วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2561

การพัฒนาระบบติดตามผู้ป่วยจิตเวช

การพัฒนาระบบติดตามผู้ป่วยจิตเวช

ที่มาและความสำคัญ

    ผู้มารับบริการ งานจิตเวชของโรงพยาบาลพระพุทธบาท ที่เป็นจิตเภท ปี  2558–2560
มีผู้ป่วย 283,  358 และ 419 ราย ตามลำดับ  เห็นได้ว่าผู้ป่วยจิตเภทมีแนวโน้มสูงขึ้น และจากการปฏิบัติงานพบว่ามีผู้ป่วยขาดนัด รับการรักษาไม่ต่อเนื่องมีอาการกำเริบ แสดงอาการก้าวร้าว หูแว่ว หวาดระแวง กลัวคนมาทำร้าย พกอาวุธ เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของ ผู้ปฏิบัติงาน ผู้มารับบริการอีกทั้งครอบครัวก็เกิดความเครียด เบื่อหน่ายเป็นภาระเสียเวลาและรายได้เป็นต้น ในส่วนของชุมชนเกิดการตีตรา ไม่ยอมรับหวาดกลัวพฤติกรรมที่เคยก่อความรุนแรงในชุมชน (serious mental illness with high risk to violence: SMI-V)กลุ่มงานจิตเวชได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงมีความสนใจพัฒนาระบบการติดตามให้ผู้ป่วยจิตเภทมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาระบบการติดตามผู้ป่วยจิตเภทให้มารับการรักษาต่อเนื่อง
2. อัตราการขาดนัดไม่เกินร้อยละ 5

วิธีการดำเนินงาน

1. ทำการรวบรวมข้อมูล นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ปัญหาและอุปสรรค ที่ทำให้ผู้ป่วยขาดนัด ไม่มารับการรักษาอย่างต่อเนื่องพบว่า
- ด้านบุคลากร: มีน้อย
- ด้านวัสดุ อุปกรณ์ ระบบ: ไม่มีระบบการติดตาม
- ด้านผู้ป่วยและญาติ: จากการเก็บสถิติการขาดนัดในปี 2559 พบอัตราการขาดนัด มารับการรักษาไม่ต่อเนื่องและอาการกำเริบ มีจำนวน 31 ราย (คิดเป็นร้อยละ8.65) ซึ่งเป้าหมายตามตัวชี้วัด อัตราการขาดนัดไม่เกินร้อยละ 5 และเมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการขาดนัด ไม่มารับการรักษาต่อเนื่อง พบว่าเกิดจากปฏิเสธการเจ็บป่วย 13 ราย (ร้อยละ41.93) ไม่มีญาติพามา 7 ราย (ร้อยละ22.58)
- มีพฤติกรรมการเสพ 4ราย (ร้อยละ12.90) อาการดีขึ้นแล้ว 6 ราย (ร้อยละ19.35 ) และย้ายที่อยู่ 1 (ร้อยละ3.22) นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยและญาติไม่เห็นความสำคัญของการนัดหมายมองข้ามในส่วนของเวลาที่สูญเสียไปและเพิ่มภาระงานในการค้นบัตรของกลุ่มงานเวชระเบียน การเตรียมใบยารีเมดของเภสัชกร และ งานการตรวจสอบสิทธิ์เป็นต้น
2. ประชุมร่วมกันวางแผนพัฒนาระบบการติดตามผู้ป่วยขาดนัด โดยมีองค์ประกอบ5 ด้านดังนี้
2.1 ข้อมูล (Data)
- ทำข้อมูลในส่วนของที่อยู่เบอร์โรศัพท์ของผู้ป่วยและญาติให้เป็นปัจจุบัน
- จัดทำทะเบียนผู้ป่วยจิตเภทรายใหม่และผู้ป่วยขาดนัดมีอาการกำเริบและมีพฤติกรรมที่ก่อความรุนแรงในชุมชน (SMI-V) สำหรับติดตามและประเมินผล
2.2 สนับสนุนการดูแลตนเอง (Self)สร้างความตระหนัก โดยการประเมิน ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ยา การจัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ ส่งเสริมการประกอบอาชีพ การเฝ้าสังเกตอาการตนเอง การรับบริการจากสถานพยาบาลใกล้บ้าน เช่น การขอรับบริการฉีดยา
2.3 สนับสนุนมีส่วนร่วมของครอบครัว (Family) สร้างสัมพันธภาพประเมินบทบาทความสามารถในการดูแลผู้ป่วย ปัจจัยที่ทำให้อาการกำเริบ การยอมรับการเจ็บป่วย การดูแลตนเองของผู้ป่วย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ยา แผนการรักษา ทักษะในการสื่อสาร เพื่อพัฒนาศักยภาพความสามารถของผู้ดูแลในการดำเนินชีวิตประจำวันร่วมกับผู้ป่วย และการเข้าถึงเครือข่ายสาธารณะสุขและชุมชนขอสนับสนุนรถขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในการมาโรงพยาบาล การส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลจิตเวช
2.4 ดำเนินงานร่วมกันกับเวชกรรมสังคม เครือข่ายสาธารณสุข วัดและชุมชน (Coordination)
-  มีการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชให้พื้นที่ที่รับผิดชอบรับทราบสถานการณ์และมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
-  ติดตามเยี่ยมบ้านในรายที่มีความพฤติกรรมก่อความรุนแรงในชุมชน (serious
mental illness with high risk to violence: SMI-V)
-  ช่วยจัดส่งยาให้ผู้ป่วยขาดนัด
-  ได้รับความร่วมมือจากพระภิกษุสงฆ์ ในการกระตุ้นเตือนให้ผู้ป่วยจิตเวชมารับการรักษา
-  จับคู่บัดดี้ในการมาตรวจตามนัด เนื่องจากผู้ป่วยบางรายญาติลางานไม่ได้ ต้องดูแลผู้สูงอายุ
-  มีการ empowerment อาสาสมัครสาธารณสุข ให้มีความตระหนัก มั่นใจในศักยภาพของตนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนเป็นพี่เลี้ยงให้กับครอบครัวในช่วงแรก จากนั้นพัฒนาให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดูแลตนเองได้นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือในมารับยาให้ผู้ป่วยและพาผู้ป่วยมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
-  ผู้ป่วยในเขตพื้นที่อำเภอบ้านหมอ หนองโดน วังม่วงและดอนพุด เมื่ออาการคงที่แล้วส่งต่อให้พื้นที่ดูแลผู้ป่วยต่อไป
2.5 สร้างความตระหนักและให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด(Aware)
-  มีการทำข้อตกลงร่วมกัน สร้างความตระหนัก ให้เห็นความสำคัญ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นของการมาตรวจตามนัดและเห็นผลกระทบในด้านอื่นๆที่เกิดขึ้นจากการ   ขาดนัด
3. นำไปใช้ในการปฏิบัติงาน
4. ประเมินผล
5. สรุปผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน


หมายเหตุ  7 รายที่ขาดนัดนั้น พบว่ามีสาเหตุ ดังนี้
1. ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการเสพได้และหนีออกจากบ้าน ติดต่อไม่ได้ 2 ราย
2. มารดาซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบหลักในการดูแลผู้ป่วยเสียชีวิต อยู่ในช่วงค้นหา care giver
รายใหม่ให้ 1 ราย
3. ย้ายที่อยู่ 4 ราย

การนำไปใช้ในงานและการขยายผล

มีการนำไปใช้ในการเฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยอารมณ์สองขั้ว ซึมเศร้า และผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติด นอกจากนี้ยังใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆเพื่อให้ได้รับการดูแลต่อเนื่อง

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1.การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ
2. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในการประเมินและแก้ไขปัญหา อุปสรรคต่างๆที่ทำให้ผู้ป่วยขาดนัด ไม่มารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
3. การค้นหา Care giver ที่สามารถให้การดูแล ป้องกันการกำเริบ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
4. การทำงานร่วมกันของเครือข่าย อาทิ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายจิตเวชชุมชนของอำเภอต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น