วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาคุณภาพ การวางแผน จำหน่ายผู้ป่วย


ชื่อโครงการ       การพัฒนาคุณภาพ การวางแผน จำหน่ายผู้ป่วย
สมาชิก             1. คุณวัฒนาภา    ธันว์ชาการย์
                2. คุณเรวดี ปัถวี
ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ
                จากการตรวจสอบบันทึกทางการพยาบาลรอบปี 55 ปีผ่านมา พบว่าการบันทึกเรื่อง การวางแผนจำหน่าย ยังไม่ครบถ้วน คะแนนบันทึก การวางแผนจำหน่ายของหอผู้ป่วยสงฆ์ = 49.38%
                ดังนั้นเจ้าหน้าที่ หอผู้ป่วยสงฆ์จึงได้นำเรื่องการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยมาทบทวน โดยใช้กระบวนการพยาบาลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ต่อเนื่องถูกต้องเหมาะสม พัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วย รวมทั้งป้องกันการกลับมานอนรักษาในโรงพยาบาลซ้ำด้วยสาเหตุเดิม และสอดคล้องกับนโยบายแผนยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ส่งเสริมประสิทธิภาพความคุ้มทุน และสนับสนุนการมีเครือข่ายการดูแลผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
1.   เพื่อพัฒนาคุณภาพบันทึกการพยาบาลเรื่องการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย
2.   เพื่อเพิ่มทักษะใช้กระบวนการพยาบาล ในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ  ต่อเนื่อง ครอบคลุมองค์รวม โดยใช้เครือข่าย

เป้าหมาย
เพื่อพัฒนาศักยภาพของพยาบาลในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพเรื่องการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย      สมบูรณ์ต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกด้าน > 70 %
วิธีการดำเนินงาน
1.   ค้นหาปัญหาในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย
2.   ประชุมชี้แจงปัญหาในที่ประชุมหน่วยงาน
3.   ทบทวนความรู้ ระคมสมอง เพื่อหาแนวทางปฏิบัติเรื่อง การวางแผนจำหน่ายโดยใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายของ แม็คดีแฮนและเคาลัคนั  (Mckeeham @ Coolton , 1985 Cited  in Jaekson, 1994 :492 502)
4.   นำความรู้สู่การปฏิบัติ โดยยึดหลัก  M-E-T-H-O-D
5.   ประเมินผลการปฏิบัติ 
ตารางแสดงการตรวจบันทึกการพยาบาลที่ผ่านมา (ก.ค.55) คิดเป็น%ดังนี้

ที่
ข้อรายการ
คะแนน
1.

2.

3.
4.
5.
6.
การประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย
การวินิจฉัยปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย
การวางแผนการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล
การวางแผนการจำหน่าย

64.81%

63.58%

64.81%
71.30%
52.26%
49.38%

กิจกรรมพัฒนา
วิเคราะห์สาเหตุ
   
สาเหตุการบันทึกการพยาบาลไม่ครบถ้วน คะแนนการวางแผนจำหน่ายต่ำกว่าเกณฑ์สามารถวิเคราะห์โดยใช้แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) ดังนี้




ตารางแสดงรายละเอียดของการพัฒนาการวางแผนจำหน่าย
สาเหตุปัญหา
วิธีการพัฒนา
1)   ด้านบุคลากร
-                   รูปแบบการเขียนแผนการจำหน่ายยังไม่ชัดเจน
 
-การบันทึกยังไม่ครอบคลุมองค์รวม   ไม่ครบถ้วน













































2).ด้านสิ่งแวดล้อม
-มีกิจกรรมอื่นรบกวน เช่น ผู้ป่วยและญาติ  แพทย์มาตรวจ   เวลาเขียนบันทึกน้อย






3).ด้านอุปกรณ์




4). ด้านวิธีการ
-ขั้นตอน แบบแผน แนวทางการวางแผนจำหน่าย

 -ทบทวนการใช้แนวทางการจำหน่ายผู้ป่วย โดยใช้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการดุแลผู้ป่วยแต่ละราย    เป็นรูปแบบ M-E-T-H-O-D  ดังนี้
          M (Medication)      ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับยาที่ตนเองได้รับอย่างละเอียดได้แก่ ฤทธิ์ของยา วิธีการใช้ ขนาด ปริมาณ จำนวนครั้งระยะเวลาที่ใช้ภาระแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมทั้งข้อห้ามสำหรับการใช้ยาด้วย  
           E (Environment & Economic)  ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้กับการจัดการสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ การใช้แหล่งประโยชน์ในชุมชนรวมทั้งเกี่ยวกับการจัดการปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม
           T (Treatment)       ผู้ป่วยและครอบครัวต้องเข้าใจเป้าหมายของการรักษา และมีทักษะที่จำเป็นการปฏิบัติตามการรักษา มีความสามารถในการเฝ้าระวังสังเกตอาการของตนเอง
           H  (Health)     ผู้ป่วยและครอบครัวต้องเข้าใจภาวะสุขภาพของตนเอง ข้อจำกัดอะไรบ้าง เข้าใจผลกระทบของภาวะความเจ็บป่วยต่อร่างกาย ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สามารถปรับวิธีชีวิตให้เหมาะสมกับข้อจำกัดด้านสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมฟื้นฟูสภาพและป้องกัน
            O (Outpatient referral)  ผู้ป่วยต้องเข้าใจและเห็นความสำคัญการมาตรวจตามนัด เพื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง
และต้องรู้ว่ากรณีฉุกเฉิน ควรขอความช่วยเหลือจากใคร             มีการส่งต่อแผนการดูและอย่างต่อเนื่อง และต้องรู้ว่ากรณีฉุกเฉิน ควรขอความช่วยเหลือจากใคร             มีการส่งต่อแผนการดูและอย่างต่อเนื่อง แผนการจำหน่ายต่อเนื่องไปยังสถานที่ที่ผู้ป่วยจะสามารถขอความช่วยเหลือได้  
D (Diet)   ผู้ป่วยต้องเข้าใจและสามารถเลือกรับประทานได้ถูกต้อง เหมาะสมกับข้อจำกัดสุขภาพ รู้จักหลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

- เมื่อจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน      ให้ใช้กระบวนการพยาบาลในการประเมินผป.ก่อนกลับบ้านแบบองค์รวม ทั้งร่างกาย   จิตใจ  อารมณ์ สังคม  และความเสี่ยงที่อาจหลงเหลือ  รวมทั้งให้ความรู้กับผู้ดูแลผป.ที่บ้าน
- บันทึกการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการดูแลที่ต่อเนื่อง
โดยใช้เครือข่าย


 - กำหนดเวลาเขียนบันทึกการพยาบาลผู้ป่วยจำหน่ายแต่ละราย ภายหลังจากเสร็จสิ้นการพยาบาลและแพทย์ตรวจผู้ป่วยประจำวันแล้ว
 - ทบทวนการบันทึกโดยยึดเป็นจริง (Factual) ถูกต้อง (Accurate)  สมบูรณ์ (Complete)  ชัดเจน (Concise)  เป็นปัจจุบัน (Current)  และเป็นระบบ (Organized) 


 -มีการแจกเอกสารคู่มือสำหรับผู้ป่วยและญาติ เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการดุแลตนเองได้ ลดความวิตกกังวล และรวมถึงการติดตามมาพบแพทย์ตามนัด


-ทบทวนหาแนวทางปฏิบัติร่วมกัน
-นำคู่มือการวางแผนจำหน่ายมาปฏิบัติในผู้ป่วยจำหน่ายทุกราย
-มีการนิเทศและตรวจสอบบันทึกการพยาบาลทุกสัปดาห์  เพื่อประเมินผลการพัฒนา
-มีการนิเทศรายบุคคล




ผลการดำเนินงาน
        จากการตรวจสอบบันทึกการพยาบาลเรื่องการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 55   พฤศจิกายน 55  มี คะแนนบันทึกการพยาบาลเรื่องการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย  จากเดิม  49.38   % เป็น  74.44  %    เพิ่มขึ้น 25.06    %
       







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น