วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มองคนไข้ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์

1. ชื่อผลงาน  :  มองคนไข้ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์

2. คำสำคัญ  :  Holistic care,  Humanized health care

3. สรุปผลงานโดยย่อ  :            
            การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วย (illness) ด้วยโรคไตเรื้อรัง  โดยใช้มิติที่เรียกว่า Holistic care  หรือ  Humanized health care เป็นการดูแลที่เราต้องมองเห็นสิ่งที่เป็นองค์รวมทั้งหมดของผู้ป่วย  ต้องมองผู้ป่วยให้เป็นมนุษย์คนหนึ่ง   ต้องสามารถที่จะสัมผัสทุกข์   และคิดบำบัดทุกข์ให้ผู้ป่วยควบคู่ไปกับการรักษาโรค(disease) ด้วย  จึงจะทำให้ผู้ป่วยสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข

4. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร  :  หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลพระพุทธบาท สระบุรี

5. สมาชิกทีม  :  อายุรแพทย์โรคไต  พยาบาลไตเทียม  และบุคลากรหน่วยไตเทียม

6. เป้าหมาย  :  ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดำรงชีพในสังคมได้อย่างเหมาะสมสภาพ

7. ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ  :
            โรคไตเรื้อรังเป็นโรคซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้  มีเพียงการรักษาแบบประคับประคองเพื่อ
ชะลอความก้าวหน้าของโรค (Slow progression) ในผู้ป่วยซึ่งเป็นระยะเริ่มต้นหรือปานกลาง  ส่วนผู้ป่วย
ที่เป็นไตวายระยะสุดท้ายต้องเข้ารักษาโดยการล้างไตทางช่องท้อง และการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม  ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้ป่วยต้องวนเวียนเข้ารับการรักษาอยู่บ่อยๆ  และทำให้เกิดปัญหารวมถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก  จนผู้ป่วยไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ด้วยตนเอง
           ดังเช่นผู้ป่วยชายรายหนึ่ง  ประกอบอาชีพรับจ้าง  ตรวจพบว่าเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
เมื่อเดือนธันวาคม 
2544  ขณะอายุ 30 ปี  นายจ้างได้พาไปตรวจและฟอกเลือดที่โรงพยาบาลเอกชน ครั้งจากนั้นได้ให้ผู้ป่วยออกจากงานโดยอ้างว่า เจ็บป่วยไม่สามารถทำงานได้   ผู้ป่วยจึงได้กลับมารับรักษาที่โรงพยาบาลพระพุทธบาทอีกครั้ง  ได้ให้การรักษาโดยการฟอกเลือดเมื่อ  มกราคม 2545 แต่ยังมีปัญหาในเรื่องสิทธิ์การรักษาเพราะต้องรออนุมัติสิทธิ์ฟอกเลือดจากสำนักงานประกันสังคม  ทำให้ผู้ป่วยสับสนไม่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้  รู้สึกวิตกกังวล  ท้อแท้  สิ้นหวัง  ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป หลังจากนั้นประมาณ ปีภรรยาของผู้ป่วยหนีจากไปพร้อมทิ้งบุตรชายอายุปีไว้ให้ผู้ป่วยเลี้ยงดู   ทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

8. การเปลี่ยนแปลง  :
            ในการดูแลผู้ป่วยรายนี้นอกจากภาวะด้านร่างกายแล้ว  ด้านจิตใจจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก  
การ
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค  การปฏิบัติตัวเพื่อดูแลตนเองอย่างถูกต้อง   ทำให้ผู้ป่วยยอมรับในความเจ็บป่วยที่เผชิญอยู่   สร้างพลังใจให้ผู้ป่วยพร้อมที่จะมีชีวิตต่อไป โดยใช้กลุ่มผู้ป่วยและญาติช่วยสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ประสบการณ์ของแต่ละคน  ทำให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและมีกำลังใจที่จะประกอบอาชีพรับจ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ 
             นอกจากนี้การดูแลผู้ป่วยจึงต้องมองไปถึงบุตรชายของผู้ป่วยด้วยเพราะเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้ผู้ป่วย
มีกำลังใจที่จะต่อสู้ต่อไป  ได้สนับสนุนให้ผู้ป่วยประกอบอาชีพเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทแห่งหนึ่ง  และได้เข้าเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของโรงพยาบาลในเวลาต่อมา  โดยมีเพื่อนบ้านคอยช่วยดูแลบุตรชายขณะที่ผู้ป่วยมาทำงานด้วย
            เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2551 ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตที่โรงพยาบาลศิริราช ทำให้ภาระในเรื่องความเจ็บป่วยน้อยลง  และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

9. การวัดผลและความเปลี่ยนแปลง  :
            ปัจจุบันผู้ป่วยอายุ  37 ปี   ทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของโรงพยาบาลพระพุทธบาท  เป็นผู้ที่มีอุปนิสัยดี เป็นที่รักใคร่ของผู้บังคับบัญชารวมถึงเพื่อนร่วมงานทุกๆ คน  พักอาศัยอยู่ในบ้านพักของโรงพยาบาลพร้อมบุตรชายอายุ ปี ศึกษาอยู่ชั้นประถมปีที่ 3

10. บทเรียนที่ได้รับ  :
            ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังนั้นหากผู้ให้บริการมุ่งความสนใจไปที่เรื่องโรค   หรือทางกายอย่างเดียวก็ไม่อาจจะเยียวยาให้ผู้ป่วยหายจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงได้  การดูแลที่เรียกว่า  Holistic care  หรือ  Humanized health care  นั้นนับเป็นมิติใหม่ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมตามสภาพที่ควรจะเป็น  ซึ่งอาศัยหลักในการดูแลดังนี้
            1. การมองเห็นองค์รวมของผู้ป่วย  ไม่ได้มองแค่ว่าผู้ป่วยมีภาวะซีด  ผู้ป่วยมีแผลที่ขา  หรือผู้ป่วย
เป็นโรคไตเท่านั้น   ต้องมองต่อไปอีกว่าผู้ป่วยมีความรู้สึกอย่างไร   ต้องการอะไร   ความหวังของผู้ป่วยเป็นอย่างไร   
            2. การมองเห็นผู้ป่วยเป็นมนุษย์คนหนึ่ง  ไม่มองแค่ว่าผู้ป่วยซีดต้องการมารับเลือด  ผู้ป่วยเป็นแผลต้องการมาให้ทำแผล  ผู้ป่วยโรคไตต้องการมาฟอกเลือด  และผู้ป่วยมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามเราเท่านั้น  การเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาตนเอง   จะช่วยให้เรามองเห็นผู้ป่วยเป็นมนุษย์คนหนึ่งไม่ใช่เป็นเพียงผู้ป่วยอย่างเดียว
            3. การมองเห็นความทุกข์ของผู้ป่วย   ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ภายในใจของผู้ป่วยเอง  หรือบางครั้งกฎเกณฑ์  มาตรฐาน  และระบบต่างๆ   ที่ผู้ป่วยเผชิญอยู่อาจก่อให้เกิดความทุกข์อย่างมหันต์    การรับฟังผู้ป่วยพูด  หรือระบายความรู้สึกภายในใจ   จะช่วยให้เราสามารถค้นหาหรือสัมผัสถึงความทุกข์ของผู้ป่วยและสามารถหาทางบำบัดทุกข์ไปพร้อมๆ กับการรักษาโรคด้วย 

11. การติดต่อกับทีมงาน หน่วยงานไตเทียม  โรงพยาบาลพระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี 18120   โทรศัพท์  036 -266111

1 ความคิดเห็น:

  1. ยินดีกับข้อค้นพบ
    ขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ช่วยพยุงสังคมที่เหนื่อยล้าให้มีพลัง
    ลุกขึ้นต่อสู้
    ขอเป็นคนหนึ่งที่เติมพลังใจ ชื่นชมพลังความคิด และยินดีนำข้อคิดไปใช้เมื่อมีโอกาส

    ตอบลบ