วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กล่องหักแอมป์ยา

 ชื่อผลงาน : กล่องหักแอมป์ยา
ทีม
  1. คุณเจียมจิตต์  เฉลิมชุติเดช
  2. คุณภคมณ  กีรติเดชากิจ
สมาชิกทีม : หอผู้ป่วยเด็ก

คำสำคัญ : กล่องหักแอมป์ยา คือ สิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากพลาสติกแข็ง(ไซนามิก)  ที่เหลือใช้นำมาตัดเป็น5ส่วนเพื่อประกอบให้เป็นลักษณะกล่อง สี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด กว้าง×ยาว×หนา =  4 × 7 × 3 cm. ด้านในกลวงเพื่อให้ใส่หลอดแอมป์ยาได้  พลาสติกที่รองอยู่ด้านในทั้งสองข้างจะประดิษฐ์ให้ทำงานสัมพันธ์กันเพื่อเป็นตัวสับลงในการหักแอมป์ยา โดยที่ประดิษฐ์ให้มีก้านด้านใดด้านหนึ่งยาวออกมาเพื่อสามารถใช้นิ้วกดลงได้
: Ampoule หรือ แอมป์พูล  หรือ แอมป์ เป็นหน่วยเรียกยาหรือสารน้ำชนิดที่บรรจุมาใน
หลอดแก้ว มีคอคอดไว้ เพื่อให้ใช้ใบเลื่อย เลื่อยก่อน แล้วจึงหักออกได้ ยาบางชนิดจะมีเส้นหรือจุดmarkไว้ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า สามารถหักแอมป์ได้โดยไม่ต้องเลื่อย
เป้าหมาย
  1. ใช้เวลาในการหักแอมป์ยารวดเร็วกว่าแบบเดิม
  2. ผู้ป่วยไม่เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด
  3. บุคลากรมีความพึงพอใจในการใช้เครื่องมือ
ที่มาของปัญหา
จากขั้นตอนการเตรียมยาตามมาตรฐานการพยาบาล หากเป็นยาที่เป็นAmpoule หรือเรียกสั้นๆว่า แอมป์ พยาบาลผู้เตรียมยาต้องใช้ตะไบเลื่อยแอมป์ยาแล้วใช้สำลี 2 ก้อนประกบส่วนบนและส่วนล่างของแอมป์ยา แล้วหักแอมป์ยา ซึ่งในบางครั้งหักไม่ได้ต้องเลื่อยอีกครั้ง พบว่ากิจกรรมการพยาบาลในผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤตซึ่งมีความเร่งรีบ เช่น การเตรียมยา Adrenaline เพื่อใช้ในการCPR,การเตรียมยาAtropine,Sodium Bicarb  รวมถึงการเตรียมKCL เพื่อผสมใน IV  fluid ซึ่งยาแต่ละชนิดดังที่กล่าวมามีขนาดเล็ก-ใหญ่  ความบาง-หนาต่างกัน ทำให้ใช้เวลานาน  อาจเกิดอุบัติการณ์แอมป์ยาบาดมือ การหักแอมป์ยาโดยใช้กล่องหักแอมป์จึงเป็นอีกทางเลือก เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ป้องกันความเสี่ยง ภายใต้มาตรฐานการพยาบาลที่ดี
กิจกรรมการแก้ปัญหา
          การออกแบบนวตกรรม  “กล่องหักแอมป์ยา  ได้มีการศึกษาว่ามีผู้เคยคิดประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับใช้หักแอมป์ยามาบ้างแล้ว  แต่ยังไม่มีผู้ใดประดิษฐ์เป็นแบบกล่องและมีก้านสับลงมาบีบให้หักแอมป์  เมื่อคิดรูปแบบ ออกแบบ จัดหาวัสดุ และประกอบชิ้นงานโดยเจาะรูใส่น๊อต ซึ่งเฉพาะในขั้นตอนการประดิษฐ์ทดลองใช้  มีการปรับปรุงแก้ไข 2-3 ครั้งโดยใช้เวลานาน 1 เดือน จึงนำมาทดลองใช้ภายในหน่วยงาน ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

สรุปผลงานสำคัญ :
ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา ทดลองให้พยาบาลในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 จำนวน 10 คน การใช้กล่องหักแอมป์ยาแทนการใช้มือหักแอมป์ยา ในขั้นตอนการเตรียมยาสำหรับให้ผู้ป่วย พบว่ามีความสะดวก รวดเร็ว ใช้เวลาในการเตรียมยาลดลง  และปลอดภัยต่อผู้ป่วยและบุคลากร
1.รวดเร็ว คือ ใช้เวลาในการหัก 0.5 วินาที เดิมใช้มือนานประมาณ 10 วินาที ทำให้สามารถบริหารยาโดยเฉพาะผู้ป่วยวิกฤตที่ต้องได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพได้เร็วยิ่งขึ้น  ซึ่งทำให้อัตราการรอดชีวิตในทารกแรกเกิดสูงขึ้น
2.ปลอดภัยต่อผู้ป่วย คือไม่พบอัตราการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยทุกราย  มีความปลอดภัยต่อบุคลากร คือ ไม่พบความเสี่ยงจากการถูกแอมป์ยาบาดมือขณะหักแอมป์ยา  เดิมมีอุบัติการณ์การเกิดแอมป์ยาบาดมือ
3.มีความสะดวก คือ เป็นอุปกรณ์ที่หยิบจับง่าย ขนาดพอเหมาะกับแอมป์ยาทุกขนาด เดิมแอมป์ยาขนาดใหญ่และหนา เมื่อเลื่อยแล้วยังหักออกยาก
นอกจากนี้ยังเป็นผลงานประดิษฐ์ที่เป็นในรูปแบบที่ยังไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน ใช้งานง่ายมีความทันสมัย และควรเผยแพร่ เพื่อพัฒนางานต่อไป
อย่างไรก็ตามยังพบข้อจำกัด ในการใช้หักแอมป์ยาที่บรรจุยาขนาด 10 ml มีโอกาสแตก 30%  ซึ่งได้ติดตามวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน พบว่าบุคลากรผู้ใช้บางคนขาดทักษะในการใช้ คือ วางแอมป์ยาไม่พอดีกับเส้นแนวที่กำหนดไว้ 

บทเรียนที่ได้รับ
          อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นหากจะใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้ง่าย  สะดวก  และก่อให้เกิดผลดีต่อผู้รับบริการ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์มาใช้ร่วมกับการดูแลรักษาผู้ป่วยนั้นบุคลากรต้องใช้ทักษะและความชำนาญในเบื้องต้น ซึ่งต้องมีการสอน สาธิต วิธีการ เพื่อก่อให้เกิดการยอมรับ และปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

การติดต่อกับทีมงาน
หออภิบาลเด็ก 2
                             โรงพยาบาลพระพุทธบาท  สระบุรี

4 ความคิดเห็น: