วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

การดัดแปลงเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 3 - 5



เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 
ระยะที่ 3 - 5

1. ที่มาและความสำคัญ
          สถานการณ์ในปัจจุบันมีประชากรที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังทั้งประเทศมากถึง              แปดล้านคนหรือร้อยละ 17.5 ของประชากร  และมีแนวโน้มป่วยเพิ่มขึ้น                             ปีละ 7,800 คน  อีกครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะปานกลางถึงรุนแรง                    และจากการศึกษารวบรวมข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข                                           พบว่าในระยะ 10 ปี  ประชากรมีแนวโน้มเป็นโรคไตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ                             สาเหตุใหญ่ที่สุดร้อยละ 60   เกิดจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง                            เป็นสาเหตุภาวะของไตเสื่อมตามมาภายหลัง  และโรคไตจากเบาหวาน                              เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย                                             คือพบประมาณร้อยละ 30.1  ของผู้ป่วยที่ได้บำบัดทดแทนไตในประเทศไทย
          จากสถิติการคัดกรองผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง      ของโรงพยาบาลพระพุทธบาท และในเขตพื้นที่รับผิดชอบ  ในปี 2557                            พบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 จำนวน 638 ราย  ระยะที่ 4 จำนวน 317 ราย                    ระยะที่ 5 จำนวน  171 ราย  เป็นผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไต                         ซึ่งระยะนี้การดูแลรักษาผู้ป่วยนับว่ามีความสำคัญมาก  โดยเฉพาะเรื่องอาหาร                     และพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร 

 2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อชะลอความเสื่อมของไตให้คงหน้าที่การทำงานให้นานที่สุด
2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเกิดความรู้ ความเข้าใจ                                                   และตระหนักถึงความสำคัญในการรับประทานอาหาร

3. วิธีการดำเนินงาน
          ระยะเวลาในการดำเนินงาน  ได้ทำการเก็บข้อมูลในช่วง ต.ค 56 – ก.ย 57               และในช่วง ต.ค 57 – ก.ย 58  โดยทำการเก็บข้อมูลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3-5                  ในคลินิกโรคไตเรื้อรัง
 

1. ใช้ประเมินการรับประทานอาหารอย่างง่ายสำหรับประเมินปัญหาผู้ป่วยโรคไต                 เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่บ้าน 

2.  ให้ความรู้การดัดแปลงอาหารโดยใช้เอกสารคู่มือการดัดแปลงอาหาร                        โดยจำกัดโปรตีน  โซเดียม    และคำนวณพลังงานที่เหมาะสม                                       เป็นรายบุคคล                                           

3. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม                                      สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

 4. ติดตามประเมินผลจากการนัดครั้งต่อไป



4. ตัวชี้วัด
          1. อัตราผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-5 ที่ได้รับการดัดแปลงอาหารมี decline GFR < 4 ml/min/1.73 m2/yr มากกว่าร้อยละ 80
          2. อัตราผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับโปแตสเซี่ยมในเลือดได้น้อยกว่า 5 mEq/L  ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโปแตสเซี่ยมในเลือดสูงมากกว่าร้อยละ 80

5. ผลการดำเนินงาน
          1. ในปี 2557  มีผู้ป่วยที่ได้รับการให้ความรู้การดัดแปลงอาหาร  ทั้งหมด  66 ราย อัตราผู้ป่วยที่มี decline GFR < 4 ml/min/1.73 m2/yr เท่ากับร้อยละ 74.24  ส่วนในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโปแตสเซี่ยม
ในเลือดสูงสามารถควบคุมระดับโปแตสเซี่ยมในเลือดได้น้อยกว่า 5
mEq/L  ร้อยละ 70
          2. ในปี 2558  มีผู้ป่วยที่ได้รับการให้ความรู้การดัดแปลงอาหาร  ทั้งหมด  92 ราย อัตราผู้ป่วยที่มี decline GFR < 4 ml/min/1.73 m2/yr เท่ากับร้อยละ 88.04 ส่วนในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโปแตสเซี่ยมในเลือดสูงสามารถควบคุมระดับโปแตสเซี่ยมในเลือดได้น้อยกว่า 5 mEq/L  ร้อยละ 83

6. การนำไปใช้ในงานประจำ
          นำการประเมินและดัดแปลงอาหารด้วยแบบประเมินอย่างง่ายไปประยุกต์ใช้ให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ป่วย
โรคไตเรื้อรังในโรงพยาบาล  ในรพ.สต ในพื้นที่รับผิดชอบ  และในรพช.เครือข่าย

7. ปัญหาและอุปสรรค
          1. ไม่สามารถติดตามประเมินผลผู้ป่วยได้ครบทุกราย
          2. ไม่สามารถประเมินปัญหาอื่นๆ ของผู้ป่วยได้ครบถ้วนเนื่องจากขาดผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
          3. ภาระงานของนักโภชนาการไม่สามารถให้บริการผู้ป่วยได้ทุกวัน

8. แนวทางการพัฒนา
          1. พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น
          2. จัดประชุมกลุ่มผู้ป่วย  แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มงานโภชนาการ รพ.พระพุทธบาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น