วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Donut Splint ที่คุ้มค่า

ชื่อผลงานนวัตกรรม      Donut Splint ที่คุ้มค่า
ชื่อผู้เสนอผลงาน นายวิชิต    ทองใบ
ชื่อ/ที่อยู่ ของหน่วยงาน  ห้องบริการใส่เฝือก   งาน OPD Orthopedic

ที่มาโครงการ             
         แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกไหปลาร้าหัก (Fracture of Clavicle) พบว่า 80-90%  กระดูกสามารถติดได้เอง แต่ปัญหาที่พบบ่อยคือกระดูกไหปลาร้ามักจะติดผิดรูป  แนวทางการรักษาของแพทย์จึงให้การรักษาเพื่อลดการเคลื่อนไหวของกระดูกหัก เพื่อบรรเทาอาการปวด โดยการใส่เฝือกอ่อนซึ่งปัจจุบันจะเป็นเฝือกอ่อนสำเร็จรูป เรียกว่า M-Splint ซึ่งเป็นเฝือกสำเร็จรูปที่ใช้วัสดุคล้ายฟองน้ำ ขอบที่แข็งและหนา การใช้งานต้องใส่จนแน่นทุกครั้ง เมื่อเกิดแรงกดทับจะเสียดสีกับผิวหนังทำให้เกิดการระคายเคืองง่ายต่อการเกิดรอยกดทับ อีกทั้งมีขนาดจำกัดเพียง 3 ขนาด จึงยากต่อการปรับให้พอดีกับขนาดกระดูกไหปลาร้าของผู้ป่วยทุกราย
             จากข้อมูลผู้มารับบริการที่ห้องเฝือก ตั้งแต่ตุลาคม 2556 – กันยายน 2557 พบว่ามีผู้ป่วยที่ใส่

M-Splint  จำนวน 47 ราย เกิดแผลกดทับ  45 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.7 ทำให้ต้องถอดก่อนเวลากำหนด ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด กระดูกติดผิดรูป ดังนั้น ผู้จัดทำจึงได้ศึกษา ค้นคว้า ปรึกษาแพทย์  ผลิต ออกแบบ และพัฒนาการทำเฝือกอ่อนที่เรียกว่า Donut Splint ขึ้น

วัตถุประสงค์    
          1.   ลดการเกิดแผลกดทับจากการใส่ เฝือกอ่อน 
          2.   ลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ศึกษาการทำ Donut Splint ของโรงพยาบาลราชรามาธิบดี และโรงพยาบาลเลิศสิน แล้วนำมาพัฒนาโดยปรึกษาแพทย์ และทดลองใช้ในคลินิกศัลยกรรมกระดูกและข้อ

 จากรูปภาพ  X-Ray กระดูกไหปลาร้าหัก (Clavicle Fracture)


รูปภาพ  แผลกดทับจาก  M-Splint


 การประดิษฐ์เฝือกอ่อน ชื่อ  Donut Splint

           อุปกรณ์ในการทำ Donut Splint ประกอบด้วย
1.  ปลอกผ้ายืด (Stockinet) ขนาด  2 นิ้ว         1        ม้วน
2.  สำลีปอนด์ (Cotton wood)                     1       ปอนด์
3.  เหล็ก 6 หุน ยาว 2.5 ฟุต                         2       แท่ง
4.  กรรไกรสำหรับตัดผ้า                              1       ด้าม
วิธีการประดิษฐ์ Donut Splint

1.  วัด Stockinet ขนาด 2 นิ้ว ความยาว 2 หลา หรือ 180 ซ.ม. แบ่งครึ่ง Stockinet ม้วนปลาย 2 ข้างเข้าหากัน เหลือกึ่งกลางประมาณ 8 นิ้ว มัดเป็น Donut ไว้ทั้ง 2 ข้าง

            2.  วัดสำลีปอนด์ ยาว 18 นิ้ว กว้าง 10 นิ้ว ตัดออกเป็นชิ้น 3 ชิ้นเท่าๆกัน
            3.  นำเหล็ก 6 หุน ประกบสำลี 2 ด้าน ม้วนตามความยาวของสำลีให้แน่น แล้วนำสำลีที่ม้วนใส่ใน Stockinet ที่มัดเป็น Donut ไว้ทั้ง 2 ข้าง








นำมาทดลองใช้กับผู้ป่วยที่ห้องเฝือกตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2556 – เดือน กันยายน 2557 (ระยะเวลา 1 ปี)
        วิธีการใช้กับผู้ป่วย กระดูกไหปลาร้าหัก
          1. จัดท่าให้ผู้ป่วยนั่งเก้าอี้ไม่มีพนักพิง มือเท้าเอว 2 ข้าง
          2. ทำความสะอาดรักแร้ทั้ง2ข้าง
        3.  นำ Donut Splint อ้อมหัวไหล่ทั้ง2ข้างโดยใช้ปลาย Stockinet ที่เหลือจากการทำ Donut Splint ดึงไว้ด้านหลัง ทำปลายที่ผ่านกระดูกไหลปลาร้าที่หักไว้ด้านบนแล้งดึง 2 ข้างเข้าหากัน
        4.  พัน Stockinet อ้อมรอบหัวไหล่มาด้านหลังแล้ว อ้อมรอบหัวไหล่อีกข้าง ระหว่างนั้นให้ผู้ป่วยแอ่นอกขึ้นอาจใช้ เข่าช่วยดันด้านหลังผูก Stockinet ให้กระชับ
        5.  แนะนำผู้ป่วยระมัดระวัง Donut Splint ไม่ให้เปียกน้ำ หมั่นทำความสะอาดรักแร้และโรยแป้งขยับข้อมือและมือบ่อยๆถ้าแขนมีอาการปวด บวม ชา หรือผ้าที่พันไว้เลื่อนหลุดออกให้รีบมาพบแพทย์ 

       



ผลการดำเนินการ

          1.   ลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล ร้อยละ 21.5 หรือ 4 เท่า
ค่าใช้จ่าย M-Splint           ราคาชิ้นละ       200    บาท
ค่าใช้จ่าย Donut Splint      ราคาชิ้นละ          43   บาท
- ปลอกผ้ายืด (Stockinet) ขนาด  2 นิ้ว        จำนวน 2 หลา  เป็นเงิน 19.50 บาท
- สำลีปอนด์ (Cotton wood)   จำนวน 1/2  ปอนด์ เป็นเงิน 23.50 บาท
หมายเหตุ : เหล็ก 6 หุน ยาว 2.5 ฟุต จำนวน  2  แท่ง ไม่มีต้นทุนได้มาจาก โรงงานเป็นวัสดุ
เหลือใช้
  2. เปรียบเทียบการเกิดแผลกดทับจากการใส่ M-Splint และ Donut Splint
จำนวนผู้ป่วย กระดูกไหลปลาร้าหัก ตั้งแต่ ต.ค.56 - ก.ย.57 (ที่มารับบริการห้องเฝือก)
ผู้ป่วยใส่ M-Splint = 46 คนเกิดแผลกดทับ 2 คน คิดเป็น =  4.3%
จำนวนผู้ป่วยใส่ Donut Splint = 46 คน         ไม่เกิดแผลกดทับ = 0%

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1.    การทำงานเป็นทีม  ได้รับสนับสนุนจากแพทย์ หัวหน้างาน และผู้ร่วมงาน ให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวกและให้โอกาสในการพัฒนานวัตกรรม
2.    ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ
ข้อเสนอแนะและโอกาสพัฒนา
1.       จัดอบรมวิธีการผลิต Donut-Splint ให้กับบุคลากรในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลเครือข่าย
2.       จัดอบรมวิธีการใส่เฝือกอ่อนที่ถูกต้อง
3.       ผลิตสื่อวีดีทัศน์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น