วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม (Breast Cancer)

1.  ชื่อผลงาน การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม (Breast Cancer)
2.  คำสำคัญ : Breast Cancer, Modified Radical Mastectomy
3.  สรุปผลงานโดยย่อ เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
4.  ชื่อและที่อยู่ขององค์กร :  PCT  ศัลยกรรม โรงพยาบาลพระพุทธบาท จ.สระบุรี
5.  สมาชิกทีม 1. แพทย์   
                         2. พยาบาลหอผู้ป่วย  
                         3. เภสัชกร 
                         4. นักโภชนาการ  
                         5. พยาบาลจากศูนย์สุขภาพชุมชน
6. เป้าหมาย เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีรวมถึงส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
7. ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ :
                จากการทบทวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแผนกศัลยกรรมหญิง พบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาด้วยการผ่าตัดเต้านมมีความวิตกกังวลในเรื่องการรักษา ภาพลักษณ์และเมื่อต้องได้รับการผ่าตัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้  เช่น ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด  เกิด Seroma แขนบวม การติดเชื้อบาดแผลผ่าตัด และข้อไหล่ติด จึงได้จัดทำแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมเพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งร่างกายและจิตใจ  โดยการประเมินความวิตกกังวลก่อนและหลังผ่าตัด การส่งเสริมการออกกำลังกายก่อนผ่าตัด การจัดทำคู่มือการดูแลตนเองทั้งขณะอยู่โรงพยาบาลและเมื่อกลับไปอยู่บ้าน รวมถึงการส่งเสริมภาพลักษณ์เป็นสิ่งสำคัญ พบว่าผู้ป่วยที่มารับยาเคมีบำบัดบางรายไม่ใส่เสื้อชั้นในบางรายใช้ผ้ายัด จึงขอเต้านมเทียมมาให้บริการที่หอผู้ป่วย จึงเป็นการสร้างเสริมความมั่นใจในภาพลักษณ์ให้ผู้ป่วยมากขึ้นเกิดความพึงพอใจ รวมทั้งจัดตั้งชมรมคนรักษ์ถัน ซึ่งสมาชิก คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทั้งหมดเป็นการสานสัมพันธ์และพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และการปฏิบัติตนเมื่อได้รับยาเคมีบำบัดและการดูแลตนเองอย่างไรเมื่ออยู่บ้าน
           นอกจากนี้ยังพบว่ามะเร็งเต้านมที่เกิดขึ้นพบว่าอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมสูงในญาติสายตรงทางหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงจึงส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยการสอนและบริการตรวจเต้านมให้กับผู้ป่วยและญาติในทุกวันพุธร่วมกับการตรวจให้กับญาติผู้ป่วยสายตรงที่มาเยี่ยมเช่นกัน

8. การเปลี่ยนแปลง :
            - ทบทวนการดูแลผู้ป่วยทุกรายโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
            - ปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนหลังจำหน่ายกลับบ้าน
            จัดตั้งชมรมคนรักษ์ถันสร้างสายสัมพันธ์และเติมเต็มกำลังใจให้แก่กัน
9.  การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :

      เดือนเมษายน  กันยายน 2550 พบว่ามีอุบัติการณ์การเกิด Seroma และการติดเชื้อบาดแผลผ่าตัด ไหล่ติด
        เดือนตุลาคม 50  มีนาคม 51 พบว่ายังมีการเกิด Seroma และแผลผ่าตัดเกิด Necrosis หลังผ่าตัดมีอาการปวด >5 แต่ไม่พบ การติดเชื้อบาดแผลผ่าตัดและไหล่ติด  
        เดือนเดือนเมษายน  กันยายน 2551 พบว่าการเกิด Seroma มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เกิดจากการที่ radivac drain หลุดก่อนกำหนด แต่การเกิด Necrosis หลังผ่าตัดมีอาการปวด >5 ลดลง ได้มีการปรับปรุงการดูแล radivac drain ทั้งในเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย
        จากการติดตามผลชิ้นเนื้อในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดเต้านมทั้งหมด 29 ราย  พบว่าระยะของมะเร็งเต้านมอยู่ในระยะ 1 - 2 และหลังผ่าตัดไม่พบว่ามีแขนบวม ซึ่งต้องติดตามผลการรักษาในระยะยาวและเมื่อผู้ป่วยมาตรวจ follow up

10. บทเรียนที่ได้รับ :
          การทบทวนการดูแลผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อน  เช่น  การเกิด Seroma
            - การทำงานเป็นทีม ทำให้งานมีประสิทธิภาพและผลลัพธ์การดูแลดีขึ้น
            - การส่งเสริมการกำลังใจโดยการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยแลญาติในการดูแลรักษาทำให้ผู้ป่วยมีผลการรักษาที่ดีและติดตามการรักษาในการรับยาเคมีบำบัดต่อเนื่อง
11. การติดต่อกับทีมงาน : PCT ศัลยกรรม  โรงพยาบาลพระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี 18120   โทรศัพท์ 036-266111




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น