การหายของแผลกดทับ (Push toll)
ผู้รับผิดชอบ
: 1. คุณสำราญ จันทร์พงษ์
2. คุณมัณฑกา โสภณ
3. คุณอัจฉราวรรณ รอดหงษ์ทอง
3. คุณอัจฉราวรรณ รอดหงษ์ทอง
ที่ปรึกษา
1. คุณเพ็ญศรี จาบประไพ
2. คุณวันทนา สาลี
3. คุณวนิดา ชูรักษา
โรงพยาบาลพระพุทธบาท สระบุรี ได้พัฒนาแนวทางปฏิบัติเรื่องการป้องกันและดูแลการเกิดแผลกดทับอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 โดยสถิติการเกิดแผลกดทับระดับ 2-4 ในหอผู้ป่วยหนัก ตั้งแต่ปี 2554-2556 มีอัตราการเกิดแผลกดทับต่อ 1000 วันนอนโดยรวมของหอผู้ป่วยหนัก 1 ได้แก่ 6.62, 4.35 และ 3.26 ตามลำดับ และหอผู้ป่วยหนัก 2 มีอัตราการเกิด 3.64, 9.60 และ 7.70 ตามลำดับสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงของหอผู้ป่วยหนัก 1 (คะแนนความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับหรือ Braden score น้อยกว่าหรือเท่ากับ 16 คะแนน) พบว่ามีอัตราการเกิด 7.28, 4.63 และ 3.41 ตามลำดับ หอผู้ป่วยหนัก 2 มีอัตราการเกิด 3.87,10.39 และ 8.31 ตามลำดับ
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับได้รับการประเมินการหายของแผลกดทับ
2.
เพื่อให้พยาบาลสามารถปฏิบัติการประเมินการหายของแผลกดทับได้โดยมีแนวทางเดียวกัน
เป้าหมาย
1.
ผู้ป่วยทุกราย ที่มีแผลกดทับตั้งแต่ระดับ
2
ในหอผู้ป่วยหนักได้รับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินการหายของแผลกดทับ
2.
พยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยหนัก
สามารถใช้เครื่องมือประเมินการหายของแผลกดทับได้
วิธีดำเนินการ
นำเครื่องมือ ประเมินการหายของแผลกดทับของ National Pressure Ulcer Advisory
Panel (NPUAP) ชื่อ Pressure Ulcer Scale for Healing (PUSH
Tool Version 3.0) ซึ่งในการศึกษาของจิณพิชญ์ มะมม (2556) นำมาใช้ในการวิจัยกลุ่มผู้ป่วยศัลยกรรม หาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือได้
0.92 ทีมงานจึงนำมาประยุกต์ใช้สร้างแบบประเมินในการหายของแผลกดทับในหอผู้ป่วยหนัก
ได้มีการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ และปรับแก้เนื้อหานำมาใช้ในหอผู้ป่วยหนัก 1
โดยเมื่อผู้ป่วยมีแผลกดทับตั้งแต่ระดับ 2 ให้ใส่แบบประเมินไว้ในแฟ้มข้อมูลผู้ป่วย
(chart) และลงบันทึกทุกวันเวรเช้า
พัฒนาแบบประเมินโดยมีที่ติดสติ๊กเกอร์
มีการลงตำแหน่งแผล การปรับแบบประเมินให้ 1 ใบ สามารถลงได้ 2
แผล ด้านหลังแบบประเมินเพิ่มคำชี้แจงรายละเอียด ได้มีการทบทวนและนิเทศเป็นรายบุคคล
และจัดหาไม้บรรทัดประจำทุกเตียงเนื่องจากเครื่องมือที่มีอยู่ไม่เพียงพอและปรับการลงบันทึกจากทุกวันเป็นทุกสัปดาห์วันจันทร์เช้าหรือเมื่อแผลเปลี่ยนแปลง
เนื่องจาก
การบันทึกไม่ต่อเนื่องทุกวันเนื่องจากผู้ปฏิบัติเห็นว่าขนาดแผลไม่เปลี่ยนแปลง
จึงไม่ได้ลงบันทึกทุกวัน
การประเมินผล
พบว่า มีการส่งเวรแผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทำให้สื่อสารกันเข้าใจมากขึ้น บอกปัญหาของการใช้
เช่นการลืมติดสติกเกอร์ชื่อผู้ป่วย การลงตำแหน่งแผล
วิธีการดูแลแผลในผู้ป่วยแต่ละราย ความก้าวหน้าของการหายของแผล เช่น
ลักษณะของขอบแผลที่มีสะเก็ดเริ่มแข็งให้ขูดให้ขอบแผลเรียบเพื่อให้เกิด granulation ขอบแผลจะได้แคบลง สำหรับแผลที่มีเนื้อตายต้องกำจัดเนื้อตายออก เป็นต้น
ด้านผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินด้วย
push
tool มีแผลกดทับทั้งหมด 10 ราย
หอผู้ป่วยไอซียู 1 จำนวน 4 ราย หอผู้ป่วยไอซียู 2
จำนวน 6
ราย เป็นเพศ ชาย 7 ราย หญิง 3
ราย อายุ 28-85 ปี
(เฉลี่ย 66.1 ปี) แผนก อายุรกรรม 6 ราย แผนก ศัลยกรรม 4 ราย แผลที่ศึกษาเป็นแผลกดทับที่กระจายตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผู้ป่วย รวม
17 แผล ได้แก่ ก้น 11 แผล ศีรษะ 2
แผล สะโพก 2 แผล หู 1 แผล
ส้นเท้า 1 แผล อัตราการหายของแผลกดทับ แผลหาย 2 แผล คิดเป็นร้อยละ 11.8 ระดับคะแนนของแผลครั้งแรก 4-16 คะแนน ระดับคะแนนครั้งหลัง 0-17 คะแนน ระยะเวลาของแผล พิสัยจำนวนวัน 1-28 วัน จำนวนวันที่แผลหาย 22 วัน ผลลัพธ์ผู้ป่วย แผลดีขึ้น บางแผลหาย ย้ายออก 4 ราย
เสียชีวิตในหอผู้ป่วยหนัก 6 รายจากพยาธิสภาพของโรค (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินด้วย PUSH TOOL
หัวข้อ
|
จำนวน (ราย)
|
ร้อยละ
|
หอผู้ป่วย
ไอซียู 1
ไอซียู 2
|
4
6
|
40
60
|
เพศ
ชาย
หญิง
|
7
3
|
70
30
|
อายุ 28-85 ปี (เฉลี่ย 66.1 ปี)
|
||
แผนก
อายุรกรรม
ศัลยกรรม
|
6
4
|
60
40
|
ตำแหน่งที่เกิดแผล
ก้น
ศีรษะ
สะโพก
หู
ส้นเท้า
|
11
2
2
1
1
|
64.72
11.76
11.76
5.88
5.88
|
อัตราการหายของแผล
แผลหาย
แผลคะแนนลดลง (ดีขึ้น)
แผลคะแนนมากขึ้น(แย่ลง)
แผลคะแนนเท่าเดิม
ระดับคะแนนครั้งแรก 4-16
ระดับคะแนนครั้งหลัง 0-17
|
2
5
5
5
|
11.8
29.4
29.4
29.4
|
ระยะเวลาของแผล
พิสัยจำนวนวัน 1-28 วัน
วันที่แผลหาย 22 วัน
|
||
ผลลัพธ์ผู้ป่วย
ดีขึ้น
เสียชีวิต
|
4
6
|
40
60
|
ความพึงพอใจของญาติ
ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการสื่อสารไม่สามารถสอบถามได้
จากผลการประเมินแบบสอบถามความพึงพอใจในการให้บริการจากญาติผู้ป่วย มีคะแนนความพึงพอใจ
ในช่วงเดือน มิถุนายน ถึง กันยายน พ.ศ. 2557 พบว่า
หอผู้ป่วยหนัก 1 คะแนนความพึงพอใจในการให้บริการ ร้อยละ 87.
85 หอผู้ป่วยหนัก 2 ได้ร้อยละ 88.54
ความพึงพอใจของพยาบาล
จากการสอบถามความคิดเห็นของพยาบาล 20 คน โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจการใช้เครื่องมือการดูแลแผลกดทับ ที่ได้สร้างขึ้น
และตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน นำมาปรับใช้
แบบสอบถามมี 6 ข้อ ให้คะแนนระดับความคิดเห็น พบว่าภาพรวมส่วนใหญ่เห็นด้วยมากร้อยละ
45.83 รองลงมาเห็นด้วยมากที่สุดร้อยละ 31.67 สำหรับคะแนนรวมรายข้อ ภาพรวมได้ร้อยละ 77.28 (ตารางที่ 6)
ตารางที่ 6 ความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้เครื่องมือแผลกดทับ
รายการ
|
เห็นด้วยมากที่สุด(4)
n(%)
|
เห็นด้วยมาก
(3)
n(%)
|
เห็นด้วย
ปานกลาง
(2)
n(%)
|
คะแนนรวม
รายข้อ(%)
|
1.ท่านคิดว่าเครื่องมือ PUSH TOOL สามารถใช้ประเมินความก้าวหน้าของแผลได้
|
7(35)
|
10(50)
|
3(15)
|
80.00
|
2.ท่านคิดว่าเครื่องมือนี้ ลงบันทึกได้ง่าย สะดวกต่อการใช้งาน
|
5(25)
|
5(25)
|
10(50)
|
68.75
|
3.ม่านคิดว่าเครื่องมือนี้มีประโยชน์ ทำให้การดูแลมีประสิทธิภาพ
|
7(35)
|
11(55)
|
2(10)
|
81.25
|
4.ท่านคิดว่าเครื่องมือนี้ทำให้ท่านส่งเวรได้ง่ายขึ้น
|
6(30)
|
10(50)
|
4(20)
|
77.5
|
5.ท่านคิดว่าควรใช้เครื่องมือนี้ประเมินแผลทุกสัปดาห์หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
|
6(30)
|
11(55)
|
3(15)
|
78.75
|
6.ท่านคิดว่าควรใช้เครื่องมือนี้ประเมินแผลกดทับต่อไป
|
7(35)
|
8(40)
|
5(25)
|
77.5
|
ภาพรวม
|
38(31.67)
|
55(45.83)
|
27(22.50)
|
77.28
|
วิจารณ์
การหายของแผลกดทับขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
การใช้เครื่องมือแบบประเมินการหายของแผลกดทับนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการดูแลผู้ป่วย
เครื่องมือที่นำมาใช้ มีวิธีการวัดขนาดโดยใช้ผลคูณของความกว้างและความยาว
เพราสะดวกและรวดเร็ว แต่วิธีนี้จะได้ขนาดของพื้นที่แผลใหญ่เกินจริงเสมอ
และมีค่าความคลาดเคลื่อนมากในแผลขนาดใหญ่ (McCwxonnel, 2000 อ้างในนิโรบล กนกสุนทรรัตน์, 2553) สำหรับในการศึกษานี้ใช้เกณฑ์เดียวกันประเมิน
ผู้ศึกษาเห็นว่าถึงแม้ตัวเลขของพื้นที่แผลเกินจริง ทำให้คะแนนมากขึ้น
แต่การใช้เกณฑ์ในการประเมินเดียวกัน ถ้าแผลดีขึ้นหรือแย่ลงก็จะมีการเปลี่ยนแปลงของคะแนน
สำหรับความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้เครื่องมือประเมินแผลกดทับ
ซึ่งได้ปฎิบัติกับผู้ป่วย 10 ราย พยาบาลอาจยังไม่คุ้นเคยในการให้คะแนนและลงบันทึก
เพื่อช่วยให้การประเมินการหายของแผลมีความชัดเจน ครบถ้วนและต่อเนื่อง จึงควรได้นำมาใช้ประเมินผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ
ร่วมกับแผนการรักษาพยาบาล
สรุป
การดูแลแผลกดทับโดยใช้เครื่องมือประเมินการหายของแผลกดทับ
ช่วยให้ทีมผู้ดูแลสามารถทราบถึงความก้าวหน้าหรือการแย่ลงของแผลได้ชัดเจนมากขึ้น
การส่งเวรมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทำให้ทราบว่าแผลมีลักษณะอย่างไร
ต้องได้รับการดูแลอย่างไรจึงจะเหมาะสม
โอกาสพัฒนา
-
การนำเครื่องมือประเมินการหายของแผลกดทับมาใช้ให้เกิดประโยชน์
โดยร่วมกับระบบการพยาบาล ในการประชุมปรึกษาทางการพยาบาล เพื่อให้เกิดรูปธรรมในแต่ละเวรว่าในการประเมิน
แผลที่แย่ลงจะมีวิธีการดูแลอย่างไรต่อ หรือแผลที่ดีขึ้น จะวางแผนต่ออย่างไร ควรนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับแบบบันทึกการเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับ
เมื่อเกิดแผลในระดับต่าง ๆ
-
ควรศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มอื่นที่ไม่มีปัญหาภาวะวิกฤติ
ระบบไหลเวียนคงที่ เนื่องจากในผู้ป่วยวิกฤตมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น
ระบบการหายใจล้มเหลว ภาวะทุพโภชนาการ การติดเชื้อในระบบต่าง ๆ เป็นต้น
ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อการหายของแผลทั้งสิ้น และควรได้
เปรียบเทียบอัตราการหายของแผลกดทับก่อนพัฒนา และหลังพัฒนาในการใช้เครื่องมือประเมินการหายของแผลกดทับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บรรณานุกรม
จิณพิชญ์ชา มะมม. (2555). บทบาทพยาบาลกับแผลกดทับ:
ความท้าทายในการป้องกันและการดูแล.
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 20(5)
(ฉบับพิเศษ). 478-490.
จิณพิชญ์ชา มะมม. (2556). ผลของรูปแบบการพัฒนาทักษะการดูแลต่อการหายของแผลในผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ.
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 21(7)
(ฉบับพิเศษ). 609-619.
จุฬาพร ประสังสิต. เครื่องมือการประเมินการหายของแผล. www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/...N.../8_100_1.pdf
เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2557.
จุฬาพร ประสังสิต.
ตัวชี้วัดคุณภาพการป้องกันและการดูแลแผลกดทับ. www.si.mahidol.ac.th เข้าถึงเมื่อ 19
มิถุนายน 2557.
นลินทร์ทิพย์ ตำนานทองและ วีระชัย โควสุวรรณ. (2540). การศึกษาค่าใช้จ่ายในการรักษาแผลกดทับ. ศรีนครินทร์เวชสาร,
12(2). 74-82.
นิโรบล กนกสุนทรรัตน์, ประไพ อริยประยูร, ปนัดดา สุวรรณภราดร และกมลวรรณ จลาพงษ์. (2553). ความเที่ยงของแบบประเมินแผลเปิดและความสอดคล้องของการประเมินแผลโดยพยาบาล. Rama
Nursing Journal, 16(3). 421-431.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น