ชื่อผลงานนวัตกรรม ไม้นี้ช่วยได้
ชื่อผู้เสนอผลงาน หอผู้ป่วยพิเศษชั้น 1
ชื่อ/ที่อยู่ของหน่วยงาน หอผู้ป่วยพิเศษชั้น 1 - 3/อาคาร
100 ปีสมเด็จพระศรีนครินทร์
ความเป็นมา
อุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มเป็นเหตุการณ์ที่บุคลากรในหอผู้ป่วยไม่อยากให้เกิดขึ้น
ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองได้น้อยและต้องนอนบนเตียงเพิ่มมากขึ้น
ผู้ป่วยที่สามารถเลื่อนตัวเองไปมาได้มีโอกาสพลัดตกเตียงได้ง่าย
เมื่อแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน
ญาติจึงไม่พร้อมที่จะรับกลับเนื่องจากมีปัญหาการจัดซื้อเตียง
ซึ่งต้องเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย บางรายสถานที่ภายในบ้านคับแคบไม่สะดวกต่อการนำเตียงใหม่เข้าไปเพิ่ม
บางรายญาติเกิดความรู้สึกไม่สบายใจที่ต้องนำเตียงผู้ป่วยเข้าไปไว้ในบ้าน
บุคลากรในหน่วยงานมองเห็นปัญหาดังกล่าว จึงคิดหาวิธีการที่จะทำให้ผู้ป่วยได้กลับบ้านและอยู่บนเตียงอย่างปลอดภัย
ญาติพึงพอใจและเกิดเป็นนวตกรรม “ไม้นี้ช่วยได้” ขึ้นมา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการพลัดตกเตียง
2. เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจ
เกิดความมั่นใจในการใช้ชีวิตที่บ้าน
3. เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวผู้ป่วยและญาติ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. การเตรียมอุปกรณ์
1.1 เตียงหรือตั่งเดิมของผู้ป่วยที่มีอยู่แล้วที่บ้าน
1 ตัว
1.2 ไม้ไผ่รวกขัดเกลาให้เรียบร้อยเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
1 นิ้ว ความยาวมากกว่าเตียงผู้ป่วยประมาณ 1 ฟุต 2 อัน
1.3 สกรูขนาด 1 นิ้วครึ่ง 2 ตัว
1.4 Clamp
ครึ่งวงกลมขนาด 1 นิ้วครึ่ง (รอบวงมีขนาดใหญ่กว่าขนาดไม้ไผ่เล็กน้อย)
4 อัน
1.5 Clamp
วงกลมขนาด 1 นิ้ว (หรือขนาดเท่าไม้ไผ่) 2 อัน
1.6 เชือกหรือหนังยางวงอย่างหนา 2 วง
2. วิธีทำ
2.1 นำClamp
ครึ่งวงกลมติดกับขอบเตียงด้านที่จะกั้นด้านหัวและท้ายเตียง
2.2 นำ Clamp
วงกลมติดที่ไม้ไผ่ด้านหัว
ด้านปลายที่จะใช้สอดเข้าห่วงติดสกรูห่างจากปลายไม้
เพื่อใช้คล้องเชือกหรือยางกันไม้หล่น
3.วิธีใช้
3.1
นำไม้ไผ่ที่ประกอบเรียบร้อยแล้วสอดใน Clamp
ที่ติดกับเตียงจากหัวเตียงถึงปลายเตียงแล้วใช้หนังยางคล้องด้านปลายกันหล่นไว้
3.2
ถ้าต้องการเปิดที่กั้นเตียงให้ถอดยางรัดออกแล้วดึงไม้ออกตามเดิม
การพัฒนาต่อเนื่อง
1.ปรับไม้กั้นเตียงจากไม้ไผ่เป็นท่ออลูมิเนียมหรือท่อประปาตามความต้องการของผู้ใช้
2.
ใช้จุกเกลียวหรือจุกยางปิดหัวท้ายไม้เพื่อป้องกันไม้หล่น
3.
ขยายผลโดยประชาสัมพันธ์กับหอผู้ป่วยอื่นที่มีผู้ป่วยเสี่ยงต่อการพลัดตกเตียงและมีปัญหาเรื่องการจัดหาเตียงใหม่ให้ผู้ป่วยที่บ้าน
ผลการดำเนินงาน
1. ไม่พบผู้ป่วยพลัดตกจากเตียง
ผู้ป่วยและญาติเกิดความพึงพอใจต่อนวตกรรมชิ้นนี้
2. ประหยัดค่าใช้จ่ายของครอบครัว
พบว่าค่าใช้จ่ายในการซื้อเตียงผู้ป่วยประมาณ 15,000 บาท แต่การทำนวตกรรมชิ้นนี้หากสามารถหาไม้ไผ่ได้เอง
ค่าจ้างในการทำไม่เกิน 300 บาท หากทำได้เองไม่ต้องเสียค่าจ้าง
เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสกรูและ Clamp ไม่เกิน 100 บาท
3. มีการจัดถ่ายรูปไว้เพื่อนำเสนอให้ผู้ป่วยและญาติที่สนใจไปประยุกต์ใช้
สรุปผลการดำเนินงาน
นวตกรรมชิ้นนี้มีแรงบันดาลใจจากการที่บุคคลอันเป็นที่รักของครอบครัวบุคลากรในหน่วยงานช่วยเหลือตนเองได้น้อย
มีอาการหลงลืม มีโอกาสพลัดตกเตียงได้ง่าย
แต่จำเป็นต้องนอนบนเตียงเนื่องจากใส่สายปัสสาวะค้างไว้ ทำให้เข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยและญาติรายอื่นที่ไม่อยากได้เตียงใหม่
จึงคิดหาวิธีการที่จะใช้เตียงซึ่งผู้ป่วยเคยนอนอยู่เดิมให้มีความปลอดภัยขึ้น
โดยมองหาอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวมาลองทำดู เมื่อทำสำเร็จ พบว่าเป็นเตียงที่ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย
ไม่เพิ่มภาระค่าใช้จ่าย สถานที่ภายในบ้านไม่ถูกเปลี่ยนแปลง
สร้างความพึงพอใจแก่สมาชิกในครอบครัว
จึงอยากนำเสนอผลงานชิ้นนี้ให้ผู้สนใจได้นำไปใช้
โดยอาจดัดแปลงไปใช้ไม้ชนิดอื่น
ท่อประปาหรือเหล็กตามความสะดวกของแต่ละบุคคล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น