ดวนจนรอบสายสะดือจากส่วนโคนวนขึ้นมาที่ปลายสายสะดือและทิ้งไป
5.5 การเช็ดสายสะดือให้เช็ดจนสายสะดือเปลี่ยนสีเป็นสีของน้ำยาจนทั่วทั้งสาย
สะดือ และสามารถเช็ดได้ไม่จำกัดจนกว่าสายสะดือจะเปลี่ยนสีเป็นสีของน้ำยา
Trıple dye
5.6 เช็ดผิวหนังรอบสะดือ
วนรอบออกไปจากโคนสะดือประมาณ 1 เซนติเมตร
5.7 แนะนำจำนวนครั้งของการเช็ดสะดือทารกแก่มารดาและญาติ ควรเช็ดอย่าง
น้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
6. ประชาสัมพันธ์กับมารดา ครอบครัวและญาติ เรื่องความสะอาดเครื่องผ้าของทารกควรซักสะอาด
เพื่อป้องกันการปนเปื้อนต่างๆจากเครื่องผ้า
7. ติดตามประเมินการเช็ดสะดือทารกโดยให้มารดา/ผู้ดูแลได้สาธิตย้อนกลับทุกราย
และ
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลเสียของการเช็ดสะดือทารกไม่สะอาด
8. ให้คำแนะนำสำหรับมารดาและญาติก่อนกลับบ้านทุกราย
ดังนี้
8.1
เมื่อสะดือใกล้จะหลุดอาจมีน้ำเหลืองหรือเลือดออกห้ามใช้แป้งและยาโรยสะดือ
เพราะจะทำให้ดูเหมือนสะดือแห้งดี
ส่วนรอยต่อระหว่างสะดือกับผิวหนังหน้าท้องยังแฉะอยู่ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อโดยเฉพาะการติดเชื้อที่กระแสเลือดซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงทำให้ลูกมีความเสี่ยงที่จะถึงแก่ชีวิตได้
8.2
อย่าปล่อยให้ลูกใส่เสื้อผ้าที่ไม่สะอาดหรือนอนแช่ปัสสาวะ
8.3 การห่อหรือพันผ้าที่สายสะดือไม่จำเป็นเพราะถ้าผ้าสกปรกจะเกิดการอักเสบติดเชื้อ
ได้มากขึ้น
8.4 ถ้าสังเกตพบว่าสะดือมีกลิ่นเหม็นและผิวหนังรอบสะดือบวมแดงหรือสะดือยังแฉะอยู่หลายวัน
หลังจากสะดือหลุดแล้วควรพาลูกมาพบคุณหมอ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.ไม่เกิดการติดเชื้อที่สะดือทารกขณะพักรักษาในหอผู้ป่วยสูติ-นรีเวช
2. อัตราการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน จากสาเหตุติดเชื้อสะดือทารก เสนอดังตาราง
รายการ
|
ปี 2555
|
ปี 2556
|
ปี 2557
|
1.จำนวนทารกแรกเกิดคลอดและจำหน่ายจากหอผู้ป่วยสูติ-นรีเวช
|
1,156
|
1,213
|
1,113
|
2.จำนวนทารกแรกเกิดติดเชื้อสะดือในโรงพยาบาล
|
0
|
0
|
0
|
3.อัตราทารกแรกเกิดติดเชื้อสะดือ
ในโรงพยาบาล
|
0
|
0
|
0
|
4.จำนวนทารกกลับมารักษาซ้ำจากสาเหตุการติดเชื้อสะดือ
|
4
|
2
|
0
|
5.อัตรากลับมารักษาซ้ำใน28วันจากสาเหตุทารกติดเชื้อสะดือ(ร้อยละ)
|
0.35
|
0.16
|
0
|
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. เจ้าหน้าที่มีความสุขในการให้บริการ
และเกิดความภูมิใจเมื่อเห็นมารดาสามารถปฏิบัติตามได้
ปัญหาอุปสรรค
1.
มารดาและญาติยังไม่เห็นความสำคัญของการล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังเช็ดสะดือทารก
2.
การสื่อสารในมารดาต่างชาติเกิดความเข้าใจไม่ตรงกันเนื่องจากไม่เข้าใจภาษาพูด
3. ระบบการประสานงานการเยี่ยมเมื่อกลับไปบ้านติดตามได้ไม่ครบถ้วน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น