วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Comfort ๑๐๐ %

ชื่อผลงานนวัตกรรม   Comfort 100 %
ชื่อผู้เสนอผลงาน  นายประเสริฐ  พุ่มพฤษ์
ชื่อหน่วยงาน  ศัลยกรรม 2 โรงพยาบาลพระพุทธบาท 
ที่มาของโครงการ
                   หอผู้ป่วยศัลยกรรม 2 ให้บริการพยาบาลผู้ป่วยชายศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมอุบัติเหตุ ศัลยกรรมประสาท และศัลยกรรมกระดูก  จากสถิติปีงบประมาณ 2556 พบว่ามีผู้ป่วยที่ต้องนอนบนเตียง ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยจำนวน 718 ราย คิดเป็น 33.96 % ซึ่งผู้ป่วยหลังการผ่าตัด อุบัติเหตุมีปัญหาการเคลื่อนไหว มีแผลที่ขาหรือเท้า  ผู้ป่วยพักฟื้น  ผู้ป่วยดังกล่าวต้องทำกิจวัตรประจำวันบนเตียง รวมทั้งการปัสสาวะบนเตียงซึ่งก่อให้เกิดความไม่สุขสบายและไม่สะดวกเมื่อผู้ป่วยปัสสาวะเสร็จแล้วต้องเทปัสสาวะใส่ขวดเอง บางครั้งหกเลอะเปื้อนอกนอกขวด การก้มเทปัสสาวะลงขวดที่ตั้งอยู่ใต้เตียงซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกจากเตียง  การให้บริการในช่วงภาระงานมากอาจล่าช้าส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สุขสบายและไม่พึงพอใจในบริการ  จากปัญหาดังกล่าว คณะพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาลโดยพนักงานช่วยเหลือคนไข้ จึงได้ประดิษฐ์นวัตกรรมเพื่อช่วยส่งเสริมความสุขสบายและป้องกันอุบัติเหตุแก่ผู้ป่วยขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า Comfort 100 %
วัตถุประสงค์
1.         เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจและสะดวกเมื่อมีการปัสสาวะบนเตียง
2.         เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกขณะปัสสาวะบนเตียง
3.         เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานมีความพึงพอใจ ลดภาระงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.ระยะก่อนดำเนินโครงการ
1.1 สำรวจและรวบรวมปัญหาเกี่ยวกับการที่ผู้ป่วยต้องปัสสาวะบนเตียง
1.2 ประชุมปรึกษาและจัดทำโครงการ
 1.3 แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการ
 1.4 ผู้รับผิดชอบโครงการประชุมเรื่องรายละเอียดการจัดทำโครงการ
2.ระยะดำเนินโครงการ
 2.1 จัดทำแนวทางปฏิบัติในการใช้กระบอกปัสสาวะ
 2.2 นำ เข้าที่ประชุมหน่วยงานเพื่อรับทราบแนวทางปฏิบัติ
 2.3 ลงมือปฏิบัติโดยจัดหาวัสดุอุปกรณ์ตามที่ต้องการดังนี้
 1. กระบอก Urinal ชนิดพลาสติก
 2.กรรไกร หรือ มีดปลายแหลมขนาดเล็ก
 3. ข้อต่อถุงอาหารปั่นผสมที่เหลือใช้

 4.ถุง urine bag
2.4 จัดการประดิษฐ์อุปกรณ์โดย ทำการเจาะรูส่วนปลายของ Urinal จากนั้นสอดข้อต่อถุงอาหารปั่นผสม ให้ผ่านรูกระบอก Urinal นำท่อซิลิโคนเป็นตัวยึดระหว่างกลางปลายสายถุง urine bag แล้วใช้รายบุคคล ระหว่างที่ให้ผู้ป่วยใช้จะมีการทำความสะอาด Urinal ให้ทุกเวร
2.5 เมื่อผู้ป่วยแต่ละคนใช้สร็จแล้ว ผู้ช่วยเหลือคนไข้จะนำ ไปถอดชิ้นส่วน ล้างทำความสะอาดและแยกชิ้นส่วนเก็บ เพื่อนำ มาไว้ใช้ในครั้งถัดไป
2.6 ติดตามประเมินผลทุกเดือน
2.7 นำผลการประเมินที่ได้มาวิเคราะห์และหาแนวทางพัฒนา
2.8 มีการพัฒนาแนวทางอย่างต่อเนื่อง
สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการนวัตกรรม
 1. ในระยะแรกของการดำเนินโครงการ ได้ใช้ข้อต่อสาย Suction ต่อกับ Urine bag ที่ต่อมาจากกระบอกปัสสาวะ ซึ่งมีข้อเสนอแนะจากบุคลากรภายในหอผู้ป่วยถึงความไม่สะดวกเนื่องจากข้อต่อหลุดจาก Urinal ง่าย และบางครั้งข้อต่อไม่แน่นต้องเปลี่ยนถุง Urine bag   บ่อยครั้งทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย




                2. จากปัญหาและข้อเสนอแนะดังกล่าว ทางผู้จัดทำโครงการจึงได้สำรวจ สอบถาม ถึงข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ซึ่งได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากบุคลากรในหอผู้ป่วยว่าน่าจะเปลี่ยนข้อต่อสายจากกระบอกปัสสาวะให้มีความแข็งแรงมากขึ้น จะได้สะดวกในการดูแล จึงได้ทดลองและเปลี่ยนจากข้อต่อสาย suction เป็น ข้อต่อจากถุงอาหารทางสายยาง และใช้ท่อซิลิโคนต่อกับ Urine bag โดยตรง


   - ในระยะต่อมาพบว่าข้อต่อมีความแข็งแรงมากขึ้น สะดวก สามารถถอดล้างและนำกลับมาใช้ได้อีกหลายครั้ง และสามารถบันทึกปริมาณปัสสาวะได้ โดยไม่ต้องมีขวดตวง ลดระยะเวลาการทำงาน ไม่เกิดปัญหาขวดตวงปัสสาวะแตก 
                  - หลังจากได้มีการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องพบว่าผู้ป่วยและบุคลากรมีความพึงพอใจในการ ใช้นวัตกรรมเป็นอย่างมาก

ผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย (%)
ผลลัพธ์ (%)
1.      ความพึงพอใจของผู้ป่วย
85
92
2.      อุบัติการณ์การพลัดตกจากเตียง
0
0
3.      ความพึงพอใจของบุคลกร
85
86


เรียบง่าย ใช้ได้จริง

เรื่อง  เรียบง่าย ใช้ได้จริง

ที่มาของปัญหา
          การทิ้งขยะติดเชื้อหลังทำtreatment ที่ผ่านมา พบว่ายังมีการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามหลักของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล ที่ถังขยะติดเชื้อต้องมีฝาปิด และต้องเป็นลักษณะใช้เท้าเหยียบสำหรับปิด -  เปิด หรือใส่ถุงพลาสติกและเก็บทิ้งทุกครั้งหลังเสร็จกิจกรรมในแต่ละราย จากแนวปฏิบัติที่กำหนด ยังไม่มีถังขยะติดเชื้อที่มีฝาปิด โดยใช้เท้าเหยียบ ปิด – เปิดที่ไปพร้อมกับรถทำtreatment ได้ ถังขยะที่อยู่บนรถ treatment จึงเป็นถังขยะติดเชื้อที่ไม่มีฝาปิด ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด การใช้ถุงพลาสติกในแต่ละครั้งที่ทำหัตถการให้ผู้ป่วย เป็นการเพิ่มขยะพลาสติกอย่างมาก
          หอผู้ป่วยอายุรกรรม 3 จึงได้ประดิษฐ์ถังขยะติดเชื้อที่สามารถไปกับรถทำ treatment และตรงตามมาตรฐานการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

วัตถุประสงค์
          1.เพื่อให้มีการปฏิบัติสอดคล้องกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล

การดำเนินการ
          1.นำถังขยะที่มีฝาปิด ใช้เท้าเหยียบปิด เปิด ใส่โครงเหล็ก
          2.นำถังยะที่ใส่โครงเหล็ก เชื่อมต่อกับรถ treatment



ผลลัพธ์
          1.มีการปฏิบัติตรงตามมาตรฐานการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
          2.มีความสะดวกในการทิ้งขยะ ไม่ต้องก้มตัว ขยะไม่ออกนอกถัง

การนำไปใช้ในงานประจำ

          สามารถไปใช้กับงานประจำได้ดี เพิ่มความสะดวกในการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจ และตอบโจทย์เรื่องการทิ้งขยะติดเชื้อได้ตรงตามมาตรฐานการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
          เกิดจากความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ ที่มีความพยายามในการคิดแก้ปัญหาในการประจำเพื่อให้มีการปฏิบัติได้ตรงตามมาตรฐาน เรียบง่าย และใช้ได้จริง เจ้าหน้าที่ และผู้ป่วยมีความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 

ติดต่อ:  หอผู้ป่วยอายุรกรรม ๓  โรงพยาบาลพระพุทธบาท