วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

โปรแกรม ลด ละ เลิก สูบบุหรี่


                    ประเทศไทยมีจำนวนผู้ที่สูบบุหรี่และเสียชีวิตปีละไม่ต่ำกว่า 42,000 คนต่อปี หรือวันละ 115 คน หรือชั่วโมงละ 5 คน และมีแนวโน้มที่เยาวชนเริ่มสูบบุหรี่กันมาก และสูบบุหรี่เมื่ออายุยังน้อย นับเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข เรื่องการสูบบุหรี่ของเยาวชน จะทำให้กลายเป็นผู้ใหญ่ที่ติดบุหรี่ และเกิดปัญหาป่วยและตายก่อนวัยอันควรด้วยโรคที่เกิดจากบุหรี่ นอกจากนี้ การที่เยาวชนยิ่งเริ่มสูบบุหรี่เร็วขึ้นเท่าใด โอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น โดยมีการประมาณว่าถ้าเริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 25 ปี อายุสั้นลงไป 4 ปี แต่ถ้าเริ่มสูบเมื่ออายุ 15 ปี อายุจะสั้นลงไป 8 ปี(Chitanondh 1001 : 303) โรงพยาบาลพระพุทธบาท ตระหนักถึงปัญหาของสุขภาพที่เกิดจากการสูบบุหรี่ดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการโปรแกรมลด ละ เลิกสูบบุหรี่ โดยการใช้กลุ่มบำบัดร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ขึ้น

วัตถุประสงค์
          1.  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงโทษและพิษภัยของบุหรี่
          2.  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายลด เลิกสูบบุหรี่
                    
กลวิธีดำเนินงาน
1.    สร้างความตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ โดยการบรรยาย ใช้ Model ผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่
2.   กระบวนการกลุ่ม / กลุ่มบำบัด เพื่อร่วมกันหาแนวทาง / เทคนิคในการเลิกสูบบุหรี่
3.    ฝึกทักษะ การจัดการกับความเครียด / การบริหารปอด
4.    การสร้างเสริมกำลังใจ / สร้างแรงจูงใจ โดยใช้ Model ผู้ที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้
5.   ให้แรงสนับสนุนทางสังคม โดยการโทรศัพท์ติดตามจากเจ้าหน้าที่ / หัวหน้างาน / ส่งไปรษณียบัตร เป็นต้น

ผลการดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมายในชุมชน สอ.ตรีบุญ เข้าร่วมโครงการ 30 คน  เลิกได้ 16 คน  คิดเป็น 53.337% (ติดตาม 2 เดือน)
กลุ่มเป้าหมายในบริษัทไทยคอฟเวอเรส  70   คน  เลิกได้  8  คน    คิดเป็น 27.1% (ติดตาม 1 ปี)
กลุ่มเป้าหมายในบริษัทสยามเซรามิค  59  คน  เลิกได้  11   คน  คิดเป็น 18.6% (ติดตาม 1 ปี)
กลุ่มเป้าหมายในบริษัทลีพัฒนาอาหารสัตว์ 57   คน  เลิกได้ 6  คน    คิดเป็น 10.5% (ติดตาม 6 เดือน)
เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพระพุทธบาท เข้าร่วมโครงการ 17 คน เลิกได้ 11 คน คิดเป็น 64.71% (ติดตาม 2 เดือน)
กลุ่มเป้าหมายในบริษัทสุรินทร์ออมย่า 12   คน  เลิกได้  8 คน    คิดเป็น 66.67% (ติดตาม 3 เดือน)





โอกาสพัฒนา
          การติดบุหรี่ เป็นกลไกที่ซับซ้อนจาก 3 ปัจจัย คือ การติดสารนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ พฤติกรรมความเคยชินและภาวะทางจิตใจ ที่มีต่อการสูบบุหรี่ ทั้ง 3 ปัจจัยส่งผลกระทบต่อผู้สูบบุหรี่ในระดับที่แตกต่างกัน ต้องสูบบุหรี่อยู่เรื่อย ๆ และสุดท้ายบุหรี่จะทำลายชีวิตและคนข้างเคียง
          การดำเนินงานช่วยให้ผู้สูบบุหรี่ เลิกสูบบุหรี่ จึงต้องมีความตั้งใจพยายามสร้างแรงจูงใจให้ผู้สูบบุหรี่ ตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ การจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเลิกบุหรี่ เช่น การจัดเขตปลอดบุหรี่ ควรดำเนินงานอย่างจริงจัง       การให้แรงสนับสนุนทางสังคม เช่น กำลังใจจากบุคคลใกล้ชิดและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง


พวงผกา  คลายนาทร :  ผู้เล่าเรื่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น