วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาความรู้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพระพุทธบาทในการบริหารและติดตามยาความเสี่ยงสูง

1.  ชื่อผลงาน :  การพัฒนาความรู้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพระพุทธบาทในการบริหารและติดตามยาความเสี่ยงสูง

2.  คำสำคัญ  High Alert Drug, Practice guideline

3.  สรุปผลงานโดยย่อ :    คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการบริหารและติดตามการใช้ยาความเสี่ยงสูง  เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย  กลุ่มงานเภสัชกรรมได้ดำเนินการเผยแพร่นโยบายและแนวทางปฏิบัติแก่พยาบาลและมีการจัดอบรมให้ความรู้และประเมินผล   พบว่าพยาบาลของโรงพยาบาล มีความรู้เกี่ยวกับยากลุ่มความเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้น 

4.  ชื่อและที่อยู่ขององค์กร กลุ่มงานเภสัชกรรม   โรงพยาบาลพระพุทธบาท จ.สระบุรี

5.  สมาชิกทีม    คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด,   ทีม PCT อายุรกรรม,   ทีม PCT ศัลยกรรม,   
ทีม 
PCT ศัลยกรรมกระดูก,  PCT กุมารเวชกรรม,  PCT  EENT,  PCT จิตเวช,  PCT สูติ-นรีเวชกรรม 
กลุ่มงานเภสัชกรรม


6. เป้าหมาย เพื่อเพิ่มองค์ความรู้และประเมินความรู้ของพยาบาลในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาความเสี่ยงสูง

7. ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ :
            ยาที่มีความเสี่ยงสูง (HIGH ALERT DRUG) หมายถึง ยาที่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงแก่ผู้ป่วยซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้หากเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา   คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) เห็นความสำคัญของการจัดการยาความเสี่ยงสูงและมอบหมายให้แต่ละทีมนำทางคลินิก (PCT) ร่วมกับกลุ่มงานเภสัชกรรม  กำหนดยาความเสี่ยงสูงของแต่ละ PCT  และจัดทำแนวทางปฏิบัติในการบริหารยาและการติดตามการใช้ยาความเสี่ยงสูง  (Clinical Practice Guideline of HAD) เพื่อเพิ่มความตระหนักของบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาความเสี่ยงสูง ป้องกันอุบัติการณ์การเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาและผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยจากการใช้ยาสูงสุด  นอกจากนี้การจัดการยาความเสี่ยงสูงยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานอย่างหนึ่งของโรงพยาบาลคุณภาพ

8. การเปลี่ยนแปลง :                 1)  ทีมนำทางคลินิกร่วมกับกลุ่มงานเภสัชกรรมกำหนดรายการยาความเสี่ยงสูงและแนวทางปฏิบัติในการบริหารและการติดตามยาความเสี่ยงสูง   20  รายการ  ประกอบด้วย               
                         HAD ของทุก PCT : Potassium chloride injection
                        -  PCT  อายุรกรรม :  Amiodarone injection (Cordarone),  DoBUTamine injection,  DoPAmine  injection,  Nitroglycerine injection (NTG),  Sodium Nitroprusside injection (NTP),  Streptokinase injection
                   -  PCT  ศัลยกรรม  : Cyclophosphamide injection (Endoxan), Fluorouracil (5-FU) injection, Manitol injection, Methotrexate injection , Phenytion injection (Dilantin)
                        -  PCT  ศัลยกรรมกระดูก :  Methylprednisolone (Solu-Medrol)
                         PCT  กุมารเวชกรรม : Aminophylline injection, DoPAmine  injection , Fentanyl injection, Digoxin  (elixer ,injection)
                         PCT  EENT :  Neosynephrine eye drop
                         PCT  จิตเวช :  Haloperidol injection
                         PCT  สูติ-นรีเวชกรรม : Magnesium sulfate injection
            2)  งานคลังเภสัชภัณฑ์ติดสติกเกอร์สะท้อนแสงสีส้มระบุข้อความ “High Risk”   บน amp/หลอดยา
ความเสี่ยงสูงทุกอัน
  สำหรับ 
KCl  มีข้อความเตือน ต้องผสมให้เจือจาง และให้โดยการหยดเข้าเส้นเท่านั้น 
            3)  หน่วยจ่ายยามีการป้องกัน medication error  ด้วยการทำแถบสีรายการยาความเสี่ยงสูงให้ต่างจากยาอื่นเพื่อป้องกันการ key  ยาผิด    ที่หน่วยจ่ายมีการแยก box ยาความเสี่ยงสูงออกจากยาอื่น(หรือเก็บในลิ้นชัก เช่น KCl) จัดทำ sticker ติดboxยาใช้สีแตกต่างจากยาอื่นป้องกันการหยิบยาผิด มีการบันทึกข้อความ“High Risk”  บนใบยาเพื่อให้เภสัชกรเพิ่มความระมัดระวังในการตรวจสอบยาก่อนจ่าย
            4)  งานเภสัชสนเทศมีการจัดทำ ใบกำกับการใช้ยากลุ่มความเสี่ยงสูง  ซึ่งหน่วยจ่ายจะจ่ายคู่กับยาไปยังหอผู้ป่วยทุกครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้พยาบาลสามารถใช้ประกอบในการบริหารยาและการติดตามผู้ป่วย  นอกจากนี้ยังได้จัดทำ  คู่มือการใช้ยากลุ่มความเสี่ยงสูงซึ่งมีประจำอยู่ที่หอผู้ป่วย  และ “ข้อมูลยาความเสี่ยงสูงในระบบ intranet”เพื่อให้พยาบาลใช้เป็นแนวทางในการบริหารยา  (ปัจจุบันปีงบประมาณ 2552  มีการปรับปรุงเป็นรูปแบบ  การ์ดกำกับการใช้ยากลุ่มความเสี่ยงสูง”   โดยนำ  ใบกำกับการใช้ยากลุ่มความเสี่ยงสูง   แบบเดิมมาเคลือบพลาสติกใสและพยาบาลจะนำมาใช้เมื่อแพทย์สั่งบริหารยา ทำให้ช่วยลดปริมาณขยะและประหยัดทรัพยากร)
            5)  โรงพยาบาลมีการจัดซื้อ-จัดหาเครื่อง infusion pump ให้เพียงพอสำหรับทุกหอผู้ป่วย
            6)  ฝ่ายการพยาบาลร่วมกับฝ่ายโสตฯ จัดทำป้าย  มียาผสมในน้ำเกลือห้ามปรับ rate”  เพื่อใช้แขวนขณะบริหารยา
            7)  เภสัชกรดำเนินการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาความเสี่ยงสูงแก่พยาบาล  (ดำเนินการเดือนกันยายน 2550)  และประเมินผลโดยการทดสอบก่อนและหลังการอบรม

9. การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :


จากการประเมินพบว่าการให้ความรู้เกี่ยวกับยาความเสี่ยงสูงทั้งการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ  รวมทั้งการอบรมทำให้พยาบาลมีความรู้เกี่ยวกับยาความเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้น   และลดอุบัติการณ์การเกิดความคลาดเคลื่อนจากยาความเสี่ยงสูง   โดยในปีงบประมาณ 2550 ก่อนที่จะมีการอบรมให้ความรู้   พบรายงานความคลาดเคลื่อน รายงาน  คือ ที่ER ผู้ป่วยได้รับ NTG  แทน Manitol   จากการวิเคราะห์พบว่าเกิดจากขาดระบบ double check ที่ดี   หลังจากได้มีการระบุข้อปฏิบัติให้เพิ่มการตรวจสอบ double check ก่อนบริหารยาอย่างเคร่งครัดร่วมกับการอบรมให้ความรู้และเผยแพร่แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาความเสี่ยงสูง  จากการทบทวนอุบัติการณ์ปีงบประมาณ 2551  เป็นต้นมาพบว่ายังไม่เกิดอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนของยาความเสี่ยงสูง

10. บทเรียนที่ได้รับ :
            แนวทางปฏิบัติในการบริหารยาและการติดตามการใช้ยาความเสี่ยงสูง (Clinical Practice Guideline of HAD)   ที่เกิดจากความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพ  เป็นการกระตุ้นให้เกิดการทำงานเป็นทีม  ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและเข้าใจ  ส่งผลให้สามารถนำมาใช้ได้จริงในการปฏิบัติงาน
            - การที่คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) เห็นความสำคัญของการจัดการยาความเสี่ยงสูงเป็นการผลักดันให้เกิดการจัดทำแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานการรักษาของโรงพยาบาล   รวมทั้งการสนับสนุนด้านการจัดซื้อ จัดหาอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นสำหรับการบริหารยาความเสี่ยงสูง เช่น  infusion pump  ให้เพียงพอเป็นการช่วยลดความคลาดเคลื่อนจากการบริหารยาส่งผลให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย

11.  การติดต่อกับทีมงาน คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด
โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เบอร์โทรศัพท์ 036-266111 ต่อ 5122 , 5124

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น