วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ชื่อผลงานนวัตกรรม   การพัฒนาระบบการจัดยาควบคุมพิเศษทางวิสัญญีวิทยา
ชื่อผู้เสนอผลงาน  นางอัญชลี  ญาณสุภาพ
ชื่อ/ที่อยู่ของหน่วยงาน  กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา
หลักการและเหตุผล
          หน่วยงานวิสัญญีมีหน้าที่ให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัด  ทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บปวดขณะผ่าตัดยาที่ใช้มีหลายชนิด เช่น   Fentanyl , Morphine, Pethidine, Dormicum, Ephedrine, Ketalar เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดเป็นยาระงับปวด  ยาสงบประสาท  ยาเหล่านี้ถือเป็นยาควบคุมพิเศษเนื่องจากเป็นยาอันตรายและเป็นยาเสพติด   ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้รับเข้าไปไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ เป็นช่วงระยะๆ  หรือนานติดต่อกันก็ตามจะทำให้  บุคคลนั้นมีสุขภาพเสื่อมโทรมลง   และเมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพจะมีอาการผิดปกติทั้งด้านร่างกายและจิตใจ  บางชนิดมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ซึ่งถ้าไม่ควบคุมการใช้อย่างใกล้ชิด หรือมีการผิดพลาดจากการใช้จะเป็นอันตรายถึงชีวิตผู้ป่วยได้  พยาบาลที่ใช้ยาเหล่านี้จึงต้องมีการควบคุมการใช้อย่างรัดกุมเป็นพิเศษ   ผู้จัดทำในฐานะพยาบาลแผนกวิสัญญีจึงพัฒนาระบบการจัดยาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันความสูญหายของยา    และลดระยะเวลาการตรวจสอบยาคงคลัง  

วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาระบบการจัดยาควบคุมพิเศษให้มีประสิทธิภาพ


ขั้นตอนการดำเนินงาน
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหา

ขั้นที่ 2   การพัฒนาระบบการจัดยาควบคุมพิเศษทางวิสัญญี 


การควบคุมยา  
     - ในเวลาราชการ   กำหนดให้หัวหน้างานวิสัญญีพยาบาลและแม่บ้านเป็นผู้ถือกุญแจคลังยาและตู้เก็บกล่องยาย่อย 

     -  นอกเวลาราชการ  จัดเตรียมไว้ 2 กล่อง กำหนดให้วิสัญญีพยาบาลเวรดมยาเป็นผู้ถือกุญแจตู้เก็บกล่องยาย่อย

กำหนดขั้นตอนการจัดยาวิสัญญี
              


การประเมินผล

สรุปผลงาน

รายการ
เกณฑ์การประเมิน
ผลลัพธ์
1.    การสูญหายของยา                                 
0 %
0 %
2.  ระยะเวลาเฉลี่ยการตรวจสอบยา                          
< 15นาที
10.2 นาที
3.  คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ใช้
> 3.51 (คะแนนเต็ม 5)
4.53


                 


      ระบบการจัดการยาควบคุมพิเศษทางวิสัญญีที่พัฒนาขึ้น  สามารถป้องกันความสูญหายของยาได้ 100 %     ลดระยะเวลาในการตรวจสอบการใช้ยาลงมากเหลือเพียง 10.2 นาทีต่อครั้ง เนื่องจากได้มีกล่องมาตรฐานที่มีลักษณะมองเห็นง่ายที่เรียกว่า visual control เห็นโดยทันทีนับได้ทันใจ  มียาหมุนเวียนใช้อย่างเหมาะสมตลอดเวลาไม่พบยาหมดอายุ ทำให้หน่วยงานสามารถลดต้นทุนยาคงคลังได้ ไม่พบยาไม่พอใช้  เพิ่มความสะดวกและลดระยะเวลาในการรอเบิกยาควบคุมพิเศษของผู้ปฏิบัติงาน   จึงทำให้พยาบาลวิสัญญีซึ่งเป็นผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อระบบการจัดการยาควบคุมพิเศษทางวิสัญญี อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

Donut Splint ที่คุ้มค่า

ชื่อผลงานนวัตกรรม      Donut Splint ที่คุ้มค่า
ชื่อผู้เสนอผลงาน นายวิชิต    ทองใบ
ชื่อ/ที่อยู่ ของหน่วยงาน  ห้องบริการใส่เฝือก   งาน OPD Orthopedic

ที่มาโครงการ             
         แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกไหปลาร้าหัก (Fracture of Clavicle) พบว่า 80-90%  กระดูกสามารถติดได้เอง แต่ปัญหาที่พบบ่อยคือกระดูกไหปลาร้ามักจะติดผิดรูป  แนวทางการรักษาของแพทย์จึงให้การรักษาเพื่อลดการเคลื่อนไหวของกระดูกหัก เพื่อบรรเทาอาการปวด โดยการใส่เฝือกอ่อนซึ่งปัจจุบันจะเป็นเฝือกอ่อนสำเร็จรูป เรียกว่า M-Splint ซึ่งเป็นเฝือกสำเร็จรูปที่ใช้วัสดุคล้ายฟองน้ำ ขอบที่แข็งและหนา การใช้งานต้องใส่จนแน่นทุกครั้ง เมื่อเกิดแรงกดทับจะเสียดสีกับผิวหนังทำให้เกิดการระคายเคืองง่ายต่อการเกิดรอยกดทับ อีกทั้งมีขนาดจำกัดเพียง 3 ขนาด จึงยากต่อการปรับให้พอดีกับขนาดกระดูกไหปลาร้าของผู้ป่วยทุกราย
             จากข้อมูลผู้มารับบริการที่ห้องเฝือก ตั้งแต่ตุลาคม 2556 – กันยายน 2557 พบว่ามีผู้ป่วยที่ใส่

M-Splint  จำนวน 47 ราย เกิดแผลกดทับ  45 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.7 ทำให้ต้องถอดก่อนเวลากำหนด ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด กระดูกติดผิดรูป ดังนั้น ผู้จัดทำจึงได้ศึกษา ค้นคว้า ปรึกษาแพทย์  ผลิต ออกแบบ และพัฒนาการทำเฝือกอ่อนที่เรียกว่า Donut Splint ขึ้น

วัตถุประสงค์    
          1.   ลดการเกิดแผลกดทับจากการใส่ เฝือกอ่อน 
          2.   ลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ศึกษาการทำ Donut Splint ของโรงพยาบาลราชรามาธิบดี และโรงพยาบาลเลิศสิน แล้วนำมาพัฒนาโดยปรึกษาแพทย์ และทดลองใช้ในคลินิกศัลยกรรมกระดูกและข้อ

 จากรูปภาพ  X-Ray กระดูกไหปลาร้าหัก (Clavicle Fracture)


รูปภาพ  แผลกดทับจาก  M-Splint


 การประดิษฐ์เฝือกอ่อน ชื่อ  Donut Splint

           อุปกรณ์ในการทำ Donut Splint ประกอบด้วย
1.  ปลอกผ้ายืด (Stockinet) ขนาด  2 นิ้ว         1        ม้วน
2.  สำลีปอนด์ (Cotton wood)                     1       ปอนด์
3.  เหล็ก 6 หุน ยาว 2.5 ฟุต                         2       แท่ง
4.  กรรไกรสำหรับตัดผ้า                              1       ด้าม
วิธีการประดิษฐ์ Donut Splint

1.  วัด Stockinet ขนาด 2 นิ้ว ความยาว 2 หลา หรือ 180 ซ.ม. แบ่งครึ่ง Stockinet ม้วนปลาย 2 ข้างเข้าหากัน เหลือกึ่งกลางประมาณ 8 นิ้ว มัดเป็น Donut ไว้ทั้ง 2 ข้าง

            2.  วัดสำลีปอนด์ ยาว 18 นิ้ว กว้าง 10 นิ้ว ตัดออกเป็นชิ้น 3 ชิ้นเท่าๆกัน
            3.  นำเหล็ก 6 หุน ประกบสำลี 2 ด้าน ม้วนตามความยาวของสำลีให้แน่น แล้วนำสำลีที่ม้วนใส่ใน Stockinet ที่มัดเป็น Donut ไว้ทั้ง 2 ข้าง








นำมาทดลองใช้กับผู้ป่วยที่ห้องเฝือกตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2556 – เดือน กันยายน 2557 (ระยะเวลา 1 ปี)
        วิธีการใช้กับผู้ป่วย กระดูกไหปลาร้าหัก
          1. จัดท่าให้ผู้ป่วยนั่งเก้าอี้ไม่มีพนักพิง มือเท้าเอว 2 ข้าง
          2. ทำความสะอาดรักแร้ทั้ง2ข้าง
        3.  นำ Donut Splint อ้อมหัวไหล่ทั้ง2ข้างโดยใช้ปลาย Stockinet ที่เหลือจากการทำ Donut Splint ดึงไว้ด้านหลัง ทำปลายที่ผ่านกระดูกไหลปลาร้าที่หักไว้ด้านบนแล้งดึง 2 ข้างเข้าหากัน
        4.  พัน Stockinet อ้อมรอบหัวไหล่มาด้านหลังแล้ว อ้อมรอบหัวไหล่อีกข้าง ระหว่างนั้นให้ผู้ป่วยแอ่นอกขึ้นอาจใช้ เข่าช่วยดันด้านหลังผูก Stockinet ให้กระชับ
        5.  แนะนำผู้ป่วยระมัดระวัง Donut Splint ไม่ให้เปียกน้ำ หมั่นทำความสะอาดรักแร้และโรยแป้งขยับข้อมือและมือบ่อยๆถ้าแขนมีอาการปวด บวม ชา หรือผ้าที่พันไว้เลื่อนหลุดออกให้รีบมาพบแพทย์ 

       



ผลการดำเนินการ

          1.   ลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล ร้อยละ 21.5 หรือ 4 เท่า
ค่าใช้จ่าย M-Splint           ราคาชิ้นละ       200    บาท
ค่าใช้จ่าย Donut Splint      ราคาชิ้นละ          43   บาท
- ปลอกผ้ายืด (Stockinet) ขนาด  2 นิ้ว        จำนวน 2 หลา  เป็นเงิน 19.50 บาท
- สำลีปอนด์ (Cotton wood)   จำนวน 1/2  ปอนด์ เป็นเงิน 23.50 บาท
หมายเหตุ : เหล็ก 6 หุน ยาว 2.5 ฟุต จำนวน  2  แท่ง ไม่มีต้นทุนได้มาจาก โรงงานเป็นวัสดุ
เหลือใช้
  2. เปรียบเทียบการเกิดแผลกดทับจากการใส่ M-Splint และ Donut Splint
จำนวนผู้ป่วย กระดูกไหลปลาร้าหัก ตั้งแต่ ต.ค.56 - ก.ย.57 (ที่มารับบริการห้องเฝือก)
ผู้ป่วยใส่ M-Splint = 46 คนเกิดแผลกดทับ 2 คน คิดเป็น =  4.3%
จำนวนผู้ป่วยใส่ Donut Splint = 46 คน         ไม่เกิดแผลกดทับ = 0%

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1.    การทำงานเป็นทีม  ได้รับสนับสนุนจากแพทย์ หัวหน้างาน และผู้ร่วมงาน ให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวกและให้โอกาสในการพัฒนานวัตกรรม
2.    ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ
ข้อเสนอแนะและโอกาสพัฒนา
1.       จัดอบรมวิธีการผลิต Donut-Splint ให้กับบุคลากรในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลเครือข่าย
2.       จัดอบรมวิธีการใส่เฝือกอ่อนที่ถูกต้อง
3.       ผลิตสื่อวีดีทัศน์


ยาเดิมผู้ป่วยช่วยโรงพยาบาลประหยัด

ที่มาของปัญหา / หลักการและเหตุผล
           จากข้อมูลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปี 2555 ระบุว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านการใช้ยาเพิ่มขึ้นจาก 36,506 ล้านบาทในปี 2543 เป็น 98,375 ล้านบาท ในปี 2551 โดยค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ 46.7 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมดของประเทศ ซึ่งสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วกว่า 2 เท่าตัว และมีแนวโน้มการนำเข้ายาจากต่างประเทศมากขึ้นจากร้อยละ 46 เป็นร้อยละ 65 ในช่วงเวลาเดียวกัน สำหรับโรงพยาบาลพระพุทธบาท มีมูลค่าการใช้ยาทั้งในส่วนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในรวมกัน ในปีงบประมาณ 2555, 2556 และ 2557 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 167, 176, 177 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งมูลค่าการใช้ยามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการลดค่าใช้จ่ายด้านยาจะสามารถช่วยลดมูลค่าการใช้ยาและค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยรวมได้ โดยห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระพุทธบาทได้มีการจัดทำระบบรับฝากยาเดิมผู้ป่วยที่เข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาล โดยการใช้ยาเดิมผู้ป่วยที่นำมาฝากจัดยาให้ในช่วงที่ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลและใช้ยาเดิมที่เหลือปรับยาเมื่อแพทย์สั่งยากลับบ้าน ตลอดจนทำการคัดแยกยาเดิมผู้ป่วยที่เหลือเกินจากวันนัดและอยู่ในสภาพดีมาหมุนเวียนใช้ต่อเนื่อง เพื่อเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาหามูลค่ายาเดิมของผู้ป่วยที่เหลือเกินวันนัดจากกระบวนการรับฝากยาเดิมและถูกนำมาหมุนเวียนใช้ต่อเนื่องภายหลังจากที่แพทย์สั่งกลับบ้าน
2. เพื่อให้เกิดแนวทางการจัดการยาเดิมผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มียาเดิมเหลือในการปรับยาแก่ผู้ป่วยเมื่อแพทย์สั่งกลับบ้านอย่างเป็นระบบ ลดปริมาณการจ่ายยาและประหยัดมูลค่าการใช้ยา
วิธีการดำเนินงาน

          เก็บข้อมูลมูลค่ายาจากยาเดิมผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลพระพุทธบาท โดยใช้ระบบการรับฝากยาเดิมของห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระพุทธบาท ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2557 – 30 กันยายน 2557
ผลการดำเนินงาน
จำนวนผู้ป่วยที่ฝากยาเดิม
ปีงบประมาณ
จำนวนผู้ป่วยที่นำยามาฝาก (คน)
2555
(ต.ค.2554-ก.ย.2555)
2,065
2556
(ต.ค.2555-ก.ย.2556)
1,860
2557
(ต.ค.2556-ก.ย.2557)
1,959


มูลค่ายาเดิมผู้ป่วยเหลือใช้ที่ถูกคัดแยกและนำมาใช้ต่อเนื่อง
เดือน
มูลค่า (บาท)
มิถุนายน 2557
26,504.62
กรกฎาคม 2557
7,619.14
สิงหาคม 2557
33,205.67
กันยายน 2557
20,863.81
รวม
88,193.24


การนำไปใช้ในงานประจำ
          1. ใช้ระบบรับฝากยาเดิมสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ในการจัดยาให้แก่ผู้ป่วยช่วงรักษาตัวในโรงพยาบาลและปรับยา home medication เมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน
          2. เภสัชกรสามารถช่วยตรวจสอบเรื่องยา ทั้งในด้านของความถูกต้องของการใช้ยา ผลข้างเคียงจากการใช้ยาและสภาพของยา ปริมาณยาที่สัมพันธ์กับวันนัด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย
          3. นำยาเดิมผู้ป่วยที่สภาพดีหลังจากการคัดแยกมาหมุนเวียนใช้ และเก็บมูลค่ายาเดิมผู้ป่วยที่เหลือหลังจากปรับยา home medication เพื่อลดปริมาณการจ่ายยา ตลอดจนลดปริมาณการเบิกยาจากคลังยา

บทเรียนที่ได้รับ/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
          จากกระบวนการสัมภาษณ์ผู้ป่วยรับใหม่และรับฝากยาเดิมผู้ป่วย ทำให้เภสัชกรสามารถค้นพบปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เช่น รับประทานยาไม่ถูกต้อง รับประทานยาซ้ำซ้อน รับยาจากหลายโรงพยาบาล ยาเหลือไม่พอนัด มียาเก่าเหลือเกินวันนัด ยาหมดอายุ สภาพยาไม่เหมาะสม เป็นต้นระบบการรับฝากยาเดิมสามารถช่วยแก้ปัญหาให้แก่ผู้ป่วยได้ ทำให้ผู้ป่วยใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ได้รับยาที่เหมาะสมและเพียงพอตามวันนัด มียาสภาพดีเพื่อให้ในการรักษาโรค อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเป็นระบบที่ถูกทำอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่มีการคัดแยกยาดังกล่าวกลับมา ทำให้ยาที่เหลือดังกล่าวถูกทิ้งไป ทั้งที่สามารถนำกลับมาให้ใหม่ได้ ทำให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายด้านยา แต่กระบวนการดังกล่าวจำเป็นต้องมีการกระตุ้นให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญของยาเดิมที่เหลืออยู่ และต้องอาศัยความเสียสละและความร่วมมือกันในหน่วยงานในการคัดแยกตลอดจนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาลในระยะยาวได้ 


ห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระพุทธบาท 

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

อ้อมกอดครั้งสุดท้าย

            มนุษย์เมื่อเกิดมาแล้วย่อมหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด ความแก่เฒ่าและความตายไม่พ้น สิ่งที่ทุกคนปรารถนาคือ การตายอย่างสงบ ไม่เจ็บไม่ปวด ไม่ทุกข์ทรมาน ปี2555 ฉันเพิ่งมารู้ว่าสิ่งที่ตนเองได้ปฏิบัติมาตลอด นักวิชาการเขาเรียกว่า   การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เริ่มจากการเห็นผู้ป่วยมะเร็งที่มารักษาที่ตึกศัลยกรรมหญิง มีความทุกข์ทรมานมาก ฉันจึง      เข้าไปพูดคุย แสดงความเห็นอกเห็นใจ บางครั้งต้องอดทนอารมณ์หงุดหงิดกราดเกรี้ยว ไม่มีสูตรสำเร็จในการดูแลผู้ป่วย    แต่ละคน การปฏิบัติถูกปรับเปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ ผู้ป่วยทุกคนอยู่ในความทรงจำของฉันเสมอ ดังเช่นเรื่องราวของขาว     บุญพามารู้จักกัน

            ขาว (นามสมมุติ ) หญิงสาวแม่ลูกสองอายุ 36 ปี ฉันได้รู้จักเธอเดือนตุลาคม 2555  แรกรับเธอมีอาการท้องโต  ปวดท้องมาก หายใจเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ หน้าตาซูบซีด หลังจากแพทย์เจาะท้องระบายน้ำออก  ท้องยุบลงทันตาเห็น อาการเหนื่อยลดลง พอขยับได้บ้าง แต่ก็ปวดเมื่อยตามร่างกาย ฉันจึงช่วยนวดแขน นวดหลัง นวดขาให้  เป็นอย่างไร           ดีขึ้นไหมคะ ฉันถามขณะนวด เธอตอบว่า  “ดีคะ รู้สึกผ่อนคลาย เบาสบาย” ฉันถามต่อว่าแล้วรู้สึกหายปวดหรือเปล่า    “เธอยิ้มน้อย ๆ พูดว่า  ไม่หายปวดหรอกพี่ แต่มันรู้สึกสบายขึ้น” หลังจากวันนั้นฉันได้เข้าไปพูดคุยกับเธอและแม่ซึ่งอยู่เฝ้าดูแลเกือบตลอดว่า  “สายตาแม่แทบไม่เคยห่างหายจากขาว”  ฉันรู้สึกได้ถึงความรักของแม่ ความผูกพันของแม่ลูกคู่นี้  บางวันสามีจะพาลูกสาวอายุ 4 ขวบ ลูกชายอายุ 2 ขวบ มาเยี่ยมให้กำลังใจขาว

            พี่คะหมอแนะนำจะให้เคมีบำบัด หนูกลัว ดิฉันจับมือคนไข้แล้วพูดให้กำลังใจทั้งคนไข้และญาติว่า “พี่จะคอยเป็นกำลังใจและหมั่นไปเยี่ยมบ่อย ๆ นะ  พูดถึงความกลัวทุกคนก็กลัวทั้งนั้นแหละ แต่มาถึงขั้นนี้แล้วเพื่อที่จะได้อยู่กับลูกและแม่หนูต้องอดทนนะคะ” หลังให้ยาเคมีบำบัด ขาวอาการดีขึ้น  กลับไปอยู่บ้านได้ไม่นาน ต่อมาขาวอาการ   ทรุดหนัก เพราะโรคได้ลุกลามไปอภัยวะอื่นทำให้ ปวดท้อง ท้องแข็ง เหนื่อย กินไม่ได้ อาเจียนทุกครั้งเมื่ออาหารตกถึงกระเพาะ แต่ก็อยากกินทุกอย่าง แม่และสามีก็ซื้อมาให้กิน บางครั้งกินเข้าปากแล้วบ้วนทิ้งเพื่อจะได้ไม่อาเจียน นอนก็ไม่หลับ น่าสงสารมาก “หนูไม่ไหวแล้วหนูอยากตายเหลือเกินมันทรมานมากบางครั้งพูดไปร้องไห้ไป ” พี่นวดหลังให้หนูหน่อย ให้หนูหลับก่อนนะแล้วพี่ค่อยไป แม่หนูนวดก็ไม่เหมือนพี่นวด แฟนหนูนวดก็ไม่เหมือนพี่นวด ทั้งๆ ที่พี่สอนแล้ว ดิฉันนวดให้ซักพักใหญ่ขาวก็หลับไป ฉันจึงชวนแม่ออกมาคุยข้างนอกห้อง สีหน้าที่บ่งบอกความทุกข์ใจของแม่  ทำให้ฉันบอกว่า  พี่เข้าใจและเห็นใจความรู้สึกทุกข์ทรมานทั้ง 2 คน มีอะไรจะให้พี่ช่วยไหมคะ  หนูสงสารลูกเหลือเกินไม่รู้จะทำอย่างไร  รู้อย่างนี้หนูไม่ให้หมอทำผ่าตัดหรอกแม่พูดไปร้องไห้ไป  ฉันให้เหตุผลไปว่า แต่ถ้าไม่ทำผ่าตัดลูกจะนอนไม่ได้ ท้องก็โต แน่นอึดอัดนอนไม่สบาย ลูกทรมานมากก่อนเจาะท้องใช่ไหม แม่ทำดีที่สุดแล้วอย่าโทษตัวเองเลย แม่ต้องเข้มแข็งนะ แต่อย่าลืมดูแลตัวเองด้วย ถ้าป่วยลูกจะขาดที่พึ่งนะคะ

            วันต่อมาฉันขึ้นไปเยี่ยมอาการอีก พอเห็นหน้าก็ยกมือสวัสดีทั้งแม่และลูกด้วยความดีใจ ฉันถามว่า  วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง  ขาวสีหน้าหม่นหมองตอบว่า เหมือนเดิมแหละพี่กินไม่ได้นอนก็ไม่หลับปวดทรมาน หนูอยากกลับบ้าน      ฉันถามต่อ อยากให้พี่ช่วยอะไรไหมคะที่จะทำให้สบายใจบ้าง แม่และขาวตอบพร้อมกันว่า อยากทำสังฆทาน ฉันตอบตกลงพรุ่งนี้จะช่วยเตรียมของมาให้ แม่ขาวรีบบอกว่า เงินหนูไม่มีแต่ไม่เป็นไรเกรงใจพี่เดี๋ยวไปขอเรี่ยไร บอกบุญเพื่อนบ้าน วันรุ่งขึ้นแม่ก็ได้สังฆทานมา 1 ถัง จริง ๆ  ฉันช่วยเตรียมอาหาร หวาน คาว ดอกไม้ ธูป เทียน มาให้  เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยนิมนต์พระมาให้ 1 รูป  หลังจากวันนั้น ฉันขึ้นมาเยี่ยมอีก  ขาว...แม้ว่าจะซูบผอมหนังหุ้มกระดูก รีบยกขึ้นนั่ง ยกมือไหว้ ฉันรับไหว้ เธอมองฉันด้วยสายตาระห้อย หมดอาลัย โดยไม่คาดฝัน ขาวยกแขน 2 ข้างขึ้น แล้วโผเข้ากอดฉัน “ พี่คะ หนูขออนุญาต   เรียกพี่ว่าแม่นะ หนูรักพี่เหมือนแม่คนที่ 2 ของหนูเลย ” พูดพลางร้องไห้สะอึกสะอื้น ฉันตกใจพยายามตั้งสติและกลั้นน้ำตาไว้ แล้วโอบกอดตอบ “คะแม่ก็รักหนูเช่นกันแล้วหนูอย่าลืมไปกอดแม่ผู้ให้กำเนิดหนูด้วยนะ”เพราะแม่เขารักหนูมากดูแลหนูเป็นอย่างดีไม่ได้หลับไม่ได้นอนเห็นไหมคะ แม่คนนี้ขอให้หนูตั้งสติให้ดีวันที่ลูกจะจากแม่ไปให้ลูกคิดถึงบุญกุศลคุณงามความดีที่หนูทำมาทั้งชีวิตจะได้ไปพบสิ่งดี ๆ ในภพหน้านะ คะ แต่หนูก็ยังไม่อยากตายอยากทำงานหาเงินให้แม่ ดูแลแม่ให้สบายกว่านี้ หนูยังไม่ได้ทำเลย หนูทำได้คะ เพียงแค่กอด พูดคุย แสดงความรักกับแม่
         
           ขาวมีสีหน้าดีขึ้น เหมือนตัดสินใจได้ เธอขอกลับบ้าน ใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายกับแม่ สามี และลุกทั้งสอง 3วัน หลังจากนั้น ขาวก็เสียชีวิตอย่างสงบ

หนึ่งเดือนกว่าที่ฉันได้ไปเยี่ยมเยียนดูแลพุดคุยให้กำลังใจขาว  ทำให้ฉันรู้สึกภาคภูมิใจ ประทับใจ ได้เรียนรู้ว่า
            1.เมื่อคนรู้ตัวว่าจะตายจะคิดถึงบ้านที่เคยอยู่และอยากกลับบ้าน
            2.คิดถึงสิ่งที่ยังไม่ได้ตอบแทนพระคุณ พ่อ-แม่
            ฉะนั้น ขณะที่มีชีวิตอยู่ก็ควรจะหมั่นสร้างความดี ทำบุญกุศล ทดแทนพระคุณพ่อ-แม่ ก่อนที่จะไม่ได้ทำนะคะ


ผู้เขียน   นางสาวนารี  สมโภชน์
บรรณาธิการเรื่องเล่า  นางกาญจนา  สรรพคุณ