วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใ

ฝากข้อความไว้เมื่อ : 28 เมษายน 2552 เวลา 9:51:27 | หมายเลขIP : 127.0.0.1 ตอบกลับพร้อมข้อความเดิม

1.  ชื่อผลงาน   การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ

2.  คำสำคัญ :  การพัฒนาคุณภาพ, การเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ

3.  สรุปผลงานโดยย่อ : พัฒนาการป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ

4.  ชื่อและที่อยู่ขององค์กร : โรงพยาบาลพระพุทธบาท  จ. สระบุรี

5.  สมาชิกทีม : คณะกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลพระพุทธบาท

6.  เป้าหมาย : ลดอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจให้น้อยกว่า 15 ครั้งต่อ 1,000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

7.  ปัญหา และสาเหตุโดยย่อ :
            จากข้อมูลการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลพระพุทธบาท พบอุบัติการณ์ VAP 20.53 ครั้งต่อ1,000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ สูงกว่าเกณฑ์ที่โรงพยาบาลกำหนด (15 ครั้งต่อ 1,000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ) ซึ่งส่งผลกระทบในหลายด้าน  จึงถือว่าเป็นปัญหาที่ควรได้รับการพัฒนาคุณภาพเพื่อป้องกัน การเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ

8.  การเปลี่ยนแปลง :
          -  ทบทวนการวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาลให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
 ทบทวนปัญหาเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยในด้านบุคลากร  และด้านอุปกรณ์
-  ทบทวนแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง
-  พัฒนาบุคลากร   จัดประชุมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในเรื่อง
                        การป้องกัน VAP  และเทคนิคการดูดเสมหะ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลการทำงานของเครื่องช่วยหายใจ
            -  ปรับปรุงการปฏิบัติ      
                  การทำความสะอาดช่องปาก โดยใช้น้ำต้มสุก หรือ sterile water แทนน้ำประปา
     :  การทำความสะอาด และการเปลี่ยนชุด Ambu bag ประจำวัน และเมื่อสิ้นสุด case
     :  การจัดรถสำหรับใส่อุปกรณ์ดูดเสมหะ และการทำความสะอาดอุปกรณ์ดูดเสมหะ
     :  สนับสนุนอุปกรณ์การทำความสะอาดมือ
     :  ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ 
-  การกระตุ้นเป็นระยะๆ  เมื่อพบว่าอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจสูงขึ้น

9.  การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง


ผลการพัฒนา  นำแผนภูมิควบคุมทางสถิติ (Statistical Control Chart) มาใช้ติดตามผลเมื่อมีการปรับปรุงระบบงานไปแล้ว แสดงระดับข้อมูลตัวชี้วัดคุณภาพตามลำดับที่เกิดเหตุการณ์ ประกอบด้วย  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย ( Mean )   และระดับควบคุม  (Control Limit )   ซึ่งจะใช้ดูความไม่แน่นอน และประเมินความคงตัวของระบบหรือกระบวนการ ใช้ดูแนวโน้มของการพัฒนาว่าเป็นอย่างไร 


10.  บทเรียนที่ได้รับ
          การป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ ควรป้องกันตั้งแต่
การไม่ให้ผู้ป่วยต้องใส่ท่อ และใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยการทำงานในระบบเชิงรุก และทำงาน
เป็นแบบสหสาขาวิชาชีพ โดย
1. การกำหนดแนวทางการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ  ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ COPD, Asthma โรคความดันโลหิตสูง โรค CVA โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  ตลอดจนการส่งเยี่ยมบ้านในรายที่มีภาวะแทรกซ้อน และควบคุมอาการไม่ได้
            2. การนำหลักฐานเชิงประจักษ์ และผลงานวิจัยมาใช้ในการประเมินผู้ป่วยเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจ (weaning protocal)
-  จัดอบรมบุคลากร กลุ่มเป้าหมาย คือ พยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจรวมถึงผู้ที่สนใจ
-  ประเมินผู้ป่วยเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจทุกราย โดยใช้แบบประเมินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
-  ติดตามและประเมินผลการใช้แบบประเมิน และผู้ป่วย โดยคุณสำราญ  จันทร์พงษ์

11. การติดต่อกับทีมงาน งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลพระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี 18120   โทรศัพท์  036 -266111








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น