วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

พลาสเตอร์ติดแน่น


1.  ชื่อผลงานคุณภาพ : ลาสเตอร์ติดแน่น

2.  ชื่อ สกุล  และสมาชิก ศัลยกรรม 3 โรงพยาบาลพระพุทธบาท

3.  สรุปผลงานโดยย่อ :  ปรับเปลี่ยนวิธีการตัดและติดพลาสเตอร์ในผู้ป่วยที่ใส่สายระบาย ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติด ป้องกันการเลื่อนหลุดของสายระบาย     

4.  ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ : ผู้ป่วยทางศัลยกรรม ที่มีสายระบายต่างๆ มักจะพบปัญหาของการเลื่อนหรือหลุดจากการดึงรั้งของสายระบาย ซึ่งมีผลต่อผลลัพท์การดูแลผู้ป่วย ทำให้ต้องใส่สายระบายใหม่ ทำให้เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายและก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานกับผู้ป่วย แต่บางกรณีก็ไม่สามารถที่จะใส่ใหม่ได้ เช่น ท่อระบายที่ต่อออกมาจากแผล (radivac dreain) อาจส่งผลต่อการรักษา เช่นเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่บาดแผล ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยที่มีสายระบายต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลต้องเฝ้าระวังไม่ให้สายระบายต่างๆเลื่อนหรือหลุดก่อนกำหนด ดังนั้นทางแผนกศัลยกรรม 3จึงได้พัฒนาการตัดและติดพลาสเตอร์ในผู้ป่วยที่ใส่สายระบายต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดสายต่างๆให้ดียิ่งขึ้น

5.  วัตถุประสงค์ผลงานคุณภาพ : เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดพลาสเตอร์ 

6.  กิจกรรมการพัฒนา/วิธีการดำเนินงาน :
  1. กำหนดวิธีการตัดพลาสเตอร์  โดยขนาดความกว้างของพลาสเตอร์ขึ้นผู้กับขนาดของท่อระบายต่างๆ
  2. กำหนดแนวทางการติดพลาสเตอร์
  3. กำหนดให้มีการตรวจสอบทุกวัน ทุกเวร


7.  การวัดผลและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น : ลดการเลื่อนหลุดของสาย radivac dreain  ส่วนการติดที่สาย foley ’s catheter  มีการยึดติดดีสามารถยึดติดอยู่ได้ประมาณ 3 วันซึ่งต้องเปลี่ยนพลาสเตอร์ใหม่เนื่องตัวของพลาสเตอร์หมดสภาพ

8.  การนำไปใช้ประโยชน์ : นำไปใช้ในการยึดติดพลาสเตอร์ ในผู้ป่วยที่ใส่สายต่างๆ เช่น สาย radivac dreain  สาย foley ’s catheter  เป็นต้น

ติดต่อทืมงาน   นางสาวพรพิมล  รัตนสุวรรณ   หัวหน้าหอผู้ป่วยศัลยกรรม 3 โรงพยาบาลพระพุทธบาท  
                       โทร 036 266166  โทรสาร 036 266112