วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

ต่อยอดความคิดพิชิตตกเลือดหลังคลอด




ชื่อโครงการ  ต่อยอดความคิดพิชิตตกเลือดหลังคลอด

หลักการและเหตุผล
          การเสียเลือดจากการคลอด  เป็นภาวะที่พบได้ในมารดาคลอดทุกราย  ทั้งการคลอดปกติและการคลอดผิดปกติ  การตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก  ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการตายของมารดา  การพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางด้านสูติกรรม  มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้มีการปรับเปลี่ยนการดูแลตามระยะของการคลอดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  มีการใช้แนวคิดการพัฒนา  ANC คุณภาพ LR คุณภาพ มาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการดูแลมารดา-ทารกเพื่อได้เกิดความปลอดภัย  รวมทั้งการป้องกันการฟ้องร้องทางด้านสูติกรรม
          การดูแลมารดาหลังคลอดในห้องคลอด  ยังพบว่ายังมีมารดาคลอดมีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก 
และมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น  จากสถิติการคลอดโรงพยาบาลพระพุทธบาท
ในปี  2555 มีผู้คลอดเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจำนวน  10  ราย  ตัดมดลูก  2  ราย
ในปี  2556 มีผู้คลอดเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจำนวน  14 ราย  ตัดมดลูก  1  ราย
ในปี  2557 มีผู้คลอดเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจำนวน  13  ราย  ตัดมดลูก  8 ราย   รวมถึงมีภาวะ Shock  ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต   ต้องเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักจำนวน    4     ราย  ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้น

วัตถุประสงค์     การต่อยอดความคิดพิชิตตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
          1.เพื่อพัฒนาทักษะของพยาบาลในการดูแลและการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
          2.เพื่อลดอัตราการตกเลือดหลังคลอด
          3.เพื่อความปลอดภัยของมารดาที่มาคลอด

ตัวชี้วัดคุณภาพ  /  เป้าหมาย
          1.อัตราตายของมารดาจากการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก  = 0
          2.อัตราการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกน้อยกว่า  5  %
          3.ผู้ทำคลอดประเมินการเสียเลือดไดถูกต้อง  100  %
          4.คะแนนความพึงพอใจของผู้รับบริการมากกว่า  85 %

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          1.ผู้ทำคลอดมีทักษะในการทำคลอดรกแบบ  Cord   Controlled    Traction 
          2.บุคลากรพยาบาลห้องคลอดสามารถคลึงมดลูกหลังคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ
          3.มารดาคลอดปลอดภัยจากภาวะการตกเลือดหลังคลอด
          4.ลดข้อร้องเรียนในงานบริการคลอด
         
          ด้วยปัจจัยดังกล่าว  หน่วยงานห้องคลอดจึงเห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการบริการ
ห้องคลอด  เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการตกเลือดหลังคลอดมากขึ้น
เริ่มปฏิบัติ   ( 1 ก.ค. 56 30 ก.ค. 57 ) ระยะเวลา  12 เดือน
         
 แนวทางในการปฏิบัติต่อยอดความคิดพิชิตตกเลือด
          1.มีการติดตามความก้าวหน้าของการคลอดโดยใช้  Partograph
          2.การวัดสัดส่วนคาดคะแนนน้ำหนักเพื่อป้องกันการคลอดติดขัด
          3.การให้สารน้ำก่อนคลอดทุกรายเพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลรักษา
          4.การคลึงมดลูกแบบ Bimanual  Uterine  Compression
          5.การประเมินการเสียเลือดหลังคลอดทุกราย  โดยการชั่ง ตวงเลือด
          6.ปรับการให้ยาหลังรกคลอดจากเดิมใช้  Methergin  เป็นยา  Syntocinon  แทน
          7.มีระบบการจองเลือดให้มารดาที่ตกเลือดหลังคลอดแบบผสมผสาน
          8.การเตรียมความพร้อมของทีมและอุปกณ์ในการดูแลมารดาหลังคลอด
          9.การรายงานแพทย์แบบคู่ขนานในภาวะวิกฤติฉุกเฉิน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
          1.มีการเฝ้าคลอดในมารดาที่ไม่มีข้อบ่งชี้ของการคลอดด้วย  Partograph  ทุกราย
          2.มีการคาดคะเนน้ำหนักก่อนคลอดทุกราย
3.พยาบาลวิชาชีพทำคลอดรกแบบ  Cord   Controlled    Traction  ได้
          4.ผู้รับบริการพึงพอใจ  = 87.40 %
          5.อัตรามารดาตกเลือดหลังคลอด =  0.55 % ของการคลอด
          6.อัตราตายของมารดาจากการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก  0 : 100000 ราย
          7.ไม่มีข้อร้องเรียนจากการคลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการต่อยอดความคิดพิชิตตกเลือด ( 1 ก.ค. 56 31 ก.ค. 57 )
ลำดับ
รายการ
จำนวน (ราย )
หมายเหตุ
1
มารดาคลอดปกติ
1,081

2
มารดาคลอดใช้เครื่องสูญญากาศ
12

3
มารดาคลอดใช้คีมช่วยคลอด
13

4
มารดาคลอดท่าก้น
9

5
มารดาตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
6
0.55 % การคลอด
6
เฝ้าคลอดระยะที่ 1 โดยใช้ Partograph
810

7
มารดาคลอดมีแผลฝีเย็บ
927

8
มารดาตายจากการตกเลือดระยะแรก
0

9
มารดาตกเลือดหลังคลอดตัดมดลูก
1
0.09 % การคลอด
หมายเหตุ        ต่อยอดความคิดพิชิตตกเลือด
         
กิจกรรมที่ดำเนินการไป
          1.มีการเสริมความรู้ในการดูแลมารดาตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
          2.มีการประเมินทักษะการทำคลอดรกแบบ Cord   Controlled    Traction 
          3.มีการนิเทศติดตามการประเมินการเสียเลือดหลังคลอด
          4.มีการร่วมคิดนวตกรรมการประเมินเลือดที่ดีที่สุดถูกต้องมากที่สุด
          5.การขอเลือดมีภาวะตกเลือด
                             - สูตรที่ 1  PRC : FFP : Plt = 1:1:1
                             - สูตรที่ 2  PRC : FFP : PH = 6:4:1
คุณสุมนา,คุณอิสรีย์ และคณะ
วันที่  1 ตุลาคม 2557

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น