วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2561

การพัฒนาแบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึก

ความเป็นมาและเหตุผล

            เนื่องจากงานวิสัญญีวิทยามีการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึก  จึงได้ทำแบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึกใช้เป็นเครื่องมือการสื่อสารระหว่างบุคลากรทางวิสัญญี เพื่อการดูแลผู้รับบริการได้ต่อเนื่อง  วางแผนการระงับความรู้สึก    เตรียมอุปกรณ์    ยาให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วยแต่ละราย   ซึ่งพบว่าแบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึกเดิม ข้อมูลไม่ครบถ้วน จึงได้ พัฒนาแบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึกขึ้นใหม่เพื่อให้ได้ข้อมูลครบตามมาตรฐานวิสัญญี  ร่วมกับประเมินความพึงพอใจต่อแบบบันทึกเก่าและใหม่ของวิสัญญีพยาบาลวัตถุประสงค์
1. พัฒนาแบบบันทึกให้ได้ข้อมูลครบถ้วน  เพื่อเตรียมยา  อุปกรณ์เหมาะสมกับผู้ป่วย  ให้ยาระงับความรู้สึกอย่างมีประสิทธิภาพ
2. เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อแบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึกเก่าและใหม่ของพยาบาลวิสัญญี

วิธีการดำเนินงาน

1. ประชุมชี้แจงบุคลากรในหน่วยงาน  เพื่อวิเคราะห์ปัญหา  ปรับปรุงแบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึก
2. พัฒนาแบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึก
3. เปรียบเทียบความพึงพอใจแบบบันทึกเก่าและใหม่ของพยาบาลวิสัญญีโดยใช้แบบสอบถาม

วิธีการศึกษา

1. ระดมความเห็นของกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาแบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึกที่ใช้ในปัจจุบันมาพัฒนาแบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึก
2. ประชุมชี้แจงแก่วิสัญญีแพทย์   พยาบาลวิสัญญี  เรื่องการใช้แบบบันทึกใหม่ให้เข้าใจถูกต้อง  ตรงกัน  และนำไปใช้ตั้งแต่ 1 ต.ค.2559  -  1 มี.ค.2560 เก็บรวบรวมปัญหาจากการใช้งานจริง
3. ประเมินผลแบบบันทึก  ระดมความคิดเห็น  วิเคราะห์ปัญหา  แก้ไข ปรับปรุง  ให้มีความสมบูรณ์   ทุกขั้นตอน  ตามมาตรฐานการบริการและบันทึกทางวิสัญญี
4. เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อแบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึกเก่าและใหม่  โดยตอบแบบสอบถาม

ผลการดำเนินงาน
1. พัฒนาแบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึก

2. คะแนนความพึงพอใจแบบบันทึกใหม่  95% แบบบันทึกเก่า 89%

บทเรียนที่ได้รับ/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. บรรลุเป้าหมายในการได้แบบบันทึกวิสัญญีที่มีความสมบูรณ์ สามารถบันทึกกิจกรรมทางวิสัญญีครบทุกขั้นตอน  อิงตามมาตรฐานการบริการและการบันทึกทางวิสัญญี    ซึ่งเป็นการระดมความคิดเห็นของกลุ่ม
2. บุคลากรวิสัญญีพึงพอใจสูงสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น