วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลระหว่างเวร

ชื่อโครงการ    ผลของการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลระหว่างเวร   
ชื่อผู้วิจัย            
                        นางเจียมจิตต์           เฉลิมชุติเดช    หัวหน้าหอผู้ป่วยเด็ก 2 โรงพยาบาลพระพุทธบาท
นางสาวนงนารถ   โฉมวัฒนา           พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ
นางชูวลี                 เจริญสุข          พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ
นางสาวณัฐพัชร์    ทองสีนาค           พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ
นางสาวพรทิพย์    บุญเปลี่ยน          ผู้ช่วยเหลือคนไข้

ชื่อหน่วยงาน       หอผู้ป่วยเด็ก 2 โรงพยาบาลพระพุทธบาท

ที่มาของปัญหา
จากการปฏิบัติงานที่ผ่านมาเกิดปัญหาการดูแลผู้ป่วยที่คลาดเคลื่อนซึ่งเป็นอุบัติการณ์ความเสี่ยงทางการพยาบาลเกิดขึ้น เช่น การลืมเจาะน้ำตาลในเลือด ในทารกที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ตามเวลาที่แพทย์กำหนด  
ลืมตามฟิล์ม X-ray  ลืมส่งผู้ป่วยตรวจ ROP ตามนัด    ให้ยาผิดเวลาไม่ตรงตามแผนการรักษาของแพทย์        ความคลาดเคลื่อนเหล่านี้อาจเป็นผลให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงชีวิต  เนื่องจากได้รับการรักษาหรือการดูแลที่ล่าช้า       ซึ่งอุบัติการณ์ความเสี่ยงเหล่านี้  เป็นผลมาจากการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยระหว่างเวรไม่มีประสิทธิภาพ   ได้แก่ ส่งข้อมูลที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยไม่ครบถ้วน  บางครั้งผู้ส่งข้อมูล  ซึ่งได้ส่งข้อมูลแล้วแต่ผู้รับเวรไม่มีความพร้อมในการรับฟัง    ขาดสมาธิ ไม่มีอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการจดบันทึก ไม่มีระบบการจัดเก็บที่เป็นระเบียบ    ข้อมูลที่จดบันทึกสูญหายทำให้ขาดหลักฐานเวลาที่ต้องการใช้อ้างอิง  และนอกจากนี้ บางครั้งยังมีเสียงดังรบกวนในขณะรับส่งข้อมูล    ซึ่งได้แก่ เสียงร้องของเด็กป่วย  เสียงญาติคุยกัน  เสียงโทรศัพท์ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยทำให้การรับส่งเวรไม่มีประสิทธิภาพ    เป็นผลให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องทันเวลา     
            กลุ่มเด็กสร้างสรรค์ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้  จึงมีความต้องการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลผู้ป่วยระหว่างเวรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลผู้ป่วยระหว่างเวร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย
            1. เพื่อลดอุบัติการณ์ความผิดพลาดในขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยเนื่องจากการรับส่งข้อมูลระหว่างเวรไม่มีประสิทธิภาพ
            2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจจากการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลระหว่างเวร ของพยาบาลประจำการ

ระเบียบวิธีวิจัย      ใช้ระเบียบวิธีวิจัย Research and Development  มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

วิเคราะห์สาเหตุ
  สาเหตุของปัญหาในการรับส่งข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ สามารถวิเคราะห์โดยใช้ แผนภูมิก้างปลา
( Fishbone Diagram)    ดังนี้
 วิธีการพัฒนา
     ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลผู้ป่วยระหว่างเวรให้เป็นมาตรฐาน ทั้งในด้านบุคลากร ด้านข้อมูลในการสื่อสาร ด้านอุปกรณ์ในการจดบันทึก และด้านการจัดสิ่งแวดล้อม  ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
หลังจากดำเนินการรับส่งข้อมูลระหว่างเวรตามการพัฒนาระยะที่ 1 เป็นเวลา  3   เดือน ตั้งแต่ 
1 พฤษภาคม 2553 30 กรกฎาคม 2553  ตามแนวทางข้างต้น       ประเมินผลโดยประเมินคุณภาพการบันทึกการรับส่งข้อมูลระหว่างเวร  ซึ่งประเมินโดยหัวหน้าหอผู้ป่วย  ประเมินผลความพึงพอใจต่อการใช้ระบบการรับส่งข้อมูลระหว่างเวร   ซึ่งประเมินโดยพยาบาลประจำการจำนวน 14 คน   และจากการเก็บอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่เกิดจากการรับส่งข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ    จากนั้นกลุ่มเด็กสร้างสรรค์ได้รวบรวมผลการประเมินเข้าที่ประชุมประจำเดือน  เพื่อขอข้อเสนอแนะจากเจ้าหน้าที่ทุกคนในการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติและพัฒนาเป็นระบบการรับส่งข้อมูลระหว่างเวรระยะที่ 2 ได้ดังนี้
1.     ทำความเข้าใจการใช้แบบบันทึกการรับส่งข้อมูลระหว่างเวรแก่พยาบาลประจำการซ้ำอีกครั้ง
2.     เพิ่มระบบการตรวจติดตามการใช้และการจัดเก็บแบบบันทึกการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีรูปแบบดังนี้
2.1 การประเมินผลการใช้แบบบันทึกการรับส่งข้อมูลระหว่างเวรเป็นระยะทุก 1,3 และ 6 เดือน
2.2 การจัดเก็บ   มีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบในกล่องเก็บใกล้โต๊ะรับเวร
2.3 รูปแบบการจัดทำแบบบันทึก  ให้ทำเป็นเล่ม ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ประจำเล่ม      
3.     จัดสถานที่การรับส่งเวรใหม่   โดยให้ห่างจากความพลุกพล่านของผู้ป่วยและญาติ
4.     การใช้คำย่อ  ไม่ใช้คำย่อที่ไม่เป็นสากล
5.     กำหนดให้ Leader  ทีมที่ส่งเวร เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยขณะรับ ส่งเวร  และ
กำหนดให้ Aid ทีมที่ส่งเวร เป็นผู้ดูแลต้อนรับญาติและช่วยแก้ไขสิ่งที่ทำให้เกิดเสียงการรบกวนอื่น ๆ

            กลุ่มตัวอย่าง        เจ้าหน้าที่ประจำหอผู้ป่วย ตึกเด็ก 2 โรงพยาบาลพระพุทธบาท จำนวน  14  คน
            สถานที่              ตึกเด็ก 2 โรงพยาบาลพระพุทธบาท
            ช่วงเวลา             1 พ.ค. 53 - 31 ต.ค. 53
            การวิเคราะห์ข้อมูล            ความถี่และค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษา

















การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ  ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน

จากผลการวิจัย  ผู้วิจัยได้นำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในงานประจำ  โดยกำหนดเป็นมาตรฐานในการรับส่งข้อมูลผู้ป่วยระหว่างผู้ปฏิบัติงานในการเปลี่ยนเวร ( Communication  During  Patient  care Handovers )  เพื่อส่งมอบข้อมูลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพลดการเกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงทางการพยาบาล   ได้ดังนี้

ด้านบุคลากร
1.   กำหนดให้ 1 ชั่วโมง ก่อนส่งเวร  Incharge ต้องติดตามงานและแก้ไขประเด็นปัญหาต่างๆ  และก่อนส่งเวร 30 นาที จัดให้มี Post Conference กับทีมเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานและเป็นการรวบรวมข้อมูล
ก่อนส่งเวร
2.   เจ้าหน้าที่ทุกคนมารับเวรตรงเวลาดังนี้ เวรเช้าเวลา 08.00 น. เวรบ่ายเวลา 16.00 น.เวรดึกเวลา 24.00 น. ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่สามารถมาตามเวลาได้ ให้แจ้งก่อน 15  นาที  ถ้าไม่ปฏิบัติตามจำนวน  2  ครั้งถูกตักเตือนโดยหัวหน้าหอผู้ป่วย  และถ้าเกิน 5 ครั้ง มีผลต่อการพิจารณาความดีความชอบในรอบ  6  เดือน
3.   ขณะรับ ส่งเวร  งดปฏิบัติกิจกรรมอื่น เช่น คุยโทรศัพท์  ดื่มกาแฟ พูดคุยกับบุคคลอื่น เป็นต้น
4.   เจ้าหน้าที่ก่อนมาปฏิบัติงานควรพักผ่อนให้เพียงพอ  เพื่อให้มีสภาพร่างกายและจิตใจ สมบูรณ์ พร้อมปฏิบัติงาน และทำสมาธิก่อนรับเวรโดยหลับตานาน 10 วินาทีพร้อมกัน  
5.   กำหนดให้มีการ pre – conference ก่อนปฏิบัติงานทุกเวร เพื่อทบทวนข้อมูลที่ได้รับ และสื่อสารให้ตรงกันในทีมการพยาบาล

ด้านข้อมูลที่ต้องสื่อสาร
        1.ใช้หลัก SBAR
            S = Situation  ได้แก่  หมายเลขเตียง   ชี่อ สกุลผู้ป่วย  สถานการณ์ผู้ป่วย และเวลาที่เกิดปัญหา
B = Background  ได้แก่ ข้อมูลภูมิหลังเกี่ยวกับสถานการณ์  Diagnosis  บัญชีรายการยา  สารน้ำที่ได้รับ  การแพ้ยา  ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
A = Assessment  การประเมินอาการ และปัญหาที่สำคัญของผู้ป่วย
R = Recommendation      ข้อแนะนำในการดูแลต่อเนื่องในเวรต่อไป
        2.จัดสรรเวลาให้เพียงพอ สำหรับสื่อสารข้อมูลสำคัญ และการถามตอบในประเด็นสงสัย  โดยไม่มีการขัดจังหวะ
        3. มีการทวนซ้ำ ( repeat back )  และอ่านซ้ำ ( read back ) ในข้อมูลที่สำคัญ
ด้านอุปกรณ์
1. รับเวรโดยใช้สมุดรับเวรตามมาตรฐานที่ได้จัดทำไว้ โดยจัดทำสมุดรับเวรเป็นรายบุคคลซึ่งมีรายละเอียดดังนี้  หมายเลขเตียง ชื่อผู้ป่วย อาการและอาการแสดง  กิจกรรมที่ต้องปฏิบัติต่อเนื่องในเวร  และการประเมินผลโดยใช้สัญลักษณ์        ü ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว      û ไม่สามารถดำเนินการได้  ให้ระบุเหตุผลคร่าว ๆ ด้วย
2.     เก็บสมุดรับเวรในกล่องที่จัดไว้ให้ เพื่อสะดวกในการหยิบใช้งานและง่ายต่อการตรวจสอบ


ด้านสิ่งแวดล้อม
1. รับ-ส่งเวรในบริเวณที่จัดไว้ให้   ซึ่งเป็นสถานที่ไม่มีคนพลุกพล่าน
2. ปิดประตูห้อง PICU และ NICU ในขณะรับส่งเวร
3.  มอบหมายให้ Leader ในทีมผู้ส่งเวรเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยและมอบหมายให้ Aid ดูแลความเรียบร้อยและ
ช่วยแก้ไขสิ่งที่ทำให้เกิดเสียงการรบกวนอื่น ๆ       
4. เจ้าหน้าที่ที่ไม่มีส่วนร่วมในการรับ-ส่งเวร งดใช้เสียง  และงดใช้อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียงรบกวน เช่น Printer โทรศัพท์   เป็นต้น

บทเรียนที่ได้รับ
            การทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย (R2R) ไม่ใช่สิ่งที่ยาก   และทำให้บุคลากรมีแนวทางในการพัฒนางานประจำได้อย่างต่อเนื่อง บุคลากรทางการพยาบาลเป็นบุคคลสำคัญในการจัดการความเสี่ยง (Risk management)  เพราะเป็นผู้ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยมากที่สุดตลอด 24 ชั่วโมง  ทำให้ทราบปัญหาและความเสี่ยงของผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลได้รวดเร็ว  ดังนั้นผลการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลระหว่างเวร  จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้เกิด Patient Safety goal  ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและทันเวลา

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
            การทำงานร่วมกันเป็นทีม  การเปิดใจยอมรับ  เพื่อปรับเปลี่ยนการทำงานของทีมบุคลากรในหน่วยงานหอผู้ป่วยเด็ก 2  ทำให้มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องเป็นระบบและประสบความสำเร็จ  นอกจากนี้การสนับสนุนของผู้บริหารในการให้โอกาสพัฒนาการปฏิบัติงาน  การนิเทศงานอย่างสม่ำเสมอทำให้บุคลากรมีความกระตือรือร้นในการพัฒนางาน  โดยยึดหลักผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง   ทำให้มีวัฒนธรรมความปลอดภัยในหน่วยงาน  เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญเช่นกัน
 

1 ความคิดเห็น: