วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การดูแลมารดาวัยรุ่น

1. ชื่อผลงาน  :  การดูแลมารดาวัยรุ่น


2. คำสำคัญ :  การเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลมารดาวัยรุ่น

3. สรุปผลงานโดยย่อ : พัฒนาการการดูแลมารดาวัยรุ่นแบบครบวงจรตั้งแต่ระยะฝากครรภ์จนถึงดูแลต่อเนื่องที่บ้าน

4. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร : โรงพยาบาลพระพุทธบาท  จ. สระบุรี

5. สมาชิกทีม : สมาชิกทีม PCT สูติ-นรีเวชกรรม

6. เป้าหมาย : เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของมารดาและทารก

7. ปัญหา และสาเหตุโดยย่อ :
       จากการให้บริการพบว่ามีหญิงตั้งครรภ์มาคลอดอายุระหว่าง12 -19 ปี เพิ่มมากขึ้น จากปี 2549 ร้อยละ 11.72  ปี 2550  ร้อยละ 15.21 และมีจำนวนหญิงตั้งครรภ์มีอายุน้อยลง ในปี 2549 พบมารดาอายุ 12 ปี จำนวน 2 ราย  ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2548 พบ 1 ราย    จากโครงการการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ปี 2549  พบปัญหาความไม่พร้อมด้านอารมณ์ของมารดา  ร้อยละ 19.4% และมีจำนวน 3 รายที่ต้องมีการเฝ้าระวังและให้การดูแลต่อเนื่องอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจเกิดแนวโน้มในการทอดทิ้งทารก ขณะคลอดมารดาไม่สามารถเผชิญความเจ็บปวดได้และไม่ให้ความร่วมมือในการคลอด เกิดหัตถการในการทำคลอดเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ระยะหลังคลอดพบว่าไม่สามารถดูแลตนเอง ต้องกลับมารักษาซ้ำจำนวน 2 ราย เนื่องจากไม่รู้วิธีการดูแลเต้านม  ส่วนทางด้านสังคมยังไม่สามารถแจ้งเกิดได้เอง ยังต้องพึ่งพาครอบครัวในเรื่องการเลี้ยงดูทารกและการศึกษาของตนเอง ซึ่งส่งผลต่อสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารกลดลง

8. การเปลี่ยนแปลง :
8.1  มีการให้ความรู้และส่งเสริมการป้องกันเชิงรุกในเขตโรงเรียนระดับมัธยมและโรงเรียนขยายโอกาสในพื้นที่รับผิดชอบ  เช่น  โรงเรียนท้ายพิกุล  โรงเรียนสุธีวิทยา   เป็นต้น
8.2 จัดโปรแกรมการดูแลและให้ความรู้แก่มารดาและครอบครัวในระยะฝากครรภ์   ระยะหลังคลอดและมีระบบส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ในรายที่มีความซับซ้อนจะมีการติดตามเยี่ยมมารดาวัยรุ่น โดยพยาบาลวิชาชีพชำนาญการที่มีความรู้ด้านสุขภาพจิต
8.3 มีระบบพี่เลี้ยง (Coaching) ในการช่วยคลอด
8.4 มีการดูแลร่วมกันโดยทีมแพทย์  พยาบาล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการที่มีความรู้ด้านสุขภาพจิตและนักสังคมสงเคราะห์

 

9.     การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :

จากการพัฒนาการการดูแลมารดาวัยรุ่นแบบครบวงจรตั้งแต่ระยะฝากครรภ์จนถึงดูแลต่อเนื่องที่บ้าน  พบว่า จำนวนมารดาวัยรุ่นยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อัตราการฝากครรภ์สูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ97.29 ภาวะซีดพบลดลง การเกิดภาวะbirth asphyxia ลดลง  หัตถการช่วยคลอดลดลงปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 5.40  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าแนวทางที่ปฏิบัติน่าจะมีแนวโน้มที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีข้อที่ต้องพัฒนาต่อ คือเรื่องการคลอดก่อนกำหนด


10. บทเรียนที่ได้รับ
-     การฝากครรภ์มีผลดี  สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรู้และเข้าใจการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ดีขึ้น  สังเกตจากพบภาวะซีดลดลง
            -      ภาวะซีดในมารดาอาจส่งผลกระทบให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยได้
            -     มารดาและทารกปลอดภัย  ผู้ป่วยและญาติเกิดความพึงพอใจและให้ความร่วมมือในการรักษา   
            -    ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น และสามารถกลับไปอยู่ในครอบครัวและสังคมได้
-    การทำงานเป็นทีม ทำให้งานมีประสิทธิภาพและผลลัพธ์การดูแลครอบคลุมมากขึ้น

11. การติดต่อกับทีมงาน : PCT สูติ-นรีเวชกรรม  โรงพยาบาลพระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี 18120   โทรศัพท์  036 -266111โดยการประชุมร่วมกัน การติดต่อประสานงาน การลงพื้นที่ร่วมในการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น