วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

น้องกระป๋องเก็บกระปุก Drop senser


เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันการเกิด BA


สะดวกได้ด้วยใบเดียว


การลดต้นทุนการจัด Set suture ER


วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

ลุงสมนึก ผู้พิชิตอ้วน พิชิตพุง พิชิตโรค


ลุงสมนึก ผู้พิชิตอ้วน พิชิตพุง พิชิตโรค

          ภาพของชายวัย 73 ปี ที่เดินเข้ามาที่ฝ่ายสุขศึกษา ด้วยท่าทางกระฉับกระเฉง ใบหน้ายิ้มแย้ม พูดด้วยความภาคภูมิใจว่า น้ำหนักของลุงลดลงแล้ว  วันก่อนผมไปโรงพยาบาลศิริราช เขามีออกกำลังกายโดยใช้ ฮูลาฮูบ ผมก็เดินไปหยิบห่วงออกกำลังกายและก็ทำให้เขาดู พยาบาลที่นั่นพูดชมผมอายุขนาดนี้สามารถออกกำลังกายแบบนี้ได้ ไปฝึกที่ไหน ผมก็บอกว่าจากโรงพยาบาลพระพุทธบาท ดิฉันแสดงความยินดีกับคุณลุง รู้สึกภาคภูมิใจในตัวของคุณลุงสมนึกที่สามารถ พิชิตอ้วน พิชิตพุงได้ ทำให้โรงพยาบาลพระพุทธบาท มีชื่อเสียงไปกับคุณลุงด้วย

          ดิฉันเชิญคุณลุงนั่งเพราะว่าท่าทางจะคุยถึงอดีตกันอีกนาน คุณลุงเล่าต่อด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและมีความสุขว่า เกิดวันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2481  อายุ 73 ปี ความสูง  168 ซม.  แต่เดิมรอบเอว 38 นิ้ว น้ำหนัก 86 กก.  ปัจจุบัน เอวลดลง 6 นิ้ว รอบเอวเหลือ 32 นิ้ว  น้ำหนักเหลือ 66 กก.  ลดลงจากเดิม 20 กก. ในเวลา 2 ปี  6 เดือน  ก่อนหน้านั้นออกกำลังกายโดยวิ่งตามลู่สนามฟุตบอล ประมาณ 10 กว่าปี แต่น้ำหนักลดลงนิดหน่อย 
             คุณลุงบอกเหตุจูงใจที่อยากจะลดน้ำหนัก ก็เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551  ชมรมข้าราชการบำนาญ อำเภอพระพุทธบาท มีการประชุมประจำเดือน มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสุขศึกษา ไปตรวจร่างกายและให้ความรู้ ทำให้ดิฉันนึกถึงกิจกรรมในวันนั้น ปกติชมรมข้าราชการบำนาญ อำเภอพระพุทธบาท จะมีการประชุมประจำเดือนของสมาชิก ทุก ๆ 2 เดือน ฝ่ายสุขศึกษา จะไปตรวจสุขภาพเบื้องต้น วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เส้นรอบเอว พบว่า ส่วนใหญ่สมาชิกมีเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 62.2  (N = 45)  ฝ่ายสุขศึกษา ร่วมกับทีมสุขภาพ จึงได้จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3 อ. มีการบรรยายและฝึกทักษะ ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2551 คุณลุงเล่าให้ฟังต่อว่าได้รับแจกคู่มือชื่อพิชิตอ้วน พิชิตพุง คนไทยไร้พุง และ โรคอ้วน ลงพุง  พยายามปรับการกินตามที่วิทยากรให้คำแนะนำน้ำหนักก็ค่อย ๆ ลดลง 


 ต่อมาได้ไปเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่จังหวัดนครนายก กับโรงพยาบาลพระพุทธบาทอีก ทำให้ดิฉันนึกถึงการจัดทำโครงการค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยได้งบประมาณจาก สปสช. จัดกิจกรรมในรูปแบบของค่ายปรับเปลี่ยน ที่จังหวัดนครนายก  2 วัน 1 คืน ซึ่งโรงพยาบาลพระพุทธบาท และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอพระพุทธบาท ร่วมกันดำเนินงาน ในเดือนมิถุนายน 2552 


คุณลุงสมนึกบอกว่าได้ความรู้จากวิทยากรดีมาก ๆ ทำให้มีกำลังใจมุมานะ 2 ปีกว่า ๆ ลดได้ถึง 20 กก.  พร้อมกันนั้น ได้นำหนังสือที่ได้รับแจกมาอ่านซ้ำ ๆ จนเป็นที่เข้าใจ แล้วจึงปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
          วิธีการลดน้ำหนัก ตอนเย็นเวลา 16.30 น. ไปเล่นฟิตเนท ของเทศบาลพระพุทธบาท มีลู่วิ่งไฟฟ้า ซิสอัพหน้าท้อง อีกหลายรายการ ใช้เวลา 1 ชม.  ตอนเช้าเวลา 04.30 น. 05.30 น. เล่นออกกำลังกายกลางแจ้งของเทศบาลเหมือนกันแต่คนละแห่ง อย่างนี้เป็นประจำทุก ๆ วัน ส่วนอาหารการกินนั้นดูตามหนังสือที่ได้รับแจก เขาจะบอกวิธีต่าง ๆ ของอาหาร ส่วนมากกินผัก และปลา เป็นพื้น รับรองว่าได้ผลแน่  ทุกวันจะต้องไปออกกำลังกายทุกวันมิได้ขาด ทำให้ร่างกายทุกส่วนสบาย ๆ โรคต่าง ๆ ไม่มีเลย ก่อนหน้านี้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ปัจจุบันปกติทุกอย่าง จึงมีความภูมิใจว่าลดความอ้วนได้จริง ๆ และยังนำความรู้และประสบการณ์ของตัวเองไปบอกคนอื่น ๆ ต่อด้วย

          คุณลุงสมนึก ฝากขอบคุณวิทยากรทุกท่าน ได้แก่ คุณปุณยนุช  คุณพวงผกา        คุณสุนันทา  คุณภาวนา  คุณกัลยา  เภสัชกรหญิงนฤมล  มา ณ ที่นี้ จริง ๆ แล้ว พวกเราทีมสุขภาพทุกคน คงต้องขอบคุณ คุณลุงสมนึก  เจริญสุข  ที่ทำให้พวกเรามีกำลังใจที่จะจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ พิชิตอ้วน พิชิตพุง พิชิตโรค  ต่อไป

พวงผกา   คลายนาทร
หัวหน้าฝ่ายสุขศึกษา



      

การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด


การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วย
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลพระพุทธบาท
รุ่งฤดี    พันธุ์ประเสริฐ , สร้อยเพ็ชร    ชัยรุ่งปัญญา

ภูมิหลัง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)มีความรุนแรง เป็นสาเหตุการตายของประชากรทั่วโลกเป็นอันดับที่ 6 ในปี ค.ศ.1990 และ เป็นอันดับที่ 5 ในปี ค.ศ. 2001 มีสาเหตุสำคัญ คือควันสูบบุหรี่ และควันจากการเผาไหม้ WHOประมาณการว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคนี้ ประมาณปีละ 3 ล้านคน และจะเป็นสาเหตุการตายอันดับ 4 ในปี ค.ศ. 2030   ในไทยมีผู้เสียชีวิต ปีละ 15,000 คน  สถิติผู้ป่วย COPD ที่มารับบริการในร.พ.พระพุทธบาทมี แนวโน้มเพิ่มขึ้น พบว่าในปี 2548 2550  และต.ค. .2550 30 มิ.ย. 2551 มีผู้ป่วย COPD มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกจำนวน 803, 1,307, 1,522 และ 1,251 ราย ตามลำดับ  และเป็นผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในร.พ.จำนวน  137, 279, 214 และ 194 ราย ตามลำดับ และสถิติการกลับมารักษาซ้ำด้วยโรคเดิมภายใน 28 วัน พบว่า ในปี 2550 และ ต.ค.2550 - 31 พ.ค. 2551 จำนวน 19 และ 15 ราย ตามลำดับ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ถูกต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้วิจัย จึงสนใจที่จะศึกษาครั้งนี้

วัตถุประสงค์  เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วย COPD ระหว่างก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด

วิธีการศึกษา  การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อน หลัง จำนวน 30 ราย เป็นผู้ป่วย COPD ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกของร.พ.พระพุทธบาท  ระหว่างเดือนก.พ. ถึงเดือน พ.ย. 2552 โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ American Thoracic Society (1999) ประกอบด้วย 4 ส่วน 
1) การให้ความรู้ในการปฏิบัติตัว  
2) การฝึกการออกกำลังกาย และการฝึกบริหารการหายใจ  
3) การดูแลด้านจิตใจ  
4) การประเมินผลลัพธ์ โดยให้คู่มือฝึกปฏิบัติที่บ้าน  และติดตามเยี่ยมบ้านการประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ใช้ Medical Outcomes Study Short form (SF-36)

ผลการศึกษา  ผู้ป่วยทั้งหมด มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยหลังได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ตาราง  เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อน-หลังได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
คุณภาพชีวิต
X
       SD.
df
    t
p value**
ก่อนได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
571.98
87.25
29
-5.883
.000
หลังได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
651.59
92.53



**  p value   <  .01
ตาราง   เปรียบเทียบผลการตรวจสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อน-หลังได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
ผลการตรวจสมรรถภาพปอด
          X
       SD.
      df
    t
p value**
ก่อนได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
52.98
14.65
29
-1.944
.062
หลังได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
55.20
15.04



**  p value   <  .01
สรุป  โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ 

ถังทิ้งของมีคมแบบใหม่


ชื่อผลงาน  ถังทิ้งของมีคมแบบใหม่
หน่วยงาน   อุบัติเหตและฉุกเฉิน 

ความสำคัญของปัญหา

            ปัจจุบันโรงพยาบาลพระพุทธบาทมีการทิ้งขยะตามการแยกขยะได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อและขยะอันตราย  โดยขยะติดเชื้อยังแบ่งออกเป็นขยะติดเชื้อทั่วไปและขยะติดเชื้อที่เป็นของมีคมเช่น เข็มฉีดยา แกนเข็มแทงน้ำเกลือ ใบมีดโกน  หลอดใส่เลือดชนิดแก้ว เป็นต้น  งานป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อของโรงพยาบาลพระพุทธบาทได้จัดหาถังพลาสติกแข็งไว้ให้เพื่อให้ทุกหน่วยงานทิ้งของมีคมดังกล่าว
หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินพบปัญหาในการทิ้งของมีคม คือ
1.    เจ้าหน้าที่ถูกของมีคมบาดหนือทิ่มแทงจากการเก็บของมีคมที่หล่นพื้นเนื่องจากทิ้งไม่ตรงปากถัง
2.    เจ้าหน้าที่ลืมปิดฝาถัง/ฝาถังหล่นลงฟื้นบ้าง หายบ้าง ทำให้มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อ
3.    เมื่อจะทิ้งต้องก้มลงเพื่อเปิด ปิดฝาถังทำให้ไม่สะดวกในการทิ้ง
           
       ดังนั้นทีมงานงานป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อของหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินได้นำปัญหาดังกล่าวมาร่วมกันหาแนวทางที่จะพัฒนาจึงเกิดความคิดเรื่อง     ถังทิ้งของมีคมแบบใหม่  ขึ้น

วัตถุประสงค์
           1. เจ้าหน้าที่ไม่ถูกของมีคม/เข็มบาดหรือทิ่มแทงจากการเก็บของมีคมหล่นลงพื้น
2. ถังทิ้งของมีคมมีการปิดฝาตลอดเวลาป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
           3. เจ้าหน้าที่พึงพอใจกับถังทิ้งของมีคมแบบใหม่

 การแก้ปัญหา
1. การเตรียมอุปกรณ์
              1 .ถังขยะพลาสติกชนิดเท้าเหยียบขนาดกว้าง 10 นิ้ว สูง 12 นิ้ว
              2. ถังพลาสติกแข็ง(ถังน้ำยาล้างไตขนาด 5ลิตรมีฝาปิด)
              3. Future board ตัดเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง10นิ้ว



2.วิธีดำเนินการ
            1. ถังขยะพลาสติกชนิดเท้าเหยียบมาถอดถังตัวในออก          
            2. วางถังพลาสติกแข็งลงในถังขยะพลาสติกชนิดเท้าเหยียบและเปิดฝาออก
                 (แยกฝาถังพลาสติกเก็บไวเพื่อปิดฝาเมื่อถังเต็ม)
         3. วาง Future board ตัดเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง10นิ้วบนปากถังขยะและเจาะรูเป็นให้  Future boardเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว(พอดีกับปากถังพลาสติกแข็ง)
             4. ขยับให้รู Future boardตรงกับปาก ถังพลาสติกแข็ง


             5. เมื่อต้องการทิ้งเข็มฉีดยา แกนเข็มแทงน้ำเกลือ ใบมีดโกนๆลๆ ก็ใช้เท้าเหยียบส่วนที่ใช้เท้าเหยียบฝาถังขยะพลาสติกจะเปิดออกเมื่อเลิกทิ้งก็เพียงยกเท้าออกฝาถังขยะพลาสติกจะปิด
             6.ใช้ทิ้งเข็ม/ของมีคมหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน


3.ผลการดำเนินงาน
การเปรียบเทียบการทิ้งของมีคมแบบเดิมกับแบบใหม่
แบบเดิม
แบบใหม่
ข้อดี
  1.เข็ม/ของมีคมไม่ทะลุออกนอกถังซึ่งเสี่ยงต่อการถูก.เข็ม/ของมีคมทิ่มแทง








ข้อเสีย
1.เจ้าหน้าที่ถูกเข็มตำเนื่องจากเก็บเข็มที่หล่นลงพื้น(จากการที่ฝาถังเล็กเมื่อเร่งรีบจึงทิ้งไม่ตรงปากถังทำมีของเข็ม/มีคมหล่นอยู่รอบๆถังแต่อยู่ในถังขยะที่รองรับอยู่)
2.เจ้าหน้าที่ลืมปิดฝาถังทำให้มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อ
 3.ฝาถังหล่นลงพื้นบ้าง หายบ้างทำให้ไม่ได้ปิดฝาถัง
4.เมื่อจะทิ้งต้องก้มลงเพื่อเปิด ปิดฝาถังทำให้ไม่สะดวกในการทิ้ง

ข้อดี
  1.เข็ม/ของมีคมไม่ทะลุออกนอกถังซึ่งเสี่ยงต่อการถูก.เข็ม/ของมีคมทิ่มแทง
  2. ฝาถังทิ้งของมีคมมีการปิดฝาตลอดเวลา
  3.สะดวกในการจะทิ้งไม่ต้องก้มลงเพื่อเปิด ปิดฝาถังทำให้เจ้าหน้าที่พึงพอใจกับถังทิ้งของมีคมแบบใหม่(จากการสอบถามความพึงพอใจในวาระการประชุมประจำเดือน)
  4.ไม่พบเจ้าหน้าที่ไม่ถูกของมีคม/เข็มบาดหรือทิ่มแทงจากการเก็บของมีคมหล่นลงพื้น

ข้อเสีย
1.ฝาถังที่เป็น Future board มีการเปื้อนเลือดทำให้ไม่สวยงาม ล้างทำความสะอาดได้ยาก
2.มีน้ำขังในช่องว่างของ Future board
อาจเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคและแพร่กระจายเชื้อได้



4.ตัวชี้วัด
4.1 อุบัติการณ์เจ้าหน้าที่ถูกของมีคม/เข็มบาดหรือทิ่มแทงจากการเก็บของมีคมหล่นลงพื้น 0%
4.2 เจ้าหน้าที่พึงพอใจกับถังทิ้งของมีคมแบบใหม่ 100%
        
5.แผนที่จะดำเนินการต่อไป
        5.1 จัดหาวัสดุที่เป็นพื้นเรียบทำความสะอาดง่ายและทั่วถึงไม่มีน้ำขังแทน Future board
        5.2  ติดสติ๊กเกอร์ถังด้านนอกให้สวยงาม
        5.3  เพิ่มจุดถังทิ้งของมีคมแบบใหม่ในหน่วยงานให้ครบ






นาทีชีวิต พิชิตพิษงูเห่า


  นาทีชีวิต พิชิตพิษงูเห่า

วันหนึ่งหลังจากหยุดพักผ่อนมาหลายวัน ฉันขึ้นปฏิบัติงานเวรบ่าย ซึ่งบางเวรก็ ยุ่งสุดๆเหมือนกัน ทั้งรับใหม่ รับย้ายและกลับบ้าน ต้องเตรียมตัวเตรียมใจเป็นอย่างดีก่อนมาทำงาน  เวรบ่ายวันนั้น ฉันได้รับมอบหมายเป็นตำแหน่ง Member ซึ่งทุกคนก็ต่างทำหน้าที่ในงานที่ได้รับมอบหมายอย่างตั้งอกตั้งใจ  บรรยากาศค่อนข้างเงียบ จำนวนผู้ป่วยไม่มาก ไม่น่าจะมีเหตุการณ์ตื่นเต้นเกิดขึ้น เวลาประมาณ 18.00 น. ก็มีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้นหัวหน้าเวรรับOK Admit ผู้ป่วยจาก OPD นอกเวลา 2 คน ทันทีที่วางโทรศัพท์ เสียงกริ๊งที่ 2 ก็ดังขึ้น ครั้งนี้รับย้ายผู้ป่วยหายใจเหนื่อยหอบจากตึกพิเศษ 1 คน และต่อมารับใหม่จาก ER 1คน บรรยากาศในWard คึกคักขึ้นทันที  พยาบาลและผู้ช่วยเหลือคนไข้ ต่างช่วยกันเคลื่อนย้ายเตียงผู้ป่วยเพื่อรับใหม่และรับย้าย อย่างค่อยข้างวุ่นวายแข่งกับเวลา เพื่อเตียงจะได้พร้อมรับเมื่อผู้ป่วยมาถึงตึก  โดยจัดเตรียมเตียง 9 ซึ่งอยู่ใกล้เคาน์เตอร์พยาบาลไว้รองรับผู้ป่วยถูกงูกัดเพื่อสามารถสังเกตอาการผู้ป่วยได้ใกล้ชิด


            รับใหม่จาก ER  ลงเตียงไหนครับ  พนักงานเปลรายงานตัวเสียงดังฟังชัด  เตียง 1 ค่ะ  ฉันบอกพร้อมกับช่วยย้ายผู้ป่วยลงเตียง  สวัสดีค่ะคุณป้า งูอะไรกัด เห็นตัวมันหรือเปล่าค่ะ  ฉันซักประวัติและตรวจร่างกาย  ฉันเห็นงูตัวสีดำ มันไวมากๆ ฉกที่เท้าซ้าย”  ผู้ป่วยหญิงชราอายุ 71 ปี บอกด้วยน้ำเสียงตื่นเต้นตกใจ   ขณะพูดคุยซักถามอาการฉันเปิดผ้าก๊อสที่ปิดแผลออกดูเพื่อประเมินลักษณะบาดแผล  จากประสบการณ์ที่ทำงานมามากกว่า 10 ปี ทำให้ฉันสังเกตพบว่า รอยแผลที่ถูกงูกัดมันผิดปกติจากที่เคยพบมา ฉันคิดในใจ มันอาจจะเกิดจากงูเห่า เพราะลักษณะของรอยเขี้ยวที่ถูกกัด จุดสีดำและรอบๆแผลแดงมากขึ้นอย่างรวดเร็ว   ในเวลาไม่กี่นาทีผู้ป่วยบ่นปวดมากและเริ่มกระสับกระส่าย   ฉันออกมาจากเตียงโดยที่ไม่ได้บอกญาติและผู้ป่วยเพื่อไม่ให้วิตกกังวลมากขึ้น


ฉันมาปรึกษากันในทีมพยาบาล  หัวหน้าเวรเข้าไปประเมินซ้ำและลงความเห็นเหมือนฉัน   จึงรีบรายงานแพทย์เวรใน  นายแพทย์ธนากรหลังจากรับรายงานจากพยาบาล ก็ให้ความใส่ใจผู้ป่วยดีมาก รีบขึ้นตรวจอาการผู้ป่วยทันที   ช่วงนี้ผู้ป่วยรู้ตัวรู้เรื่องแต่หายใจเหนื่อยหอบมากขึ้น เริ่มมีหนังตาตก กลืนลำบาก เป่าPeak Flow < 200 ml  นายแพทย์ธนากรรายงานแพทย์Staff อายุรกรรม และสั่งให้เตรียมผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ ขณะใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วยดิ้นไปมา  ใส่ยากมากจน Vocal Cord บวม เริ่มมีจุดเลือดออกตามเยื่อบุในคอ  สถานการณ์เริ่มตึงเครียด  พยาบาลหัวหน้าทีมปรึกษาแพทย์ขอให้พยาบาลวิสัญญีมาช่วยอีกแรง   เวลาไม่นานพยาบาลวิสัญญีก็มาถึง  พี่เตี๋ยวของเราเก่งมากๆและใจเย็นมาก ทำให้สถานการณ์เปลี่ยน ทีมพยาบาลและแพทย์ร่วมมือกันแข็งขัน การใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จไปได้ด้วยดี และรีบย้ายผู้ป่วยลงตึก ICU1 ขณะที่จะย้ายผู้ป่วยลง ICU1 หัวหน้าทีมให้ผู้ช่วยเหลือคนไข้น้องศิริพร ไปรับยาด่วนCobra Antivenum จากห้องยา เพื่อที่จะได้เริ่มยาทันทีที่ถึงตึกICU1 ฉันรู้สึกว่าน้องศิริพรที่ปกติดูเหมือนคนไม่ค่อยมีแรง ในเวลานั้นช่างเดินได้รวดเร็วทันใจจริงๆ   เมื่อฉันไปส่งผู้ป่วยที่ ICU1 ก็ได้รับการต้อนรับอย่างดี   เจ้าหน้าที่น่ารักทุกคน หลังจากเหตุการณ์วันนั้นผ่านไป ฉันได้ติดตามสอบถามอาการผู้ป่วย ทราบว่าเธอปลอดภัย อาการดีขึ้นย้ายไปอยู่ห้องพิเศษได้  แต่ยังมีแผลที่เท้าที่ต้องได้รับการดูแลต่อไป

จากเหตุการณ์ในวันนั้นทำให้ฉันและทีมการพยาบาลรู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ได้ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เราไม่มีเสียใจที่ได้เกิดมาในวิชาชีพพยาบาลได้มีโอกาสดูแลผู้ที่ทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยและท้ายสุดต้องขอกล่าวชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ทีมสหสาขาวิชาชีพทุกสาขาที่ให้ความร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมแรง ร่วมแก้ไข และร่วมดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยจนสามารถรอดพ้นจากนาทีชีวิต สยบอันตรายจากพิษของงูเห่าตัวนี้ได้ ขอยืนหยัดสู้ๆๆคะ
บันทึกเรื่องเล่าโดย นางสาวอมาวสี  มั่นจิตร
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยอายุรกรรม 4
บรรณาธิการเรื่องเล่าโดย  นางกาญจนา   สรรพคุณ





การเข้าถึงการเฝ้าระวังใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนโดยการเยี่ยมบ้าน


การเข้าถึงการเฝ้าระวังใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนโดยการเยี่ยมบ้าน
มยุรี สร้อยศรีสวัสดิ์ , กรุณา สมพงษ์
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระพุทธบาท
บทนำ
            การส่งเสริมให้ผู้ป่วยหรือผู้บริโภครู้จักการใช้ยาที่ถูกต้องและเฝ้าระมัดระวังความปลอดภัยจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นบทบาทที่สำคัญของเภสัชกรและทีมสาธารณสุข ซึ่งภารกิจนี้สามารถปฏิบัติเป็นงานประจำได้    การเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านทำให้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ยาและการดูแลสุขภาพตนเองรวมถึงการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของคนในครอบครัวและในชุมชน
วัตถุประสงค์
        เพื่อติดตามค้นหาปัญหาการใช้ยาและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในครัวเรือน
วิธีการศึกษา
            เป็นการศึกษาเชิงสำรวจโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(เบาหวาน-ความดัน)ที่พบว่ามีความเสี่ยงในการใช้ยาและการดูแลสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลเครือข่ายโรงพยาบาลพระพุทธบาทที่กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้เข้าไปพัฒนาระบบงานเภสัชกรรมในชุมชนโดยให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รพสต.ใกล้บ้าน ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนมีนาคม 2554 
ผลการศึกษา
            จากการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านในช่วงระยะเวลา 5 เดือนรวมทั้งหมด 30 ราย   56 ครั้ง  พบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 20 ราย (ร้อยละ66) มีปัญหาการใช้ยาและการดูแลสุขภาพรวม 28 ปัญหา ซึ่งแบ่งเป็นปัญหาจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยตรงรวม 22ปัญหา (ร้อยละ78.6)ในผู้ป่วย 15 ราย (ร้อยละ50)     และปัญหาด้านอื่นๆ 6 ปัญหา (ร้อยละ21.4)ในผู้ป่วย 5 ราย (ร้อยละ16) 

สรุปและข้อเสนอแนะ
            การเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านพบว่ามีผู้ป่วยที่มีปัญหาการใช้ยาและการดูแลสุขภาพมากกว่าร้อยละ50 ของจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการเยี่ยม ฉะนั้นการเข้าถึงผู้ป่วยหรือผู้บริโภคในชุมชนโดยการเยี่ยมที่บ้านเป็นโอกาสในการค้นหาปัญหาจากการใช้ยา ปัญหาการดูแลสุขภาพ รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในชุมชน  เพื่อที่นำมาวางแผนพัฒนาให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและผู้บริโภคให้มีภูมิคุ้มกันในการเฝ้าระวังจากผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย        จากผลดังกล่าวในการบริหารเชิงระบบ ผู้บริหารได้มีการแบ่งหน้าที่ให้เภสัชกรแต่ละคนที่ประจำโรงพยาบาลแม่ข่ายมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ
คำสำคัญ   เยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน  ผลิตภัณฑ์สุขภาพ


ปัญหาการใช้ยาและการดูแลสุขภาพที่พบ

ปัญหาที่พบ
จำนวนปัญหา

ปัญหาจากยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

1
ไม่มารับการรักษาตามนัด(ขาดยา)
6
2
ไม่กินยา
1

- ไม่กินอาหารมื้อเย็นจึงไม่กินยา
1
3
กินยาไม่ถูกต้อง
3

-  กินยาเบาหวาน แล้วกินข้าวเกิน1ชั่วโมง
2

-  กินยาปฏิชีวนะไม่สม่ำเสมอ
1
4
เกิดอาการข้างเคียงจากยา
7

- เท้าบวมจาก Amlodipine
2

- Hypoglycemia จากยาลดน้ำตาลในเลือด
2

- ปวดหัวจากIsosorbide Dinitrate
1

- Photosensitivity จากยา Fluphenazine และ Chlorpromazine
1

- ไอจาก Enalapril
1
5
ใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไม่ถูกต้อง
2

- ซื้อANT (Aspirin)ไว้ประจำบ้าน เพื่อรักษาโรคหวัด
1

- ใช้มะรุมแทนยาแผนปัจจุบัน
1
6
ใช้ยาชุด
3

- เกิด Steroid Abuse
1

- ผู้ป่วยเบาหวานต้องตัดขาเพราะคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
1

- เกิด UGIB ต้องผ่าตัดกระเพาะ
1

ปัญหาอื่น

7
ใช้ สมุนไพรขายตรงตามบ้าน(บอกต่อ)
2
8
Alcoholic
2
9
ขาดการฟื้นฟูทำกายภาพบำบัด
2

รวม
28