วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การมอบหมายงาน แบบCase modality

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ(Process innovation)
หอผู้ป่วยอายุรกรรม 3 รพท.พระุพุทธบาท
เรื่อง การมอบหมายงาน แบบCase modality
หลักการและเหตุผล
          การมอบหมายงานเป็นกระบวนการหนึ่งของการจัดบริการพยาบาล ในการจัดการบริการพยาบาลสำหรับบริการนั้นเน้นการบูรณาการ 4มิติเข้าด้วยกัน คือ การรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันการเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสภาพซึ่งจำเป็นต้องจัดขึ้นอย่างมีรูปแบบและมองเห็นผลผลิตของการบริการอย่างชัดเจน การจัดระบบบริการพิจารณาจากแนวคิด         การจัดการคุณภาพ(Quality management) และการจัดการความเสี่ยง(Risk management)(พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ 2545,หน้า 75 – 83)
          การมอบหมายงานเป็นทักษะสำคัญของผู้บริหาร เป็นตัวกระตุ้นให้การทำงานในองค์กรเกิดความคล่องตัวและรวดเร็ว  การมอบหมายงานเป็นเครื่องมือของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ช่วยในการจัดบริการที่ต้องคำนึงถึงสมรรถนะทั้งทางด้านความรู้และประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติ(เสาวภา ไกรศรีวรรธนะและคณะ โครงการพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลหอผู้ป่วยใน รพ.อดรธานี)
          การมอบหมายงาน มีความเกี่ยวข้องกับ การจัดแบ่งงาน(allocation) ต้องคำนึงถึงศักยภาพของผู้ปฏิบัติ อำนาจ ( Authority) ต้องกำหนดให้ชัดเจน ว่าทำอะไร อย่างไร และความรับผิดชอบเชิงวิชาชีพ(Accountability) ผู้ปฏิบัติต้องมีความตระหนักต่อผลการปฏิบัติที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้จะต้องมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้แน่นอน ขอบเขตและอำนาจในการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงานรวมถึงความรู้สึกรับผิดชอบในสิ่งที่ปฏิบัติ (จินตนา วัชรสินธุ์.คู่มือการนิเทศ ,2539)
การมอบหมายงานของหอผู้ป่วยอายุรกรรม 3 ที่ผ่านมา มีการมอบหมายงานทั้งลักษณะเป็นทีม เป็นหน้าที่ และแบบผสม พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นทั้งการรักษาพยาบาล การบริหารยา เวชระเบียน ข้อขัดแย้ง รวมถึงคุณภาพชีวิตของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกับความพึงพอใจในงาน อย่างต่อเนื่อง หอผู้ป่วยอายุรกรรม 3 เห็นถึงปัญหานี้ จึงได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบการมอบหมายงาน เพื่อลดและป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว
วัตถุประสงค์
-          เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
-          เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่


วิธีการดำเนินงาน
          1.วิเคราะห์ผลการดำเนินงานในรอบปี 2556ที่ผ่านมา (ความเสี่ยง บรรยากาศหน่วยงาน ตัวชี้วัด)
2.แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการศึกษาดูงาน รพ.นครพิงค์ ตัวอย่างการปฏิบัติจาก รพ.สระบุรี หอผู้ป่วยไอซียู และหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤติ รพ.พระพุทธบาท
3.รวบรวมเหตุการณ์/การปฏิบัติงานที่เป็นปัญหา/อุปสรรคจากการมอบหมายงานที่ผ่านมา
4.ประชุมปรึกษา กำหนดแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน
5.ประชุมชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ได้รับทราบโดยทั่วถึงกัน
6.ทดลองปฏิบัติในเวรเช้า วิเคราะห์และประเมินผลเป็นเวลา 2 สัปดาห์
7.ดำเนินการครอบคลุมเวรเช้า บ่าย ดึก
8.วิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินการทุก สัปดาห์ 2สัปดาห์ และทุก 1 เดือน ตามลำดับ
9.ประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ก่อน - หลังการปฏิบัติ
10.รวบรวมแนวทางการปฏิบัติ

ผลการดำเนินงาน
จากการดำเนินงาน มอบหมายงานลักษณะ case modality ได้สรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้
1.ประเมินจุดเด่น จุดด้อย รูปแบบการมอบหมายงานที่ผ่านมาและการมอบหมายงานที่ปรับใหม่

การมอบหมายงาน case modality
การมอบหมายงาน Multiple modality
1.พยาบาลเจ้าของไข้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ทั่วถึงทราบข้อมูลของผู้ป่วย มีผู้ป่วยอยู่ในความรับผิดชอบเฉลี่ย 7 – 8 ราย/เวร
1.Incharge รับผิดชอบการดูแลผู้ป่วยทั้งหมด ทำให้ดูแลผู้ป่วยไม่ทั่วถึง รู้จักผู้ป่วยบางราย
2.มีการวางแผนงาน จัดลำดับงาน บริหารเวลา ลงเวรได้ตามเวลาเช่นเดียวกับหน่วยงานอื่น
2.ทำงานเสร็จไม่ทันตามเวลา ลงเวรล่าช้า
3.ทราบแผนการรักษาของผู้ป่วยทุกคนที่รับผิดชอบ
3.ปฏิบัติตามแผนการรักษาไม่ครบถ้วน ล่าช้า ไม่ทันเวลา
4.Complete chart ได้ครบถ้วน เขียนบันทึกการพยาบาลได้ครอบคลุม
4.เวชระเบียนไม่ครบถ้วน บันทึกการพยาบาลไม่ครอบคลุม ครบถ้วนตามแนวทางการบันทึก
5.ตรวจสอบการปฏิบัติงานง่าย และประเมินสมรรถนะของเจ้าหน้าที่สะดวก
5.มีอุบัติการณ์ ข้อขัดแย้งในการทำงาน ประเมินสมรรถนะยากบ่งชี้ได้ไม่ชัดเจน
6.กระจายความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วย เจ้าของไข้มีความตั้งใจในการรับ- ส่ง ข้อมูล กระตือรือร้นในการดูแลผู้ป่วย
6.Incharge รับผิดชอบมากกว่าสมาชิกทีม ในการรับ -ส่งข้อมูล เนื่องจากต้องใช้ข้อมูลในการประสานการดูแล และส่งข้อมูลอาการเปลี่ยนแปลงให้เวรถัดไปสมาชิกทีมทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย(routine)
7.ผู้ป่วยที่เป็นเตียงแทรกอยู่บริเวณระเบียงได้รับการดูแลที่ทั่วถึง มีคนรับผิดชอบเฉพาะเจาะจง
7.ได้รับมอบหมายแต่ชื่อแต่ไม่ได้รับการดูแลที่เฉพาะเจาะจง
8.ตรวจสอบ P4Pได้ง่ายและตรงความเป็นจริง
8.ตรวจสอบ P4P ยากเพราะเป็นการทำงานลักษณะช่วยกัน ไม่เฉพาะเจาะจงผู้ป่วยที่รับผิดชอบ

2.มีนวตกรรมเกิดขึ้นดังนี้
- คาร์เด็กที่ง่ายและสะดวกต่อการรับ ส่ง- เวร
- แฟ้มใบบันทึกยารับประทาน ยาฉีด (รวมอยู่กับ คาร์เด็ก) ง่ายต่อการรับ ส่งข้อมูลยา การให้ข้อมูลแพทย์ขณะเยี่ยมตรวจ
- แบบบันทึกการมอบหมายงานเพื่อความเหมาะสมกับการมอบหมาย case modality งานที่เป็นส่วนกลางมีผู้รับผิดชอบโดยตรง เช่น การส่งยอดประจำวัน การเบิกอาหาร การเตรียมรถตามroundกำหนดการจัดลำดับการรับผู้ป่วยใหม่ / รับย้าย เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสในการรับผู้ป่วยใหม่โดยเท่าเทียมกัน
-รถใส่ chart เฉพาะบุคคล
-สมุด รับ ส่ง เวรเฉพาะบุคคลเพื่อความต่อเนื่องในการติดตามข้อมูล
3.มีแนวทางที่กำหนดขึ้นใหม่ ดังนี้
       1.การมอบหมายผู้ป่วยสำหรับพยาบาลใหม่ และพยาบาลที่มีประสบการทำงานมากกว่า 2 ปีขึ้นไป
       2.แนวทางการประชุมปรึกษาก่อน หลัง การพยาบาล
       3.แนวทางการมอบหมายประเภทผู้ป่วยตามสมรรถนะแต่ละบุคคล
       4.การทบทวนวิชาการในหอผู้ป่วย(Nursing conference)
       - นวตกรรมร่วมกับหน่วยงานเภสัชกรรม เรื่อง การลดข้อผิดพลาดในการบันทึกใบแจ้งการใช้ยา
4.ผลการประเมินความพึงพอใจการมอบหมายงานรูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่
การมอบหมายรูปแบบเดิม มีค่า SD = 0.43 – 0.85 ซึ่งเป็นความพึงพอใจที่ไม่แตกต่างกันในจำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 13 คน ค่าเฉลี่ย(x) 2.86 อยู่ในระดับความพึงพอใจปานกลาง
การมอบหมายงานแบบ case modality ค่า SD = 0.43 – 1.40 ซึ่งเป็นความพึงพอใจที่ไม่แตกต่างกันในจำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 13 คน ค่าเฉลี่ย(x) 4.19 อยู่ในระดับความพึงพอใจ มากถึงมากที่สุด
5.อุบัติการณ์เรื่องการบริหารยา/การปฏิบัติตามแผนการรักษา

ความล่าช้าในการปฏิบัติตามแผนการรักษา ช่วงเดือน ต.ค.56-มี.ค.57 จะเป็นในผู้ป่วยรับใหม่ ซึ่งถึงระดับที่ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงต้องแก้ไข เมื่อมีการปรับรูปแบบการมอบหมายงาน พบว่า เป็นอุบัติการณ์เกี่ยวกับการติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ ซึ่งเป็นระบบที่ผู้มาใหม่ไม่คุ้นชิน
การนำไปใช้ในงานประจำ
          ในหน่วยงานที่มีผู้ป่วยยอดคงที่ เช่น หอผู้ป่วยพิเศษ หรือ หอผู้ป่วยที่ผู้ป่วยไม่ยุ่งยากซับซ้อนสามารถนำการมอบหมายงาน case modality ไปใช้ได้ง่ายกว่า หอผู้ป่วยที่มีผู้ป่วยไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงยอดผู้ป่วยในแต่ละเวร จะมีความยุ่งยากมากกว่า เนื่องด้วยมีตัวแปรมาก แต่ไม่เป็นอุปสรรค ถ้าเรามีระบบการบริหารจัดการที่ดี


บทเรียนที่ได้รับ/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1.เกิดจากความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ต้องการลดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ข้อขัดแย้ง ปรับปรุงบรรยากาศในการทำงาน เพิ่มคุณภาพชีวิต แม้ว่าปริมาณผู้ป่วย และความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้นก็ตาม
2.เจ้าหน้าที่มีความพร้อมที่จะช่วยกันปรับปรุง และแก้ไขเมื่อมีปัญหา อุปสรรคเกิดขึ้น
3.ทีมงานมีความสำคัญในการที่จะพัฒนางานใหม่ให้ประสบความสำเร็จ ไม่มองปัญหาเป็นอุปสรรค มีการให้กำลังใจ และพูดว่า ลองทำดูก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น