วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนต้นหัก โดย PCT ศัลยกรรมกระดูก

1.  ชื่อผลงาน การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนต้นหัก (Fracture of proximal of femur : Intertrochanteric Fracture , Fracture neck of femur )
2.  คำสำคัญ : Intertrochanteric Fracture , Fracture neck of femur , Osteoporosis
3.  สรุปผลงานโดยย่อ เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนต้นหัก
4. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร :  PCT ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลพระพุทธบาท
5. สมาชิกทีม แพทย์ พยาบาลหอผู้ป่วย นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ  พยาบาลจากศูนย์สุขภาพชุมชนพยาบาล
6. เป้าหมาย เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน และสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
7. ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ 
          จากการทบทวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแผนกออร์โธดิกส์ รพ.พระพุทธบา่ท  พบว่ามีผู้สูงอายุที่มารับการรักษาด้วยกระดูกต้นขาส่วนต้นหัก ซึ่งการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยดังกล่าวมีหลากหลายวิธี จึงได้จัดทำแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนต้นหัก เพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสม ทั้งขณะอยู่โรงพยาบาลและเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษามีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ หกล้ม และมีภาวะกระดูกพรุน จึงได้มีการให้ความรู้แก่หญิงวัยทอง ผู้สูงอายุ ทั้งในและนอกโรงพยาบาลเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน และการป้องกันอุบัติเหตุในเคหะสถาน
ต่อมาพบว่าผู้ป่วยสูงอายุส่วนใหญ่มีโรคร่วมทางอายุรกรรม บางรายรับประทานยาสเตียรอยด์ ซึ่งส่งผลต่อการดูแลรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วย
8. การเปลี่ยนแปลง :
            - ทบทวนการดูแลผู้ป่วยทุกรายโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
            - ปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนหลังจำหน่ายกลับบ้าน
            - ปรับระบบการปรึกษาอายุรแพทย์และวิสัญญีแพทย์
 9.  การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :
     
  กราฟแสดงผลลัพท์การดูแลผู้ป่วย Fracture of proximal of femurในผู้สูงอายุ
      ปี 2549  พบว่า  Fracture of proximal of femurในผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคที่พบบ่อย มีการรักษาที่หลากหลายและเป็นปัญหายุ่งยากในการดูแล  จึงได้ทบทวนการดูแลและเฝ้าระวังในผู้ป่วยดังกล่าว ซึ่งอุบัติการณ์ที่พบบ่อยคือการเกิดแผลกดทับ จึงได้มีการจัดหาที่นอนฟองน้ำสำหรับใช้กับผู้ป่วย แต่ก็ยังพบว่ามีแผลกดทับระดับ 2เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยมีความเจ็บปวดและไม่ให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนอิริยาบถ
ในปี 2550 พบว่าเกิดการติดเชื้อที่บาดแผลผ่าตัด (02) 2 ครั้ง ติดเชื้อCAUTI 1 ครั้ง
ในปี 2551 พบการติดเชื้อ ที่แผล Pin tract 1 ครั้ง  เกิด Hypotension ในผู้ป่วยที่ Adrenal insufficiency 1 ครั้ง และพบว่ามีผู้ป่วยหายใจช้าจากการให้ Spinal block with  M.O.1ครั้ง
10. บทเรียนที่ได้รับ :
          - การทบทวนการดูแลผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อน/เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทำให้สามารถค้นหาโอกาสพัฒนา
            - การทำงานเป็นทีม ทำให้งานมีประสิทธิภาพและผลลัพท์การดูแลดีขึ้น
            - การมีส่วนร่วมของผู้ป่วยแลญาติในการดูแลรักษาทำให้ผู้ป่วยและญาติเกิดความพึงพอใจและให้ความร่วมมือในการรักษาที่ดี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น