วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564

R2R การพัฒนาระบบบริการ Stroke fast track โรงพยาบาลพระพุทธบาท

 

1. ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา: R2R การพัฒนาระบบบริการ Stroke fast track โรงพยาบาลพระพุทธบาท

2. คำสำคัญเพื่อง่ายต่อการค้นหา: ระบบบริการ Stroke fast track

3. สรุปผลงานโดยย่อ:

          ปรับปรุงแนวปฏิบัติที่มีอยู่เดิมจากการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำที่ ER เป็นการให้พยาบาลผู้จัดการกรณีโรคหลอดเลือดสมอง/ พยาบาลประจำ Stroke unit และแพทย์ Intern ไปประเมิน บริหารจัดการและรับผู้ป่วยจาก ER มาให้ยาเองที่ Stroke unit เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองเข้าสู่ระบบ Stroke fast track มากขึ้น และได้รับบริการที่รวดเร็วตามเวลาที่มาตรฐาน ส่งผลต่อการลดความพิการ ภาวะพึ่งพา ภาวะแทรกซ้อน อัตราตาย  ลดจำนวนวันนอนและค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล

4. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร : โรงพยาบาลพระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี

5. สมาชิกทีม:

น. ส. ชญาดา พหลยุทธ             พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระพุธบาท

          น. ส. กุลญาดา อัครกิตรีธร         พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระพุธบาท

น. ส. ชนาภัทร โสภณภาพ          พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระพุธบาท

          น. ส. มาลินี บุญเกิด                 พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วพ.บรมราชนนีพระพุทธบาท

ที่ปรึกษาการวิจัย

          น. ส. ยุพิน พัชรภิญโญพงศ์         พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลพระพุธบาท

          ดร. อรุณี  ไชยฤทธิ์                  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วพ.บรมราชนนีพระพุทธบาท

6. เป้าหมาย:

. เพื่อพัฒนาและทดสอบแนวปฏิบัติ Stroke fast track

. ประเมินประสิทธิผลการดูแลรักษาหลังผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ

7. ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ:

            โรงพยาบาลพระพุทธบาทมีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข โดยมีระบบ Stroke fast track เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ในปี 2555 รวมทั้งจัดตั้ง Stroke unit เพื่อดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ในปี 2556   แต่พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้าสู่ระบบ Stroke fast track ยังมีจำนวนน้อยโดยในปีงบประมาณ 2559 – 2561 ร้อยละ 34.78, 34.18 และ 29.68 ตามลำดับ และผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำมีน้อยมาก คิดเป็น ร้อยละ 3.84, 0.93 และ3.65 ตามลำดับ รวมทั้งการดูแลรักษาที่ล่าช้า ไม่ทันเวลา ทำให้ระบบ Stroke fast track ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จึงมีการปรับปรุงระบบบริการ Stroke fast track จากการให้ยาที่ ER เป็นพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคหลอดเลือดสมอง (NCM stroke)/ พยาบาลประจำ Stroke unit และแพทย์ Intern ไปประเมิน บริหารจัดการและรับผู้ป่วยจาก ER มาให้ที่ Stroke unit

8. กิจกรรมการพัฒนา:

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) ศึกษาประสิทธิภาพ แนวปฏิบัติ Stroke fast track โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลวิจัยในผู้ป่วย Stroke fast track โรงพยาบาลพระพุทธบาท ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับบริการในระบบ Stroke fast  track  เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ (1) แนวปฏิบัติ Stroke fast track (2) แบบบันทึกเวลาที่จุดสัมผัสบริการของผู้ป่วย Stroke fast track (3) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และ (4) แบบบันทึกผลการดูแลรักษา หลังได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย พิสัยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการดูแลรักษาก่อนให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำและวันจำหน่ายโดยใช้สถิติ pair t-test

 

9. การประเมินผลการเปลี่ยนแปลง:

1. เปรียบเทียบผลการดำเนินงานก่อน (ปี 2559-2561) และหลังใช้แนวปฏิบัติ Stroke fast track ปี 2562 ได้ดังนี้



2. เปรียบเทียบประสิทธิผลในการดูแลรักษาหลังกลุ่มตัวอย่างได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ  ก่อน (ปี2559-2561) และหลังใช้แนวปฏิบัติ Stroke fast track ปี 2562 ได้ดังนี้


ตารางที่ 1 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย NIHSS, ADL และ mRS ของกลุ่มตัวอย่างหลังใช้แนวปฏิบัติ  ปี 2562 วันที่รับไว้รักษาก่อนได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำและวันจำหน่ายปี 2562 (n= 26)


 

Mean

SD

t

df

Sig

คะแนนเฉลี่ย NIHSS วันที่รับไว้รักษาก่อนได้รับยาและวันที่จำหน่าย

4.54

7.33

3.16

25

.004*

คะแนนเฉลี่ย ADLวันที่รับไว้รักษาก่อนได้รับยาและวันที่จำหน่าย

-45.35

26.82

-8.81

25

 000**

คะแนนเฉลี่ย mRsวันที่รับไว้รักษาก่อนได้รับยาและวันที่จำหน่าย

2.23

1.82

2.65

25

.000**

*p≤ .05, ** p≤ .01

อภิปรายผล

ภายหลังนำแนวปฏิบัติ Stroke fast track รวดเร็ว กระชับ ฉับไวใส่ใจบริการไปใช้ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น ทำให้สามารถลดเวลาเฉลี่ยในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำและผู้ป่วยได้รับยาภายใน 60 นาทีเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มประสิทธิผลในการดูแลรักษา หลังผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัว มีภาวะพึ่งพาลดลง จำนวนวันนอนและค่าใช้จ่ายอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งปัจจัยความสำเร็จของการวิจัยคือ การบริหารจัดการและการกำกับติดตามโดย NCM stroke/ พยาบาลประจำ Stroke unit ร่วมกับแพทย์ Intern

สรุปและข้อเสนอแนะ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาในระยะสั้น วัดผลเฉพาะก่อนจำหน่าย กลุ่มตัวอย่างมีน้อยจึงควรเพิ่มระยะเวลาในการศึกษาเป็น 1 ปีงบประมาณหรือมากกว่า เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ เป็นตัวแทนของกลุ่มประชากร และติดตามวัดประสิทธิผลการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำหลังจำหน่ายที่ระยะ 3 เดือน และ 6 เดือน รวมทั้งในการศึกษานี้ถึงแม้จะพบว่ามีผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำมีมากขึ้น แต่การเข้าถึงบริการ Stroke fast track ยังมีจำนวนน้อย จึงมีควรการพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการระบบ Stroke fast track และผู้ป่วยได้รับยามากขึ้น

10.บทเรียนที่ได้รับ

          ๑. การบริหารจัดการระบบบริการ stroke fast track ที่มีประสิทธิภาพโดย NCM stroke / พยาบาลประจำ Stroke unit ร่วมกับแพทย์ Intern

            ๒. การกำกับติดตามและปรับปรุงระบบบริการ stroke fast track อย่างต่อเนื่องโดย NCM stroke

11. การติดต่อกับทีมงาน: ระบุชื่อผู้ที่สามารถติดต่อได้ ชื่อองค์กร ที่อยู่ โทรศัพท์ e-mail address

น. ส. ชญาดา พหลยุทธ ตึกอายุรกรรม2/ Stroke unit โรงพยาบาลพระพุทธบาท
86 หมู่ 8
ตำบลธารเกษม อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 18120
โทร
065-4495697  E-mail: chayada5697@gmail.com
ที่ทำงาน 036-268215-8 ต่อ 1507-8  โทรสาร 036-266112


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น