วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาระบบการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะ Hyperbilirubinemia PCT กุมารเวชกรรม

1.       ชื่อผลงาน  :  การพัฒนาระบบการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะ Hyperbilirubinemia
2.       คำสำคัญ  :   Hyperbilirubinemia
3.       สรุปผลงานโดยย่อ พัฒนาประสิทธิภาพในการคัดกรอง และประเมินผู้ป่วยเพื่อรักษาโดยการส่องไฟทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้รวดเร็วขึ้น  ลดวันนอนในการส่องไฟ  และปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
4.       ชื่อและที่อยู่องค์กร :  PCT  กุมารเวชกรรม  โรงพยาบาลพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี
5.       สมาชิกทีม      :  คณะทำงาน  PCT  กุมารเวชกรรม
6.       เป้าหมาย  :  ลดระยะวันนอนขณะส่องไฟ    4    วัน
           ลด  complication  ขณะส่องไฟ
7.       ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ
จากการทบทวนของทารกแรกเกิดที่ภาวะตัวเหลืองที่เข้ารับการรักษาในหน่วยงานกุมารเวชกรรม 2  จำนวน  22  ราย  พบว่ามีภาวะตัวเหลืองสูงสุดที่ค่า  MB  20 mg % ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ  Kernieterus  และยังพบว่าขณะรับการักษาโดยการส่องไฟมี  Complication  ได้แก่  มีไข้  ตัวเย็น  จำนวน  4   ราย  มีวันนอนขณะส่องไฟเฉลี่ย 3 5  วัน  นอกจากนี้ยังพบว่าการสั่งการรักษา และการหยุดการรักษาโดยการส่องไฟ  มีความหลากหลายของผล Bilirubin  ซึ่งจากการทบทวนพบว่า  การขาดแนวทางการประเมินภาวะตัวเหลือง  และแนวทางในการดูแลผู้ป่วยทำให้การดูแลผู้ป่วยตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้รับการรักษาล่าช้า  และเกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะ Kernicterus  การดูแลไม่เหมาะสมทำให้เกิด  Complication  ขณะรับการรักษาได้  ทางทีม  PCT  กุมารเวชกรรม จึงได้ดำเนินการพัฒนา แนวทางในการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด และแนวทางการดูแลผู้ป่วยขึ้น  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะ  Hyperbilirubinemia
8.       การเปลี่ยนแปลง
8.1  วิธีการศึกษา / พัฒนานวัตกรรม
8.1.1       ศึกษาและทบทวนข้อมูลการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะตัวเหลือง และเข้ารับการรักษาในหน่วยงานเด็ก 2  ที่รับการรักษาโดยการส่องไฟ  ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ  ย้อนหลัง  4  เดือน
8.1.2       ทบทวนและปรับปรุงระเบียบปฏิบัติ (WI) เรื่องการดูแลตัวเหลืองที่ได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ  และนำเสนอเพื่อเผยแพร่ WI  ไปสู่ผู้ปฏิบัติ  จำนวน  3 ครั้งร่วมกับแพทย์  และพยาบาลทุกหน่วยงานในทีมสหสาขาวิชาชีพ
8.1.3       ปรับปรุงแนวทางการเขียนบันทึกทางการพยาบาล  โดยการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม  ครบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย  จิตใจ  เศรษฐกิจ  และสังคม
8.1.4       จัดทำเอกสารแผ่นพับเรื่อง ภาวะตัวเหลืองและการส่องไฟรักษา สำหรับเป็นข้อมูลความรู้ที่จะให้แก่บิดามารดา  และยังใช้เป็นแนวทางในการให้ข้อมูลเรื่องโรค / อาการ / การดูแลรักษาทำให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเป็นแนวทางเดียวกัน
8.1.5       จัดทำแบบบันทึกการดูแลผู้ป่วย Hyperbilirubinemia  (Care  map) ร่วมกับทีมสหาสาขาวิชาชีพ
8.1.6       ปรับปรุง บัตรประจำตัวผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องเอนไซน์ G6PD ร่วมกับเภสัชกร และกุมารแพทย์
- ทำเอกสารแผ่นพับเรื่อง ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD  
                - จัดให้มีระบบการลงบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเภสัชกร 
8.1.7       ป้องกันมิให้ผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์G6PD ได้รับยาที่ทำให้มีการแตกของเม็ดเลือดแดงได้ง่าย
8.1.8       การนำกราฟแสดงระดับบิลิรูบินทารกแรกเกิดมาใช้ประเมินการรักษาโดยการส่องไฟ
8.1.9       กำหนดให้มีพยาบาลทำหน้าที่เป็น Nurse  case  management  เพื่อติดตามดูแลทารกที่ได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ ให้ได้รับการปฏิบัติการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
8.1.10     จัดประชุมชี้แจง WI การใช้ Care map และให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ในทีม PCT  กุมารเวชกรรม เรื่อง การดูแลทารกแรกเกิดที่มีปัญหา Hyperbilinemia  ในวันที่ 7  กุมภาพันธ์  2550
- เริ่มนำ Care  map  มาเป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยวันที่  1  มีนาคม  2550
        8.1.11     นำข้อมูลมารวบรวม, วิเคราะห์  และทบทวนทุก  3  เดือน  เพื่อติดตามเครื่องชี้วัดคุณภาพ  และนำมาหาโอกาสพัฒนา  เพื่อนำมาปรับปรุงการดูแลผู้ป่วย
  
9.       การวัดผล และผลของการเปลี่ยนแปลง
 ผลการศึกษา
                ระยะเวลา  วันที่  1  มีนาคม   2550  -  30  สิงหาคม  2551
                ในระยะเวลาที่ทำการศึกษา และพัฒนานวัตกรรม มีทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการดูแลตาม Care  map  จำนวน  244  ราย  พบว่า  ทารกอายุ 48  72  ชั่วโมง  มีภาวะตัวเหลืองมากที่สุด  จำนวน  115  ราย  คิดเป็น  47.15 %  และมีการติดตามผลตามตัวชี้วัดดังแสดงในกราฟดังต่อไปนี้
                 9.1  กราฟแสดงจำนวนวันนอนขณะ  On  Photo
การเปลผล  หลังมีการนำ  Care  map  และ WI รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ มาใช้พบว่ามีการลดระยะวันนอนขณะ On  Photo  ลง และเป็นไปตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่ตั้งไว้คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 วัน



10.  สรุปผล และการนำผลการศึกษา / พัฒนาไปใช้
                จากผลการศึกษาพบว่าการนำ Care map และ WI  การดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง และนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ทำให้มีการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้เร็วขึ้น โดยการศึกษาในช่วงแรกพบว่ามีการประเมินอาการตัวเหลืองได้ในระดังบิลิรูบิน > 14 mg% - 16 mg% มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาในช่วงต่อๆ มาพบว่าสามารถประเมินอาการตัวเลืองในระดับบิลิรูบินที่ลดลงคือ 12  14  mg% ทำให้ทารกได้รับการส่องไฟรักษาได้เร็วขึ้น  และจากการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่อง Phototherapy  จากเดิมเป็นหลอดไฟฟลูออเรสเซนท์ และสีขาว  เปลี่ยนเป็นหลอด Blue  light  ทำให้สามารถลดวันนอนในโรงพยาบาลขณะส่องไฟลงได้  ทำให้ทารกสามารถกลับบ้านได้เร็วขึ้น

11.       บทเรียนที่ได้รับ
*  การทบทวนการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มเป้าหมายที่  High  Volume  High  Risk   เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มากสำหรับการค้นหาโอกาสพัฒนาในการดูแลผู้ป่วย  ลดความเสี่ยง  และเพิ่ม Patient  Safty
*  การพัฒนาและปรับปรุงระบบการทำงานทำให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ  เพิ่มศักยภาพของบุคลากร  และบุคลากรมีความสุขในการทำงาน  เพราะการพัฒนาทำให้ มีแนวทางในการดูแลผู้ป่วย  การทำงานสะดวกขึ้น  และมีการทำงานเป็นทีม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น