วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

หมอนคางหมู

ที่มาของปัญหา

        •  ผู้ป่วยที่มีได้รับบาดเจ็บบริเวณส่วนปลายขาหรือมีแผลบริเวณขา การดูแลควรให้ผู้ป่วยวางส่วนขา                ให้สูงกว่าระดับหัวใจ
     •  หอผู้ป่วยศัลยกรรม 3 ให้บริการผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ขา เดิมยกอวัยวะส่วนขาให้สูงโดยใช้หมอนรูป  สี่เหลี่ยมผืนผ้ารองขาแต่บริเวณต้นขาผู้ป่วยไม่มีส่วนรองรับ ต้องใช้ผ้าห่มสอดพยุงบริเวณใต้ต้นขา   ทำให้ผู้ป่วยเกิดความไม่สุขสบาย

วัตถุประสงค์
      
      •   เพื่อช่วยให้การไห ลเวียนโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายได้สะดวกขึ้น ลดอาการบวมและปวด 
     •   เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับรับความสุขสบาย
     •   เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจ

 วิธีดำเนินการ
    •   ออกแบบหมอนรองขาให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู โดยบริเวณที่เป็นรูปสามเหลี่ยมให้รองรับบริเวณใต้    ส่วนของต้นขา



  ผลการดำเนินงาน

       การนำหมอนคางหมูไปใช้ในการยกขาผู้ป่วยให้สูงขึ้น ทำให้การไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายได้สะดวกขึ้น ลดอาการบวมและปวด ผู้ป่วยได้รับรับความสุขสบายและเกิดความพึงพอใจโดยไม่ต้องขยับส่วนขาเพื่อให้ผ้าห่มที่สอดพยุงบริเวณใต้ต้นขาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม


บทเรียนที่ได้รับ

       การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเราสามารถทำได้จากการสังเกตและเรียนรู้จากการทำงาน เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพเกิดความพึงพอใจในการดูแล ถือว่าเป็นการเพิ่มคุณค่าของงานที่ทำได้ แค่เปลี่ยนจากสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ก็ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีขึ้นแล้ว

                                                                         
                                                                       โดย ทีมพยาบาลศัลยกรรม 3 
                                                                             รพ.พระพุทธบาท 

1 ความคิดเห็น: